สภาธุรกิจอาเซียน-สหภาพยุโรป คาด การค้าผิดกฎหมาย ทำลายเศรษฐกิจโลก 66 ล้านล้านบาท

สภาธุรกิจอาเซียน-สหภาพยุโรป คาด การค้าผิดกฎหมาย ทำลายเศรษฐกิจโลก 66 ล้านล้านบาท

7 ธ.ค. 2020
การค้าผิดกฎหมายมีแนวโน้มเติบโตขึ้นหลังการแพร่ระบาด เพื่อรับมือกับการค้าผิดกฎหมาย และกลุ่มอาชญกรรมข้ามชาติ สภาธุรกิจอาเซียน-สหภาพยุโรป (EU-ABC) ได้ออกรายงานฉบับล่าสุดที่มีชื่อว่า "การต่อสู้กับการค้าผิดกฎหมายในอาเซียน"
ในขณะนี้การค้าผิดกฎหมายเป็นเรื่องที่อาเซียนต้องเร่งผลักดัน
มีตัวเลขคาดการณ์ว่า การค้าผิดกฎหมายจะทำลายเศรษฐกิจโลกราว 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (66.4 ล้านล้านบาท)
โดยการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับสินค้าลอกเลียนแบบ มีมูลค่าราว 461,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (13.9 ล้านล้านบาท)
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขนาดของตลาดสินค้าปลอมมีมูลค่าสูงถึง 35,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.1 ล้านล้านบาท)
และสภาธุรกิจอาเซียน-สหภาพยุโรป คาดว่า ตลาดสินค้าลอกเลียนแบบจะมีมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เวียดนามยึดหน้ากากอนามัย 3M ปลอมได้กว่า 150,000 ชิ้น ขณะที่ฟิลิปปินส์ยึดเวชภัณฑ์มูลค่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (151 ล้านบาท)
การค้าผิดกฎหมาย ทำให้รัฐสูญเสียรายได้ กระทบต่อธุรกิจที่ดำเนินงานอย่างถูกต้อง และยังส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อชีวิตมนุษย์และสิทธิมนุษยชน
ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 37 เมื่อเร็วๆ นี้คริส ฮัมฟรีย์ ผู้อำนวยการบริหาร สภาธุรกิจอาเซียน-สหภาพยุโรป กล่าวว่า "คาดว่าตลาดค้าของปลอมในอาเซียนมีมูลค่าเกือบ 10% ของการค้าระหว่างประเทศ สำหรับสินค้าเหล่านี้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าหากปล่อยทิ้งไว้อุตสาหกรรมที่ผิดกฎหมายนี้จะเติบโตขึ้นในช่วงเวลาที่เราต้องเผชิญกับวิกฤติด้านสุขภาพและเศรษฐกิจที่ไม่เคยประสบมาก่อน
กลุ่มผู้ปลอมแปลงและผู้ค้าของเถื่อน ใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนของระบบ
ดังนั้นแล้ว ผู้นำอาเซียนจำเป็นต้องเห็นความเร่งด่วนในการประสานงานและร่วมมือกันเพื่อต่อต้านปัญหาข้ามแดนนี้”
แพทริก คอส หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ บริษัท Roche Pharma APAC กล่าวว่า
"การค้าผิดกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับส่วนผสมของยา ตัวยา และเครื่องมือวินิจฉัยโรค นับเป็นเรื่องที่อันตรายต่อชีวิตและความเป็นไปของผู้ป่วย และจำเป็นต้องมีการป้องกัน
อาชญากรอาศัยช่วงโควิด 19 กอบโกยผลประโยชน์ ดังนั้น การปกป้องผลิตภัณฑ์และผู้ป่วยจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญสูงสุด ทำให้เกิดดำเนินการเชิงรุก เพื่อต่อต้านการปลอมแปลงและใช้ระบบซัพพลายเชนที่มีความปลอดภัย
ผมขอแนะนำอย่างยิ่งให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ และความพยายามของรัฐบาลในการพัฒนากฎหมายที่เข้มแข็งขึ้น และปรับปรุงการบังคับใช้ ให้ความรู้กับประชาชน และฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของแต่ละประเทศ
การเติบโตของการค้าผิดกฎหมาย สร้างความกดดันให้กับการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในช่วงเวลาที่ผู้นำต้องการสร้างฐานทางการเงินใหม่ หลังจากใช้จ่ายเงินหลายพันล้านเพื่อให้แน่ใจว่าวิกฤติสุขภาพจะไม่ลุกลามไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม
ตัวอย่างเช่น เมียนมาร์ผลิตหยกมูลค่า 12,000 - 31,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (362,000 - 936,000 ล้านบาท)
แต่มีการลักลอบนำออกมากถึง 80% ทำให้รัฐบาลต้องสูญเสียรายได้ทางภาษี”
ลิซ่า บีชทิเจอร์ จาก PMI และหัวหน้ากลุ่มต่อต้านการค้าผิดกฎหมาย สภาธุรกิจสหภาพยุโรป-อาเซียน กล่าวว่า" องค์กรการค้าและอาชญากรที่ผิดกฎหมายกลายพันธุ์ โยกย้ายและปรับเปลี่ยนสถานการณ์ใหม่ วิกฤติ โควิด 19 เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ตัวอย่างเช่น เกิดการค้าผิดกฎหมายบนอีคอมเมิร์ซ การเติบโตที่เห็นนับตั้งแต่เดือนมีนาคมนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ
โลกหลังโควิดจะส่งผลกระทบต่อวิธีที่เราในฐานะตัวแทนของภาครัฐและเอกชนและภาคประชาสังคมมีปฏิกิริยาตอบสนอง การทำงานร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมภาครัฐและเอกชนไม่เคยมีความสำคัญมากไปกว่านี้ ถึงเวลาที่อาเซียนจะลงมือทำแล้ว
แก๊งทำสินค้าลอกเลียนแบบเป็นภัยคุกคามทางการเงินและชื่อเสียงต่อแบรนด์ดัง ในขณะที่ธุรกิจต่างๆ มองไปถึงช่วงเทศกาลที่กำลังจะมาถึง การดูแลปกป้องแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญ”
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.