EIC มองเศรษฐกิจโลกผ่านจุดต่ำสุด แต่จะฟื้นตัว อย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2020

EIC มองเศรษฐกิจโลกผ่านจุดต่ำสุด แต่จะฟื้นตัว อย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2020

15 มิ.ย. 2020
หลังจากมีมาตรการปิดเมืองเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่เดือนมีนาคม จำนวนผู้ติดเชื้อ
เริ่มเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงในหลายประเทศ ทำให้ภาครัฐเริ่มกลับมาเปิดเมืองอีกครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคม มาตรการปิดเมือง (lockdown) ส่งผลให้เกิดการหยุดชะงัก (sudden stop) ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและภาวะวิ่งเข้าหาเงินสด (dash for cash) รวมถึงความผันผวนในตลาดการเงินโลก ซึ่งทำให้ภาครัฐและธนาคารกลางทั่วโลกออกมาตรการการเงินและการคลังขนาดใหญ่ในรูปแบบที่ไม่ปกติ (unconventional measures) เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน แต่หลังการแพร่ระบาดเริ่มอยู่ในการควบคุม หลายประเทศรวมถึงไทยเริ่มทยอยเปิดเมือง ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว และผลของมาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาทำให้ความผันผวนในตลาดการเงินลดลง
โดยในรายงานฉบับนี้ EIC ได้รวบรวมการประเมินผลกระทบของ COVID-19 และวิเคราะห์ 4 ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อแนวโน้มของเศรษฐกิจโลก นโยบายทางการเงินและการคลัง รวมถึงตลาดทางการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก
และของประเทศไทย ในช่วงที่เหลือของปี 2020 โดยมีรายละเอียดดังนี้
จากการปิดเมืองและการหยุดชะงักของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (lockdown and sudden stop)
สู่การทยอยเปิดเมือง (reopening economy) และการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปแต่ไม่ทั่วถึง
(U-shaped and uneven reocovery)
มาตรการควบคุมโรคส่งผลกระทบรุนแรงต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของหลาย ๆ ประเทศ ทั้งในภาคบริการ
และภาคการผลิต จากข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของหลาย ๆ ประเทศพบว่า มาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดขึ้นทำให้ดัชนี PMI ในเดือนเมษายนชะลอลงรุนแรง โดยการเปลี่ยนแปลงของดัชนี PMI ภาคบริการลดลงมากกว่า
ภาคการผลิต ทำให้การปิดเมืองส่งผลกระทบต่อกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (DM) มากกว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (EM) เนื่องจากกลุ่มประเทศ DM มีสัดส่วนภาคบริการในระบบเศรษฐกิจมากกว่ากลุ่มประเทศ EM นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจไตรมาส 1 ปี 2020 บ่งชี้ว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หดตัวมีความสัมพันธ์กับความเข้มงวดของมาตรการควบคุมโรค สะท้อนได้ว่า มาตรการภาครัฐที่เข้มงวดทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักและจะยิ่งเห็นความสัมพันธ์ชัดเจนยิ่งขึ้นในช่วงครึ่งแรกของไตรมาสที่ 2 ที่หลายประเทศทั่วโลกได้ใช้มาตรการควบคุมโรคเต็มรูปแบบ
หลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด แต่ยังต่ำกว่าช่วงก่อนวิกฤติ COVID-19 อยู่ค่อนข้างมาก เมื่อจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง หลายประเทศจึงเริ่มผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองและทยอยกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด สะท้อนจากดัชนี Google mobility ที่ค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นหลังการผ่อนคลายมาตรการ แต่กิจกรรมยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนวิกฤติ COVID-19 ค่อนข้างมาก ขณะเดียวกันในตลาดแรงงานเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัว โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Manager Index : PMI) ของโลกด้านการจ้างงานที่เริ่มฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในเดือนพฤษภาคม นอกจากนี้ เครื่องชี้ในตลาดแรงงานสหรัฐฯ มีการฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ สะท้อนจากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเริ่มชะลอลงทั้งผู้ขอรับสวัสดิการครั้งแรก และผู้ขอรับสวัสดิการต่อเนื่อง ทำให้อัตราการว่างงานสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคมลดลงเหลือ 13.3% จากเดือนเมษายนที่ 14.7%
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลรายอุตสาหรกรรมพบว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มเป็นแบบไม่ทั่วถึงในแต่ละภาคส่วน (Uneven reocovery) สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบของ COVID-19 และการปิดเมืองที่แตกต่างกันดังที่กล่าวไว้แล้ว นอกจากนั้น การเปิดเมืองที่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยมีกิจกรรมทางเศรษกิจในบางอุตสาหกรรมได้รับอนุญาต
ให้กลับมาดำเนินการได้ ในขณะที่ยังมีบางอุตสาหกรรมที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้กลับมาเปิดบริการ รวมถึงพฤติกรรม
ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ตัวอย่างเช่น ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและก่อสร้างมีสัญญาณฟื้นตัวได้ค่อนข้างเร็วหลังได้รับอนุญาตให้กลับมาดำเนินการได้ (เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ในสหรัฐฯ จากเดือนเมษายนที่ลดกำลังการผลิตเหลือ 0% แต่หลังจากผ่อนคลายมาตรการกำลังการผลิตยานยนต์ในเดือนพฤษภาคมได้กลับมาเพิ่มขึ้นเป็น 80% ของกำลังการผลิตทั้งหมด) ในขณะที่ภาคบริการ เช่น ภาคการท่องเที่ยวและบันเทิง นอกจากได้รับผลกระทบรุนแรงกว่าภาคการผลิตแล้ว หลังทยอยเปิดเมืองผู้บริโภคบางส่วนยังคงกังวลเกี่ยวกับโรคระบาด ทำให้การฟื้นตัวจำเป็นต้องใช้เวลาในการเข้าสู่ภาวะปกติจนกว่าจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคได้ เช่น สามารถหาวิธีรักษา COVID-19 หรือมีวัคซีนป้องกัน เป็นต้น
EIC ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกในปี 2020 ลงเหลือ -3.5% และประเมินว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
จะมีลักษณะเป็นไปอย่างช้า ๆ และไม่ทั่วถึง (U-shaped and uneven recovery) ในระยะข้างหน้า กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะทยอยฟื้นตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีหลังภาครัฐดำเนินนโยบายการเงินและการคลังขนาดใหญ่
เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี แม้ว่าบางภาคส่วนจะเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวแล้ว แต่โดยภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังต้องเผชิญกับปัจจัยกดดันจากอุปสงค์ภายในประเทศที่อาจฟื้นตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากผู้บริโภคจะยังระมัดระวังในการใช้จ่ายและลงทุน ทำให้การฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศจะเป็นไปอย่างช้า ๆ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนจะถูกกดดันจากยอดที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ งบดุลที่เปราะบางมากขึ้น และอัตราการใช้กำลังการผลิตที่แม้จะฟื้นขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับต่ำ EIC จึงประเมินว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะมีลักษณะเป็นรูปตัว U
(U-shaped recovery) กล่าวคือ อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2021 อาจไม่สูงพอที่จะชดเชยมูลค่า
ทางเศรษฐกิจที่หดตัวลงในปี 2020 ได้ จึงทำให้โดยรวมแล้วมูลค่าของเศรษฐกิจปี 2021 จะอยู่ต่ำกว่าระดับมูลค่า
ทางเศรษฐกิจ (baseline) ปี 2021 ในกรณีที่ไม่มีการระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ในปี 2021 เป็นต้นไปจะสามารถกลับมาขยายตัวได้ใกล้เคียงอัตราการขยายตัวก่อนที่จะมีการแพร่ระบาด อย่างไรก็ดี
การฟื้นตัวแบบ U-shape นี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า แต่ละประเทศสามารถควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้
และจะไม่มีการระบาดระลอก 2 เป็นวงกว้าง ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในอัตราลดลงเรื่อย ๆ โดยหากมีการระบาดระลอก 2 ที่รุนแรงเทียบเท่าหรือมากกว่ารอบแรก ก็อาจทำให้แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกกลายเป็นลักษณะ
W หรือ L-shape กล่าวคือ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวอยู่ต่ำกว่าช่วงก่อน COVID-19 ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจโลกซบเซายาวนาน และมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูญเสียไปมีมากขึ้น
2) ผลของมาตรการทางการคลังขนาดใหญ่และมาตรการทางการเงินในรูปแบบที่ไม่ปกติ (unconventional measures) ช่วยประคับประคองเศรษฐกิจและลดความผันผวนในตลาดการเงิน
ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงมากและถึงขั้นหดตัวในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงภาวะขาดความเชื่อมั่นในตลาดการเงิน ภาครัฐได้ออกมาตรการการเงินและการคลังในขนาดใหญ่และในรูปแบบที่ไม่ปกติ (unconventional measures) เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน
สำหรับนโยบายทางการคลังนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย
นโยบายที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจ SMEs เช่น โครงการปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ การรับประกันสินเชื่อ (loan guarantee) จากภาครัฐ โดยหลาย ๆ ประเทศต่างออกมาตรการ
ให้เงินช่วยเหลือในลักษณะนี้เป็นการชั่วคราวเพื่อให้การปล่อยสินเชื่อในระบบ (flow of credit) ไม่หยุดชะงักในช่วงที่ความเสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจสูงจนทำให้ธนาคารพาณิชย์ลดการปล่อยสินเชื่อลงนโยบายที่สนับสนุนภาคครัวเรือน เช่น การให้เงินช่วยเหลือโดยตรงต่อครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ การให้เงินสนับสนุนแก่ผู้ว่างงานและขยายระยะเวลาที่ได้รับเงินช่วยเหลือ (unemployment benefits) และออกกฎ
ให้ต้องจ่ายเงินแก่พนักงานที่จำเป็นต้องลาป่วย (paid sick leave) โดยการให้เงินสนับสนุนการใช้จ่าย
ของครัวเรือนอาจมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศนโยบายเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐทั่วไป เช่น การลงทุนภาครัฐผ่านการสร้างและปรับปรุงโรงพยาบาลหรือ
ศูนย์ดูแลผู้ป่วยเพิ่มเติม การลงทุนในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันไวรัสและรักษาผู้ติดเชื้อ เป็นต้น
สำหรับนโยบายการเงิน ธนาคารกลางส่วนใหญ่ต่างปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงสู่ระดับที่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ และออกมาตรการการเงินแบบไม่ปกติ (unconventional measures) ที่หลากหลายมากขึ้น โดยการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมีจุดประสงค์เพื่อลดต้นทุนทางการเงินให้แก่ภาคธุรกิจและครัวเรือน นอกจากนี้ ผู้ร่วมตลาดยังคงมีมุมมองว่าธนาคารกลางจะยังคงรักษาระดับการผ่อนคลายทางการเงินนี้ไปอย่างต่อเนื่องอีกอย่างน้อยในระยะ 1 ปีข้างหน้า และสำหรับนโยบายการเงินที่นอกเหนือจากมาตรการปกติ (unconventional measures) สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย
มาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน (assets purchase) มีจุดประสงค์เพื่อลดต้นทุนการระดมทุน
ของภาคธุรกิจผ่านตลาดตราสารหนี้ และให้เงินทุนในตลาดเงินยังสามารถหมุนเวียนได้ปกติ (เพิ่มสภาพคล่องในระบบการเงิน) อีกทั้งสนับสนุนให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน โดยประเภทของสินทรัพย์ที่ซื้อมีได้หลากหลายเพิ่มขึ้น เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชน พันธบัตร Mortgage-Backed Security หรือพันธบัตร covered bond เป็นต้น ทั้งนี้ผลของการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินนั้นทำให้
ขนาดของงบดุลของธนาคารกลางมีขนาดใหญ่ขึ้นค่อนข้างรวดเร็วมาตรการปล่อยสินเชื่อแก่ภาคส่วนที่ได้รับความเดือดร้อน (targeted soft loans) โดยธนาคารกลาง
เป็นผู้ปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำให้แก่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้นำไปปล่อยต่อแก่ภาคธุรกิจหรือครัวเรือน ตัวอย่างเช่น มาตรการ Targeted longer-term refinancing operations (TLTROs) ของสหภาพยุโรป
ที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องปล่อยสินเชื่อให้ถึงระดับเป้าหมาย (benchmark) เพื่อที่จะได้รับสินเชื่อ
ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำจากทาง ECBมาตรการสนับสนุนสภาพคล่องแก่ภาคธุรกิจ (liquidity facility) มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนการระดมทุน
ในตลาดพันธบัตร และอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเพื่อป้องกันการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทที่ประสบปญหาทางการเงิน (funding backstop) รวมถึงสนับสนุนธนาคารพาณิชย์ให้สามารถปล่อยสินเชื่อได้อย่างต่อเนื่องแม้ในช่วงวิกฤติ ทั้งนี้ธนาคารกลางส่วนใหญ่จะรับสินทรัพย์ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือเป็น investment grade ขึ้นไปมาค้ำประกัน แต่ล่าสุดในบางประเทศ (เช่น สหรัฐฯ) เริ่มอนุญาตให้สินทรัพย์ที่เคยถูกจัดอันดับเป็น investment grade แต่เพิ่งถูกปรับลดความน่าเชื่อถือลงเป็น junk bond (สินทรัพย์เหล่านี้ถูกเรียกว่า Fallen angel) มาขอกู้ได้การผ่อนคลายกฎเกณฑ์กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยสินเชื่อได้ง่ายขึ้น เช่น การปรับเกณฑ์ supplementary leverage ratio (SLR) ให้ผ่อนคลายขึ้นในสหรัฐฯ (SLR สะท้อนความสามารถในการชำระหนี้ของธนาคารพาณิชย์ในยามวิกฤติ) โดยธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ไม่ต้องนำพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และเงินฝากที่เก็บไว้กับ Fed มาใช้คำนวณตัวส่วนของ SLR ทำให้อัตราส่วนปรับสูงขึ้นและเข้าเกณฑ์การกำกับดูแลของธนาคารกลางได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังมีมาตรการที่ลด reserve requirement ratios ลง ทำให้ธนาคารพาณิชย์เหลือสภาพคล่องในการปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น เป็นต้น
ธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจหลักส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่องในระยะข้างหน้า
โดยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินที่ผ่านมาล่าสุดนั้น Fed และ ECB ได้ดำเนินนโยบาย ดังนี้
ในการประชุมเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2020 Fed ได้สื่อสารว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่กรอบ 0-0.25% ไปจนถึงสิ้นปี 2022 และยังคงปริมาณเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินในระดับสูง </span
Tag:SCBEIC
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.