กรุงศรี ฟินโนเวต เผยทิศทางและแนวโน้มการลงทุน ในสตาร์ตอัปของ Venture Capital ปี 2023

กรุงศรี ฟินโนเวต เผยทิศทางและแนวโน้มการลงทุน ในสตาร์ตอัปของ Venture Capital ปี 2023

5 ก.ย. 2022
คุณแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด ได้เผยทิศทางและแนวโน้มการลงทุนของเหล่า Venture Capital (VC) หรือธุรกิจเงินร่วมลงทุนทั่วโลกในปี 2023 ภายในงาน “KRUNGSRI ENVISIONING THE FUTURE” ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ก่อนที่จะให้ข้อมูลแนวโน้มการลงทุนในบริษัทสตาร์ตอัปของกลุ่ม VC ในปี 2023 ที่กำลังจะมา
คุณแซม ได้เผยข้อสรุปการลงทุนตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมาว่า
การลงทุนในสตาร์ตอัปทั่วโลกช่วงปี 2018-2020 นั้น จะมีตัวเลขการลงทุนเท่า ๆ กัน
โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมต่อปีอยู่ที่เฉลี่ยปีละ 290,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 10.6 ล้านล้านบาท)
ขณะที่ปี 2021 นั้น นับเป็นปีทองของการลงทุน โดยทั่วโลกมีมูลค่าการลงทุนรวมแตะถึง 620,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 22.7 ล้านล้านบาท)
ซึ่งสำหรับในไทย ที่แม้ว่าจะอยู่ในช่วงวิกฤติโควิด แต่ก็มีมูลค่าการลงทุนสูงเช่นเดียวกัน
ส่วนทางกรุงศรี ฟินโนเวตเอง ก็เป็นปีที่ลงทุนมากที่สุด
โดยมีเหตุและปัจจัยที่เอื้อต่อการตัดสินใจลงทุนที่เพิ่มขึ้นในปี 2021 คือความมั่นใจในการลงทุนในบริษัทที่สามารถอยู่รอดได้ในวิกฤติที่ผ่านมา รวมถึงการเจรจาร่วมลงทุนกับสตาร์ตอัปก็ทำได้ง่ายขึ้นในช่วงโควิด
พอมาสู่ปี 2022 ตั้งแต่ช่วงต้นปีจนถึงเดือนกรกฎาคมนั้น มีตัวเลขของการลงทุนลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะเห็นว่ายังไม่ถึง 50% ของปี 2021
แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าตัวเลขการลงทุนปี 2022 จะโตกว่าปี 2020 แน่นอน
คุณแซม ตันสกุล กล่าวต่อว่า
ในปัจจุบันนี้มีการเกิด Down Round หรือการที่ Valuation ของสตาร์ตอัปนั้น ตกลงกว่าที่เคยเป็น
มองว่าเป็นเรื่องปกติที่เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งในยุคนี้หลาย ๆ สตาร์ตอัป ก็ยอมรับการ Down Round เนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่สวยหรูจากการ Projection ของ 5 ปีที่ผ่านมา
ซึ่งในปัจจุบัน ตัวเลขของการลงทุนในสตาร์ตอัปทุกสเตจได้ลดลงกว่า 25% โดยเฉลี่ย ยิ่งเห็นได้ชัดในสตาร์ตอัปที่เป็น Late Stage
โดยในปี 2021 นั้น สหรัฐอเมริกาได้มีการปิดดีลการลงทุนใน Late Stage ประมาณ 700 ดีล แต่ในทางกลับกัน 2 ไตรมาสแรกของปี 2022 เกิดดีลการลงทุนเพียง 285 ดีลเท่านั้น
แต่ยังถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่แย่มากเมื่อเทียบกับปี 2020 ที่ปิดดีลการลงทุนไปได้เพียง 272 ดีล
“ซึ่ง 2 ไตรมาสแรกของปี 2022 นั้น จะเห็นได้ว่าสหรัฐอเมริกายังคงครองอันดับ 1 ในด้านตัวเลขการลงทุน ซึ่งมีมากกว่า 2,700 ดีล หรือเป็นตัวเลขการลงทุนอยู่ที่ 53,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.9 ล้านล้านบาท)
ส่วนเอเชียรองลงมา เป็นอันดับที่ 2 ตัวเลขมูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 27,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.0 ล้านล้านบาท) ซึ่งใหญ่กว่ายุโรป ตัวเลขนี้สะท้อนว่าตลาดเอเชียยังเป็นตลาดใหญ่
ถ้าเป็นสมัยก่อนก็จะไปกระจุกที่ประเทศจีน แต่ ณ วันนี้เริ่มกระจายออกแล้ว โดยกระจายไปทางอินเดีย อินโดนีเซีย ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าอินโดนีเซียมีหลาย Unicorn ที่เกิดขึ้นมาในช่วงปีหลังนี้
ถัดลงมาก็เป็นที่สิงคโปร์ ส่วนประเทศไทยนั้น Fund Flow ก็เริ่มมาแล้วเช่นกัน”
นอกจากนี้ คุณแซม ยังเผยถึง 6 Tech ที่ Venture Capital สนใจจะลงทุนในปี 2023 เพื่อให้เป็นข้อมูลกับสตาร์ตอัปไทย
1) DeFi หรือที่เราเรียกว่า Decentralized Finance วันนี้เราเห็นการเติบโตของ Decentralized Finance สูงขึ้นมากมีเทคโนโลยีที่ต้องการตัดคนกลางออก เราเห็นตลาดของ DeFi ที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
2) Metaverse คือกลุ่มหนึ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก จากการที่ตลาดกำลังพัฒนาใน web 3.0
3) Cyber Security ยังคงมาแรงอยู่เรื่อย ๆ และกระโดดขึ้นมากในปี 2021 เนื่องจากเมื่อมีการเพิ่มขึ้นของการทำธุรกรรมไร้ตัวกลาง ก็ทำให้เกิดอาชญากรรมทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้นตามด้วย
4) Climate Tech / ESG ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไปคนจะไปลงทุนในกลุ่มนี้มากขึ้นเพราะเราเชื่อว่าบริษัทไหนก็ตามที่ใส่ใจในเรื่องของ Sustainability, ESG, Climate Tech, Climate Change จะถือเป็นบริษัทที่ดี และจะใช้ของที่ดีให้กับลูกค้า
5) Buy Now Pay Later (BNPL) จริง ๆ แล้วธุรกิจนี้จะโฟกัสที่คนที่ยังไม่มีเครดิต หรือสมัครบัตรเครดิตไม่ผ่าน ซึ่งจะช่วยให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถซื้อสินค้า สมัคร แล้วจ่ายชำระหรือผ่อนได้เลย
6) Ultrafast Delivery ธุรกิจนี้เริ่มมีมานานแล้วและมีจำนวนมากมาย โดยเฉพาะที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งความเร็วในการส่งของให้ลูกค้านั้นเริ่มเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับธุรกิจกลุ่มนี้ โดยมีสตาร์ตอัปที่สามารถส่งของให้ลูกค้าภายในเวลา 15 นาที
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.