FutureTales Lab by MQDC ร่วมกับ UNFPA และ NIA จัดเสวนาสำหรับทุกเจเนอเรชั่น เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาอนาคตของสังคมไทย

FutureTales Lab by MQDC ร่วมกับ UNFPA และ NIA จัดเสวนาสำหรับทุกเจเนอเรชั่น เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาอนาคตของสังคมไทย

26 พ.ย. 2020
ภายใต้ บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ร่วมกับ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ประจำประเทศไทย และ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA จัดงานเสวนา “Future Generations and Their Impact on the Future of Living” เพื่อสร้างความตระหนักรู้ และให้ความสำคัญกับอนาคตของเยาวชนคนเจเนอเรชั่นใหม่ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม และส่งเสริมให้ประชากรในประเทศไทยมีส่วนร่วมในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ ชุมชน และสังคม โดยได้รับเกียรติจากบุคคลสำคัญ ทั้งภาครัฐ ประชาสังคม และเอกชน รวมถึงตัวแทนของคนรุ่นใหม่ มาร่วมแบ่งปันองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนแนวคิดจากมุมมองที่หลากหลาย เพื่อพบมุมมองใหม่ของการใช้ชีวิตในสังคมหลากหลายเจนในอนาคต และพัฒนาอนาคตของไทยได้อย่างเต็มศักยภาพ
นายคีรินทร์ ชูธรรมสถิตย์ ประธานผู้อำนวยการ กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และบริการ บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) เปิดเผยว่า MQDC มีวิสัยทัศน์ที่แน่วแน่ในการพัฒนาธุรกิจทั้งในกลุ่มที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ สำนักงาน ศูนย์การค้า รวมถึงธุรกิจการให้บริการ ภายใต้กลยุทธ์ “For All Well-Being” ที่ต้องการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับทุกสิ่งบนโลก ผ่านการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในการดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว คือการจัดตั้ง ศูนย์วิจัยอนาคตศาสตร์ ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญต่อเหตุการณ์ในอนาคตว่าจะเกิดอะไรขึ้นโดยที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์อันกว้างไกลขององค์กร
“การจัดงานเสวนาในครั้งนี้ เป็นการประกาศความร่วมมือที่ดีกับพันธมิตร ทั้งกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ซึ่งเป็นการตอกย้ำในการสร้างความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของประชากร ทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจ ผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูล พร้อมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมกันระหว่างภาครัฐ ประชาสังคม และเอกชน เพื่อให้เห็นถึงเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากร รวมถึงพฤติกรรมที่อาจส่งผลกระทบการดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย MQDC ได้มีการวางแผนยุทธ์ศาสตร์ระยะยาว 40 ปีขององค์กรเพื่อรองรับทุกการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะด้านประชากรศาสตร์ อย่างการวางมาสเตอร์แพลนให้เป็นเมืองที่เป็น Resilient city, Urbanization ตลอดจนการเปิดรับแนวคิดใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับสังคมไทย ตลอดจนสังคมโลกต่อไปในอนาคต” นายคีรินทร์ กล่าว
ดร.วาสนา อิ่มเอม หัวหน้าสำนักงานกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการสร้างเสริมสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชากรในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่ในขณะเดียวกันคนไทยก็มีอายุคาดเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น และจำนวนการทำงานของผู้หญิงมีเพิ่มมากขึ้นกว่าประชากรรุ่นก่อนอย่างชัดเจน จากการที่ได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ประกอบกับตลาดแรงงานเปิดรับมากยิ่งขึ้น ทำให้มีการพัฒนาเป็นอย่างมากในสังคมไทย แต่ปัจจุบันไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าประเทศไทยเข้าสู่สภาวะสังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว เนื่องจากมีประชากรมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนมากกว่าประชากรวัยเด็ก ซึ่งการเข้าสู่สภาวะดังกล่าวมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวม อีกทั้งทำให้ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมเพิ่มมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้แน่ใจว่าความก้าวหน้าและการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นครอบคลุมสำหรับทุกคน เราควรมีการวางรากฐานไว้เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตในอนาคตให้กับเด็กหรือเยาวชนรุ่นใหม่
 “เยาวชนรุ่นใหม่ ถือเป็นกลุ่มคนที่เราต้องมุ่งเน้นให้ความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการสร้างความมั่นคง ซึ่งเราควรมีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต นับตั้งแต่วัยแรกเกิดที่มาจากความพร้อมและตั้งใจของผู้ให้กำเนิด พร้อมทั้งส่งเสริมความสามารถและศักยภาพในการลงทุนเพื่อพัฒนาเกี่ยวกับ "ทุนมนุษย์" สำหรับทุกช่วงวัย ทั้งในเรื่องสุขภาพและการศึกษาที่มีคุณภาพ ตามหลักสิทธิมนุษยชนที่มุ่งให้ความสำคัญกับทุกคนและไม่ทิ้งใครไว้เบื้ิองหลัง อีกทั้งมีการเตรียมพร้อมทางสุขภาพและเศรษฐกิจเพื่อเข้าสู่ช่วงเวลาสูงวัย เพื่อให้แน่ใจว่าประชากรทุกคนสำคัญและได้พัฒนาศักยภาพของตนเองและของสังคมอย่างเต็มที่” ดร.วาสนา กล่าว
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า การมองไปยังอนาคตมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการขับเคลื่อนงานทางด้านนวัตกรรมที่ต้องอาศัยการมองภาพอนาคตในการกำหนดแผนงาน ซึ่งอีกหนึ่งกุญแจสำคัญในการพัฒนางานด้านดังกล่าวคือเยาวชนหรือคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นจุดเชื่อมโยงกันระหว่างเจเนอเรชั่น และจะมาเป็นส่วนช่วยในการสร้างมุมมองต่าง ๆ พร้อมยกระดับภาพลักษณ์ด้านนวัตกรรมของประเทศไทยให้มีการพัฒนาต่อไป
NIA ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหนึ่งในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง มองว่า ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญกับเยาวชนคนรุ่นใหม่ ทั้งในด้านการช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับทักษะและความสามารถทางนวัตกรรม เพราะทุกเจเนอเรชั่นนั้นมีวิธีคิดและแนวทางการพัฒนาที่มีความแตกต่างกัน แต่ไม่ได้เป็นความแตกต่างที่ขัดแย้ง เนื่องจากเป้าหมายหรือจุดยืนล้วนเป็นเป้าหมายที่ชัดเจน คือเพื่อพัฒนาสังคมและสร้างอนาคตที่ดีร่วมกันโดยเป้าหมายที่แท้จริงของการสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ นั้น คือการนำความรู้และเทคโนโลยีมาใช้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างคุณค่าให้กับคนในทุกช่วงวัย พร้อมทั้งสร้างความกลมกลืนและปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้อย่างยั่งยืน ซึ่งหากเราได้เปิดใจเรียนรู้และเข้าใจสังคมและคนรอบข้างแล้ว เราก็จะได้เห็นโอกาสที่หลากหลายของการเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ มากยิ่งขึ้นในการสร้างสังคมที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต
ดร.การดี เลียวไพโรจน์ หัวหน้าคณะที่ปรึกษาฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ (FutureTales Lab by MQDC) เป็นศูนย์วิจัยอนาคตศาสตร์ เพื่อศึกษาสถานการณ์แนวโน้มในอดีตและปัจจุบันมาคาดการณ์ถึงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงการเตรียมพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพจากการศึกษาและวิจัยอนาคตกับกลุ่ม Gen Z ทางฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ ได้ค้นพบว่ากลุ่มดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งมุมมองความคิดและพฤติกรรมที่จะส่งผลถึงอนาคตความเป็นอยู่ในอนาคต โดย Gen Z จะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและประเด็นหลักเพื่อสังคมมากขึ้น มีอัตลักษณ์ตัวตนที่ชัดเจน ความยืดหยุ่นในการทำงาน ตลอดจนการก้าวขึ้นเป็นผู้นำที่เข้าใจในเรื่องความหลากหลายในอนาคต ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อน และเป็นตัวแปรด้านเศรษฐกิจของประเทศและของโลกในอนาคตอย่างแท้จริง ดังนั้น พวกเราในฐานะตัวแทนภาคเอกชนควรให้ความสำคัญในหัวข้อเหล่านี้ เพื่อตอบโจทย์การเข้าถึงกลุ่มคนเจนใหม่ และสามารถนำมาพัฒนาเมืองและสังคมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
งานเสวนา“Future Generations and Their Impact on the Future of Living” มีเป้าหมายเพื่อให้สังคมเกิดความรับรู้ และให้ความสำคัญกับเยาวชนรุ่นใหม่ ซึ่งพวกเขาจะเป็นผู้กำหนดทิศทางของการเปลี่ยนแปลงอนาคตของประเทศและของโลกในอีก 10 – 20 ปี ข้างหน้า กลุ่มคนรุ่นใหม่เหล่านี้ล้วนเกิดในช่วงปี ค.ศ. 1995 – 2010 หรืออยู่ใน Generation Z ที่เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีต่าง ๆ รอบตัว และสามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือที่สร้างความสะดวกสบายให้กับตัวเอง ในขณะเดียวกันคนใน Generation นี้ จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างหลากหลาย ทั้งการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานครั้งใหญ่ โดยเฉพาะด้านทักษะตอบโจทย์การทำงาน และอาจจะส่งผลต่ออนาคตของตลาดงานใน 10 – 20 ปีข้างหน้าเช่นกัน โดยกลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงจุดยืนของความหลากหลายของพวกเขาผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อต่อสู้กับความไม่เท่าเทียม และความอยุติธรรมที่จะส่งผลให้เกิดความเท่าเทียมในสังคมมากขึ้น รวมถึงการก้าวไปสู่การเป็นผู้นำการขับเคลื่อนของประเทศ และจะมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจโลกที่ใหญ่ขึ้น
“การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และแนวคิดที่หลากหลายของทุกฝ่ายกันในครั้งนี้จะสามารถทำให้ทุกคนหันมามองถึงความสำคัญของคนเจเนอเรชั่นใหม่กันมากยิ่งขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นกลุ่มคนที่เข้ามามีบทบาทกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้องค์กรและภาคธุรกิจจำเป็นต้องทำความเข้าใจและสนับสนุนเด็กเจนนี้ เตรียมปรับตัวและใช้แนวโน้มเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ โดยการเลือกใช้จุดเด่นและศักยภาพของคนกลุ่มนี้ให้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราหวังว่าจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอนาคตที่ดีกว่าของประเทศไทยร่วมกัน”ดร.การดี กล่าว
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.