Shoplus เผยเทรนด์ที่จะมาขับเคลื่อน “การไลฟ์สดขายสินค้า” ให้เติบโต ในปี 2564

Shoplus เผยเทรนด์ที่จะมาขับเคลื่อน “การไลฟ์สดขายสินค้า” ให้เติบโต ในปี 2564

12 ม.ค. 2021
จากข้อมูลของ Shoplus บริษัทในเครือ iKala ผู้ให้บริการเทคโนโลยี AI อัจฉริยะ ที่รวมการไลฟ์สดและการจัดการออเดอร์เข้าไว้ด้วยกัน สำหรับแบรนด์และร้านค้าปลีกทั่วเอเชีย
เผยว่า ประสบการณ์การชอปปิงแบบตรงใจผู้บริโภค (Personalised)
การไลฟ์สดขายสินค้า ที่เน้นความสนุกสนาน และเทคโนโลยีเสมือนจริง หรือ AR
จะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนให้การไลฟ์สดขายสินค้า ในประเทศไทยเติบโตขึ้นในปี 2564
ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 ยอดคำสั่งซื้อจากการขายสินค้าผ่านการไลฟ์สดในประเทศไทย เพิ่มสูงขึ้นกว่า 173%
การซื้อขายผ่านโซเชียลมีเดีย ไม่ใช่ช่องทางใหม่ แต่เนื่องจากการเติบโตของประชากรชั้นกลาง, การเชื่อมต่อด้านดิจิทัล ที่ครอบคลุมและเสถียรมากขึ้น รวมถึงความท้าทายของร้านค้าปลีก จากการระบาดของโรคโควิด
ส่งผลให้ทั้งแบรนด์ ร้านค้า รวมถึงผู้บริโภค หันมาใช้การไลฟ์ขายสินค้า เป็นอีกหนึ่งช่องทางการขายใหม่
จากรายงานด้านเทคโนโลยีในเอเชียฉบับล่าสุดของแมคคินซีย์ เผยว่า “ผู้บริโภคมองหาประสบการณ์การชอปปิงออนไลน์ แบบที่สามารถมีส่วนร่วมได้ และเป็นรูปแบบเฉพาะบุคคลมากขึ้น”
โดย Shoplus ได้เผยถึงเทรนด์ที่จะเข้ามายกระดับประสบการณ์การชอปปิงออนไลน์ และเพิ่มอัตราการชอปปิงออนไลน์ ให้สูงขึ้นในปี 2564 พร้อมให้คะแนนที่ส่งผลต่อพัฒนาการไลฟ์สดขายสินค้า
-เชื่อมต่อประสบการณ์ค้าปลีกเต็มรูปแบบ (4 ดาว) :
ในปีนี้มีหลายแบรนด์เริ่มใช้ และประสบความสำเร็จบนช่องทางโซเชียลคอมเมิร์ซ
และในขณะที่ระบบในห่วงโซ่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ร้านค้าปลีกเริ่มเห็นคุณค่าในการสามารถควบคุมประสบการณ์ค้าปลีกแบบเต็มรูปแบบได้เอง
ซึ่งจะช่วยให้สามารถส่งเสริมความภักดีของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น โดยการทำทุกอย่างบนแพตลฟอร์มเดียว และสามารถควบคุมได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็น เชื่อมต่อการชำระเงิน, ติดตามออเดอร์, จัดส่งและคืนสินค้า
จะเป็นปัจจัยที่สร้างความแตกต่างให้แบรนด์มากขึ้นไปอีกในปี 2564
รวมถึงความสามารถในการมอบบริการเต็มรูปแบบนี้ ก็จะยิ่งดึงดูดให้แบรนด์ใหญ่ๆ เข้ามาลงทุนใช้การไลฟ์สดมากขึ้นด้วย
-ใช้คนมีชื่อเสียงและ KOLs เพื่อสร้างความบันเทิงในการช้อปปิ้งมากขึ้น (3 ดาว) :
แบรนด์จะมองหาวิธีการในการเพิ่มคุณค่าให้กับประสบการณ์การไลฟ์สดขายสินค้าของตนเองมากขึ้น
ซึ่งหลายแบรนด์เลือกใช้คนมีชื่อเสียงและ KOLs ในการไลฟ์สด เพื่อดึงดูดลูกค้า
แบรนด์ใหญ่บางแบรนด์อาจใช้เงินลงทุนสูง โดยการเพิ่มลูกเล่นในการไลฟ์สดให้เป็นรูปแบบเกมโชว์ มินิคอนเสิร์ต หรือ เล่นเกมเพื่อนำเสนอส่วนลดพิเศษให้กับคนที่ดูไลฟ์
ในขณะที่แบรนด์ใหญ่อื่นๆ ก็อาจเลือกใช้แบรนด์แอมบาสเดอร์ เพื่อขยายฐานลูกค้าแทนการใช้ KOLs
ส่วนบางแบรนด์ อาจเลือกวิธีสร้างความบันเทิงในรูปแบบของตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง
-จากปัญญาประดิษญ์ (AI) สู่เทคโนโลยีเสมือนจริง (AR) (3 ดาว) :
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) นับเป็นฟีเจอร์สำคัญในการดำเนินการจัดการออเดอร์และคำขอต่างๆ จากลูกค้าบนช่องทางไลฟ์สด
และในปี 2564 นี้ เราจะได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ ของ AR ที่มอบความสะดวกสบายให้กับลูกค้ามากยิ่งขึ้น
โดยลูกค้าสามารถ “ลอง” ก่อน “ซื้อ” ด้วยการใช้ห้องลองชุดเสมือนจริง ที่มีพื้นหลังหลากหลายแตกต่างกันไป เพื่อให้ลูกค้าได้เลือกชุดที่เหมาะกับตัวเองที่สุด
ถือเป็นวิธีให้ผู้ค้าปลีกเชื่อมต่อกับผู้ซื้อ ในรูปแบบที่น่าสนใจมากขึ้น และเพิ่มยอดขายได้อีกด้วย
ถึงแม้อาจต้องใช้เวลาในการพัฒนาระบบขึ้นมา โดยคาดว่าจะมีการเริ่มใช้เทคโนโลยีนี้ในปี 2564 และจะแพร่ขยายมากขึ้นอีกในปี 2565 หลังจากที่ 5G เป็นที่นิยมและเข้าถึงได้มากขึ้น
-ผู้ชมสามารถออกแบบประสบการณ์ชอปปิงของตัวเอง (5 ดาว) :
การไลฟ์สดที่ช่วยให้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน จะก้าวสู่อีกขั้นด้วยการให้ลูกค้าสามารถเลือกได้ว่าอยากเห็นอะไรระหว่างการไลฟ์สด
ร้านค้าให้ลูกค้าโหวตได้ว่าอยากให้ร้านค้าขายสินค้าชิ้นไหนเป็นชิ้นต่อไป หรือกระทั่งเลือกราคาสินค้า และส่วนลดสินค้าที่ตนชื่นชอบได้
นับเป็นอีกก้าวของการมีส่วนร่วมของลูกค้าที่จะกลายเป็นที่นิยม
-ไลฟ์ขายสินค้าชิ้นพิเศษ (4 ดาว) :
อีกวิธีของแบรนด์ที่ให้ลูกค้าสามารถมีส่วนร่วมในการไลฟ์สดมากขึ้น คือ การมอบส่วนลดพิเศษในระหว่างการไลฟ์สด โดยอาจเป็นการมอบราคาพิเศษ ข้อเสนอพิเศษ หรือสินค้าออกแบบพิเศษเฉพาะลูกค้าที่ดูไลฟ์สดเท่านั้น
ที่ผ่านมา ร้านค้าอิสระหลายร้าน ประสบความสำเร็จในการดึงดูดลูกค้าเข้ามาที่ร้านด้วยการมอบข้อเสนอพิเศษ และแบรนด์ใหญ่ๆ หลายแบรนด์ก็เลือกที่จะใช้วิธีการนี้เช่นเดียวกัน
-ไลฟ์ขายสินค้าชิ้นใหญ่ (3 ดาว) :
ผู้ค้าปลีกที่ขายสินค้าขนาดใหญ่ ตั้งแต่รถไปจนถึงบ้าน เลือกใช้วิธีการไลฟ์สดเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า
ในขณะที่อุตสาหกรรมพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ประเภทสินค้าที่ขายก็มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
ยิ่งสินค้าที่มีคุณค่าสูง ก็จะมีวิธีใหม่ๆ ในการเล่าเรื่องราว เพื่อเข้าถึงลูกค้าแบบเฉพาะตัวยิ่งขึ้น
โดยอาจใช้เวลาในการพัฒนา แต่นับเป็นพื้นที่ที่ท้าทายความสามารถในการหาแนวทางนำเสนอสินค้าที่สร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น
บทวิเคราะห์โดย Shoplus
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.