วีซ่า ทำอย่างไรให้พฤติกรรม “แตะเพื่อจ่าย” โตระเบิด ทะลุ 3.8 ล้านครั้ง

วีซ่า ทำอย่างไรให้พฤติกรรม “แตะเพื่อจ่าย” โตระเบิด ทะลุ 3.8 ล้านครั้ง

8 ก.ย. 2021
วีซ่า ทำอย่างไรให้พฤติกรรม “แตะเพื่อจ่าย” โตระเบิด ทะลุ 3.8 ล้านครั้ง
วีซ่า x MarketThink
เราไม่ใช้เงินสดได้นานที่สุดกี่วัน ?
น่าจะเป็นคำถามที่แม้แต่ตัวเราเองและคนอื่น ๆ ก็น่าจะอยากรู้เหมือนกัน
โดยเมื่อปีที่แล้ว วีซ่า ได้ทำการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปีของวีซ่า (Visa Consumer Payment Attitudes Study)* เพื่อสำรวจความคิดเห็นกลุ่มผู้บริโภคจำนวน 7,500 รายทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมี 1,000 รายเป็นกลุ่มผู้บริโภคในประเทศไทย อายุระหว่าง 18-65 ปี
เชื่อหรือไม่ มีมากกว่า 82% ที่พยายามใช้ชีวิตแบบไร้เงินสด และในคนกลุ่มนี้พวกเขาสามารถดำเนินชีวิตแบบไม่ต้องใช้เงินสดเลยโดยเฉลี่ยได้นานถึง 8 วัน
ที่น่าสนใจกว่านั้น ข้อมูลตรงนี้ ยังบอกกับเราด้วยว่า
ในเวลาแค่หนึ่งปี การชำระเงินในรูปแบบดิจิทัล เช่น การสแกนคิวอาร์โค้ด การโอนเงินซื้อสินค้า อัตราการใช้บัตรเดบิต และบัตรเครดิตกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
อีกรูปแบบการใช้จ่ายที่เติบโตอย่างรวดเร็วคือการ “แตะเพื่อจ่าย” ผ่านระบบคอนแทคเลส (contactless)
ที่เราสามารถใช้บัตรเดบิต บัตรเครดิต หรือบัตรเติมเงิน แตะเพื่อจ่ายที่เครื่องรับชำระเงิน ณ ร้านค้าต่าง ๆ ก็กำลังเติบโตไม่แพ้พฤติกรรมการชำระเงินในรูปแบบอื่น ๆ เช่นกัน
เป็นสัญญาณที่บอกว่า คนไทยกำลังก้าวสู่สังคมไร้เงินสดอย่างรวดเร็ว
เหตุผลสำคัญก็น่าจะมาจาก การระบาดของโควิด 19 ที่คนหลีกเลี่ยงการใช้เงินสด
เพื่อลดการสัมผัสกับธนบัตรและมือผู้ขาย และหันมาใช้จ่ายผ่านระบบดิจิทัล
ความน่าสนใจมันอยู่ที่ว่าพฤติกรรมการ “แตะเพื่อจ่าย” ที่กำลังโตระเบิดในเวลานี้
ไม่เพียงมีสาเหตุมาจากการระบาดของโควิด 19 ที่ทำให้พฤติกรรมนี้ได้รับความนิยมมากขึ้น แต่มันยังมีอะไรที่มากกว่านั้น
คำถามก็คือ อะไรบ้างที่ทำให้พฤติกรรมการ “แตะเพื่อจ่าย” โตระเบิด ?
MarketThink จะวิเคราะห์ให้ฟัง
ก่อนอื่นเรามารู้จัก วีซ่า กันก่อน วีซ่า คือผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก โดยบริษัทได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ 60 ปีที่ผ่าน วีซ่า ไม่ใช่ธนาคารหรือเป็นผู้ออกบัตร แต่ วีซ่า ทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่เชื่อมธนาคาร ร้านค้า และผู้บริโภคเข้าด้วยกัน ผ่านเครือข่ายการชำระเงินที่ครอบคลุมในกว่า 200 ประเทศทั่วโลก และวีซ่าก็ยังมีบทบาทสำคัญทำงานร่วมกับฟินเทคเพื่อสร้างนวัตกรรมการชำระเงินในรูปแบบดิจิทัลที่หลากหลาย และมอบทางเลือกในการชำระเงินให้กับลูกค้าได้หลากหลาย และเมื่อพูดถึงเทคโนโลยีคอนแทคเลส หรือ “แตะเพื่อจ่าย” วีซ่าก็เป็นหนึ่งในเครือข่ายผู้ให้การบริการการชำระเงิน ที่นำเทคโนโลยีนี้มาใช้โดยเริ่มใช้ในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2551
ก็เลยเป็นเหตุผลที่ทำให้ตั้งแต่อดีตจนถึงวันนี้ วีซ่า ไม่หยุดพัฒนาและพยายามคิดค้นเทคโนโลยีการชำระเงินล้ำ ๆ ให้การใช้จ่ายบนพื้นฐานของคำว่า “สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย”
ก่อนหน้านี้หลายคนอาจยังไม่คุ้นเคยกับการ “แตะเพื่อจ่าย” ผ่านระบบคอนแทคเลส นี้มากนัก
จนเมื่อการระบาดของโควิด 19 ที่คนไทยลดการใช้เงินสด และหันมาพึ่งพาระบบดิจิทัล
ตรงนี้เอง ได้กลายเป็นจุดพลิกเกม
ให้คนค่อย ๆ เปลี่ยนพฤติกรรมจากการรูดหรือเสียบบัตรเพื่อจ่ายเงิน มาเป็นวิธี “แตะเพื่อจ่าย” กันมากขึ้น
เดือนมิถุนายน 2563 เป็นครั้งแรกที่มีการแตะเพื่อจ่ายมากกว่า 1 ล้านครั้งในหนึ่งเดือน
เดือนกันยายน 2563 เป็นครั้งแรกที่มีการแตะเพื่อจ่าย 2 ล้านครั้งในหนึ่งเดือน
เดือนมิถุนายน 2564 เป็นครั้งแรกที่มีการแตะเพื่อจ่าย 3.8 ล้านครั้งในหนึ่งเดือน
ระยะเวลาเพียงแค่ 9 เดือน พฤติกรรมนี้เติบโตถึง 90% เลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม การเติบโตแบบก้าวกระโดดนี้ นอกจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป จากการศึกษาของ วีซ่า ยังสะท้อนให้เห็นว่า 68% ของผู้ทำแบบสำรวจรู้สึกปลอดภัยจากโควิด 19 มากขึ้นเมื่อชำระเงินในรูปแบบแตะเพื่อจ่าย และ 23% ระบุว่าพวกเขาเริ่มชำระเงินในรูปแบบคอนแทคเลสผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตรเติมเงิน เป็นครั้งแรกหลังจากเกิดการระบาดของโรคโควิด 19 นี้
แต่อย่าลืมว่า ในโลกสังคมไร้เงินสดนั้น ยังมีวิธีการจ่ายเงินอีกหลายรูปแบบให้เราเลือกใช้
นั่นแปลว่าหากทาง วีซ่า ไม่สามารถทำให้ระบบ “แตะเพื่อจ่าย”
ตอบโจทย์ชีวิตประจำวันของผู้ถือบัตรได้ พฤติกรรมนี้ก็ยากจะแจ้งเกิดได้เช่นกัน
คำถามก็คือแล้ว วีซ่า ทำอย่างไรให้ระบบ “แตะเพื่อจ่าย” ตอบโจทย์ชีวิตประจำวัน
นอกจากความง่ายของผู้ใช้ที่แค่แตะบัตรที่เครื่องด้วยตัวเองก็สามารถจ่ายเงินได้ทันที
ปัจจุบัน วีซ่า ได้เพิ่มช่องทางการชำระผ่านคอนแทคเลสได้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ
ซึ่งประเภทการใช้จ่ายที่คนนิยม แตะเพื่อจ่าย มากที่สุดคือ ปั๊มน้ำมัน
รองลงมาคือ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ร้านอาหาร สุดท้ายก็คือธุรกิจคมนาคมขนส่ง จะเห็นว่าเราสามารถแตะเพื่อจ่ายได้แทบจะทุกที่ ซึ่งอยู่ใกล้ตัวเรามาก
อย่างไรก็ตาม “จุดตัด” ความสำเร็จ คงไม่ได้มีแค่ความสะดวกสบาย
เพราะปัจจุบันเอง วีซ่า ยังคงต่อยอดพัฒนาเรื่องความปลอดภัย ไปพร้อม ๆ กับการเพิ่มจำนวนจุดรับชำระเงินผ่านระบบคอนแทคเลสให้ครอบคลุม และทั่วถึง
วีซ่า จินตนาการถึงเมืองที่ประชาชนคนไทยสามารถใช้ระบบขนส่งสาธารณะ หรือซื้อน้ำเปล่าในร้านสะดวกซื้อได้โดยไม่ต้องลำบากในการหาเศษเหรียญ หรือแลกเปลี่ยนธนบัตรกันอีกต่อไป
เพราะวีซ่าเข้าใจดีว่า นวัตกรรมมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้การใช้ชีวิตของคน ธุรกิจ และเศรษฐกิจของประเทศดำเนินต่อไปได้ไม่ว่าจะมีโรคระบาดหรือไม่ก็ตาม
*การศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี 2563 ของวีซ่า ซึ่งจัดทำโดย CLEAR ในนามของวีซ่าเมื่อเดือนกันยายน 2563 ในแปดประเทศทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 7,500 คน รวมทั้งผู้บริโภคในประเทศไทยจำนวน 1,000 ราย ที่มีอายุระหว่าง 18-65 ปี ครอบคลุมทุกระดับการศึกษา และมีรายได้ขั้นต่ำต่อคนที่ 15,000 บาท
Reference
-ข่าวประชาสัมพันธ์ บริษัท วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.