กรณีศึกษา เมื่อ SCB พาถอดรหัส 3 ไอเดีย SME สุดเจ๋ง

กรณีศึกษา เมื่อ SCB พาถอดรหัส 3 ไอเดีย SME สุดเจ๋ง

15 ต.ค. 2019
รู้หรือไม่ว่า SME ไทยที่มีมากกว่า 3 ล้านราย
มีไม่ถึง 50% ที่ธุรกิจประสบความสำเร็จ
ด้วยเหตุนี้ทำให้หลายธนาคารเลือกจะยื่นมือช่วยเหลือลูกค้า SME ของตัวเอง
โดยหนึ่งธนาคารที่มีภารกิจนี้อย่างโดดเด่นก็คือธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB
เพราะทีมผู้บริหาร SCB มีความเชื่อว่า “หากเราช่วยเหลือลูกค้าในช่วงยากลำบากของธุรกิจ เมื่อเขาเติบโต ก็จะมอง SCB เป็นเพื่อนคู่คิดมากกว่าเป็นสถาบันการเงิน”
ทำให้ล่าสุด SCB มีแคมเปญใหญ่ถูกใจลูกค้า SME 
ที่เรียกว่า SME Fighto ที่มาพร้อมกับอาวุธใหม่ “มณี Free Solution” ผู้ช่วยเรื่องธุรกิจแบบครบวงจร ให้ค้าขายราบรื่น ร่ำรวย เติบโตอย่างมั่งคั่งสำหรับเอสเอ็มอีรายย่อยที่มียอดขายไม่เกิน 75 ล้านบาทต่อปี ด้วย 3 จุดเด่นได้แก่
1.ฟรี ค่าธรรมเนียมธุรกรรมทุกประเภท เมื่อทำผ่านช่องทางดิจิทัลและมีบัญชีมณีมั่งคั่ง รวมถึงฟรีรับฝากเช็คข้ามเขต
2.ฟรี อัพเกรดดอกเบี้ย บัญชีมณีมั่งคั่ง บัญชีเดินสะพัดดอกเบี้ยสูงสุด 1% รับดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือน เมื่อฝากตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด ซึ่งไม่ใช่แค่ช่วยเหลือทางด้านการเงินอย่างเดียว
3.ฟรี สัมมนาต่อยอดธุรกิจ เพื่อช่วยผลักดันให้ธุรกิจของผู้ประกอบการก้าวไปได้ไกลยิ่งขึ้น เสิร์ฟความรู้ให้แก่กลุ่มลูกค้า SME ผ่านงานสัมมนา COFFEE TALK SERIES ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ณ SCB BUSINESS CENTER เซ็นทรัลเวิลด์ โดยมี 3 วิทยากร SME ชื่อดังมาแชร์ไอเดียเจ๋งๆ
โดยคนแรกที่ MarketThink อยากนำเสนอ
คือคุณเทพวรรณ คณินวรพันธุ์ จากเด็กปาร์ตี้บอย ที่เรียนเกือบไม่จบแถมมีหนี้สินจากธุรกิจแรก 1 ล้านบาท
มาวันนี้เขาเป็นเจ้าของบริษัท ZAAP ออร์แกไนเซอร์แถวหน้าของประเทศด้วยวัยเพียง 28 ปี
ที่น่าสนใจก็คือเด็กหนุ่มคนนี้ ตั้งเป้าที่จะพาบริษัทตัวเองเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในอนาคตอันใกล้ 
“ผมเชื่อว่าเราไม่จำเป็นต้องสร้างสิ่งใหม่ๆ เพื่อทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ 
แต่หากเราเลือกหยิบสิ่งที่มีอยู่รอบๆ ตัวแล้วมาพัฒนาต่อยอด ก็ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน”
และเขาก็ทำเช่นนั้นจริง เพราะรู้หรือไม่ว่า WATER ZONIC งานเฟสติวัลสุดมันส์ที่สร้างชื่อเสียงไปไกลถึงต่างประเทศ ก็มาจากการหยิบสิ่งใกล้ตัวมาต่อยอด
โดยเบื้องหลังไอเดียนี้มาจากการที่คุณ เทพวรรณ ตั้งคำถามว่าทำไมเทศกาล สงกรานต์ ถึงได้รับความนิยมมากมาย ทั้งจากคนไทยและต่างชาติ จากนั้นเขาก็ปิ๊งไอเดียทันที ด้วยการจัดคอนเสิร์ตกลางแจ้งที่มีจุดขาย ด้วยแนวดนตรี EDM ถูกใจวัยรุ่นและการสาดน้ำใส่ผู้ร่วมงาน
เมื่อรูปแบบงานเป็นเช่นนี้ WATER ZONIC จึงเลือกจะจัดงานในช่วงหน้าฝนเพราะผู้ร่วมงานก็เตรียมตัวที่จะเปียก ขณะที่งานคอนเสิร์ตและงานอีเวนต์อื่นๆ จะไม่ค่อยจัดงานในช่วงหน้าฝนเพราะกลัวไม่มีคนซื้อบัตร
เมื่อธีมงานสนุกและถูกใจวัยรุ่น แถมยังเป็นช่วงเวลาที่ไม่ต้องแข่งกับใคร ทำให้  WATER ZONIC ประสบความสำเร็จทุกปี
หรือจะเป็นงาน Single Festival เทศกาลดนตรีของคนโสดที่ไอเดียเกิดจากไปนั่งร้านเหล้าแล้วสังเกตเห็นนักร้องชอบแซวคนดู ‘ขอเสียงคนโสดหน่อยโว้ย’ พร้อมกับเสียงตอบรับที่กระหึ่มมาก
“เลยคิดว่าประเทศไทยเราน่าจะมีคนโสด คนเหงาเยอะมาก ถ้าเราจัดคอนเสิร์ตที่มีธีมคนโสดโดยเฉพาะ น่าจะประสบความสำเร็จ”
แต่ก็ใช่ว่าไอเดียเหนือชั้นขนาดนี้ จะการันตีว่าจะประสบความสำเร็จ เพราะธุรกิจคอนเสิร์ต, งานปาร์ตี้ เหล่านี้ เป็นอะไรที่คู่แข่งเลียนแบบได้ง่ายมาก
“คุณมีตังค์ก็จ้างศิลปินดังๆ สร้างโปรดักชั่นอลังการได้ทุกคนแหละ
แต่สิ่งที่ทำให้บริษัทผมสำเร็จก็คือการจัดการบริหาร ผู้ชมคนร่วมงานไม่ต้องต่อแถวเบียดกันแย่งกัน
และยังมีบริการอื่นๆ ซึ่งเรามีเป้าหมายให้ผู้ชมเขารู้สึกว่าเขาเป็นคนพิเศษ”
มาถึงคนที่สอง ที่จะทำให้ความคิดใครหลายคนต้องเปลี่ยนไป
จากที่เคยมองว่าธุรกิจร้านกาแฟ เป็นธุรกิจที่น่าลงทุน 
หากฟังวิทยากรคนนี้อาจจะต้องคิดใหม่
“ธุรกิจร้านกาแฟเกิดใหม่ได้ง่ายมาก คุณแค่ไปเรียนชงกาแฟ 2 - 3 วันมีเงินทุนพอสมควรก็เปิดได้
แต่รู้ไหมว่าร้านกาแฟรายเล็กๆ ในบ้านเราปิดกิจการไปเยอะมาก”
คุณมารุต ชุ่มขุนทด ผู้ร่วมก่อตั้ง Class Café บอกถึงสถานการณ์เลวร้ายของร้านกาแฟ SME ในเมืองไทย
เหตุผลเพราะสิ่งที่ยักษ์ใหญ่อย่าง Starbucks – Café Amazon
ได้เปรียบคือมีต้นทุนในการทำธุรกิจที่ถูกกว่าร้านกาแฟ SME แถมยังมีแบรนด์ที่แข็งแกร่งกว่า
“แน่นอนหากเราทำตาม 2 รอยเท้ายักษ์ใหญ่ เราก็จะถูกกลืนกินจนลูกค้าจะไม่รู้เลยว่าเราเป็นใคร”
เมื่อรู้ว่าหากทำร้านกาแฟและไม่สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งรายใหญ่ จะมีผลลัพธ์ทางธุรกิจอย่างไร
จึงทำให้ คุณมารุต ต้องมาคิดต่อว่าแล้ว “ตัวเราเองมีอะไรที่จะใช้สร้างความต่าง” ให้แก่ร้านกาแฟ Class Café
จนมาพบคำตอบว่าตัวเขาเองมีประสบการณ์จากการทำงานสาย Tech ด้วยตำแหน่งผู้บริหารบริษัท True, Nokia เป็นต้น  
“ผมเริ่มเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในร้านผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 
อย่างเช่นการติดตั้งกล้องในแต่ละสาขาผ่านจอมือถือ ที่จะทำให้เราจะรู้ว่าพื้นที่นั่งในร้านตรงไหน ลูกค้าไม่ชอบนั่ง และวิเคราะห์ว่าทำไมเขาถึงไม่นั่ง”
จนพบคำตอบว่าคนไม่ชอบนั่งตรงหน้าต่างเพราะรู้สึกร้อน 
ไม่ชอบนั่งบริเวณนี้เพราะแอร์เย็นเกินไป รวมถึงยังได้รู้ถึงพฤติกรรมลูกค้าต่างๆ 
เพื่อให้ Class Café คิดค้นบริการและเมนูตอบโจทย์ลูกค้าได้ตรงจุด
“ต่อให้คู่แข่งใหญ่แค่ไหน แต่หากเราใส่ใจทุกรายละเอียด ลูกค้าก็จะให้ใจเรา
และจะทำให้ Class Café เป็นร้านกาแฟเล็กๆ ที่ยักษ์ใหญ่ต้องมอง
เพราะในโลกธุรกิจมันมีแค่ คนขายได้ กับคนขายไม่ได้” 
ขณะเดียวกันวิธีการขยายสาขาของ Class Café ก็แตกต่าง 
เพราะในช่วงเริ่มต้นธุรกิจในปี 2556 แทนที่จะคิดขยายสาขาเน้นพื้นที่กรุงเทพฯ
แต่เขากลับเลือกเริ่มต้นสาขาแรกที่โคราช จากนั้นก็ปูพรมเน้นเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน
ก่อนจะค่อยๆ ขยายมาในกรุงเทพฯ จนปัจจุบันมี 26 สาขา
“หากไปแข่งในพื้นที่ที่ร้านกาแฟยักษ์ใหญ่มีสาขาเยอะ และเราเพิ่งเริ่มต้นธุรกิจก็จะเสียเปรียบทันที”
แต่หากเรายึดพื้นที่อีสานได้ เราก็จะมีแบรนด์ที่แข็งแกร่งในใจคนอีสาน”
ที่น่าสนใจก็คือวิธีขยายสาขาและการทำธุรกิจของ Class Café จะพยายามเลือกมี Partner ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 
“ส่วนไหนที่เป็นความลับทางธุรกิจเราก็เลือกทำเอง 
แต่ส่วนไหนที่คิดว่าต้องพึ่งพาคนอื่นแล้วเกิดประโยชน์สูงสุดก็ต้องมี  Partner 
เพราะธุรกิจยุคนี้คุณไม่สามารถทำทุกอย่างคนเดียวได้”
มาถึงวิทยากรคนสุดท้ายที่จะมาให้วิธีคิดในเรื่องเทคโนโลยีสำคัญกับธุรกิจ SME
คือ ดร.ทวิชา ตระกูลยิ่งยง ประธานผู้บริหารสายงานเทคโนโลยี บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)
โดย ดร.ทวิชา บอกว่า ณ วันนี้เทคโนโลยีได้ทำให้เกิดโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นมากมาย เช่น ธุรกิจสั่งอาหารออนไลน์ Music และ Movie ผ่าน Streaming เป็นต้น
แล้วสิ่งที่ทำให้ธุรกิจเหล่านี้กำลังมาแรง ก็เพราะ ณ วันนี้ สื่อดิจิทัลแรกที่เข้าถึงลูกค้า แถมยังเข้าถึงได้จำนวนมากก็คือ Smartphone
เมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ ธุรกิจ SME เองก็ต้องศึกษา เช่นกัน
ว่าจะใช้ประโยชน์จากช่องทางออนไลน์ด้วยวิธีไหน เพื่อให้ได้ข้อมูลของลูกค้า
ยกตัวอย่างเช่น ร้าน McDonald’s ที่สหรัฐอเมริกา ที่มีตู้คีออสรับออเดอร์อาหารจากลูกค้า
และเจ้าตู้นี้ยังสามารถเก็บข้อมูลว่า ลูกค้าคนนี้ชอบทานอะไร ราคาต่อ 1 มื้อจ่ายอยู่ประมาณเท่าไร
“หาก SME รู้ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้าแต่ละคนเป็นอย่างไร จะได้เปรียบมาก 
เพราะจะทำให้ SME สามารถพัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าได้ตรงจุด”
แต่เทคนิคที่ทาง ดร.ทวิชา แนะนำก็คือไม่ว่าจะใช้เทคโนโลยีเพื่อ ขายสินค้า โฆษณา หรืออะไรก็ตาม SME จะต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าใช้งานง่ายและเข้าถึงได้ง่าย
มาถึงตรงนี้หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า SCB BUSINESS CENTER ปรับรูปแบบใหม่ ภายใต้แนวคิด “จุดศูนย์รวมของคนอยากทำธุรกิจ” เป็นพื้นที่รวมความรู้ เป็นเวทีสัมมนาสลับสับเปลี่ยนเพื่อให้ความรู้ SME แล้วยังมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาทางด้านการเงินและด้านธุรกิจต่างๆ หรืออยากจะนัดพูดคุยทางธุรกิจ นั่งทำงาน ก็มี Co-Working Space ที่มีร้านกาแฟ Class Café มาให้บริการภายใต้ชื่อ CLASS.SCB นอกจากนี้ หากจะนัดประชุม หรือรับรองลูกค้า เราก็มีห้องประชุมให้สามารถจับจองได้ โดยไม่เสียค่าใช้บริการแต่อย่างใด
รวมถึงพันธมิตร อาทิ ไปรษณีย์ไทย Wongnai และ GET ที่จะมาร่วมมือในการช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา และให้บริการที่สนับสนุนการดำเนินงาน และต่อยอดการทำธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ นอกจากจะมาให้บริการแล้ว ยังมีดีลพิเศษเฉพาะลูกค้า SCB Business Center เท่านั้น
ปัจจุบันโฉมใหม่นี้มีทั้งหมด 3 แห่ง ได้แก่ สยามสแควร์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์ โดยลูกค้าสามารถเข้าใช้บริการได้ง่ายๆ เพียงเป็นลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ และโชว์แอปพลิเคชัน SCB EASY หรือ SCB ดิจิทัลแพลตฟอร์มอื่นๆ ก็สามารถเข้าใช้บริการได้เลยทันที..
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.