KTAM ชวนนักลงทุนวางแผนจัดการภาษีฯ โค้งสุดท้าย ปี 2564

KTAM ชวนนักลงทุนวางแผนจัดการภาษีฯ โค้งสุดท้าย ปี 2564

4 พ.ย. 2021
นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2564  นักลงทุนควรต้องเริ่มเตรียมตัวและวางแผนการจัดการภาษีเงินได้ประจำปีกันแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องรู้รายได้ ค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน และสิ่งหนึ่งที่นักลงทุนจะต้องพิจารณาวางแผนอย่างเหมาะสม คือ การลงทุนควบคู่กับการวางแผนจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งในปี 2564 จะมีความพิเศษกว่าปีก่อนๆ เล็กน้อย เพราะปีนี้จะไม่มีกองทุน LTF (Long Term Equity Fund) ให้เลือกเหมือนปีก่อนๆ แต่จะมีทางเลือกใหม่ในการลงทุน คือ กองทุนประเภท SSF (Super Saving Fund)  มาแทนที่ ซึ่งในภาพรวมของการวางแผนจัดการภาษีนั้น การลงทุนผ่านกองทุนยังคงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเนื่องจากสามารถลงทุนได้ในวงเงินที่มากและยังสามารถรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้สูงสุดถึง 500,000 บาท 
บลจ.กรุงไทย มีปรัชญาและแนวทางในการดำเนินธุรกิจที่มุ่งส่งเสริมให้เกิดการสร้างวินัยการออม การลงทุนที่ดี และการวางแผนภาษีที่ถูกต้อง เพื่อให้นักลงทุนมีสุขภาพทางการเงินที่ดี เพียงพอที่จะรองรับกับสถานการณ์ไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งช่วงที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วว่า นักลงทุนที่มีวินัยที่ดีสามารถสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินได้ดีกว่าเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤต สำหรับกองทุนที่ KTAM  แนะนำคือ กองทุนกลุ่มมั่ง มี ศรี สุข เพื่อการออม (SSF) และเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งกองทุนกลุ่มดังกล่าวมีข้อดีด้านการจัดสรรเงินลงทุน (Asset Allocation) ในหลายสินทรัพย์ทั่วโลก ผ่าน Fund of Funds ภายใต้บริษัทจัดการกองทุน โดยมีกลยุทธ์การลงทุนมุ่งหวังให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management) สามารถตอบโจทย์การลงทุนในรูปแบบของการกระจายความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม หนึ่งในสิ่งที่นักลงทุนกังวลคือ การแพร่ระบาดของโควิด-19 จบหรือยัง? การเปิดประเทศจะก่อให้เกิดการระบาดรอบใหม่ และเศรษฐกิจจะหยุดชะงักอีกหรือไม่? ประเด็นความผันผวนเหล่านี้ทำให้นักลงทุนมีความกังวลต่อการลงทุนเนื่องจากยังไม่แน่ใจว่าการลงทุนในช่วงนี้เป็นจังหวะที่เหมาะสมหรือยัง ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอนเช่นนี้ เช่นนั้น การลงทุนโดยการจัดสรรเงินลงทุนแบบ Asset Allocation ที่เน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายจะช่วยกระจายความเสี่ยง ลดความผันผวนได้
ปัจจุบันกองทุนกลุ่มมั่ง มี ศรี สุข เพื่อการออม และเพื่อการเลี้ยงชีพ ประกอบด้วย 4 กลุ่มกองทุนย่อย ที่เน้นการกระจายน้ำหนักการลงทุนให้เหมาะสมกับวัฏจักรเศรษฐกิจระยะยาว โดยผู้จัดการกองทุนสามารถปรับเปลี่ยนน้ำหนักการลงทุนได้ตามความเหมาะสม สอดคล้องกับการลงทุน โดยทั้ง 4 กลุ่มกองทุนย่อย ได้แก่ กองทุนเปิดกรุงไทยมั่งคั่ง SSF/RMF (KTMUNG SSF/RMF) กองทุนเปิดกรุงไทยมีทรัพย์ SSF/RMF (KTMEE SSF/RMF) กองทุนเปิดกรุงไทยศรีสิริ SSF/RMF (KTSRI SSF/RMF) และ กองทุนเปิดกรงไทยสุขใจ SSF/RMF (KTSUK SSF/RMF)
ประมาณน้ำหนักการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์
กองทุน SSF (Super Saving Fund) เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออมระยะยาว และกองทุน RMF (Retirement Mutual Fund) เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออมเพื่อการเกษียณอายุ โดย SSF สามารถซื้อได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ระยะเวลาลงทุนคือ10 ปีนับจากวันที่ซื้อ ส่วน RMF (Retirement Mutual Fund) สามารถซื้อได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปีและไม่เกิน 500,000 บาท ระยะเวลาลงทุนคือ ต้องถือครองไม่น้อยกว่า 5 ปี นับจากวันลงทุนครั้งแรก และถือจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ นอกจากนี้ กองทุน SSF และ RMF เมื่อรวมจำนวนเงินที่ซื้อกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ แล้วสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน กอช. ประกันบำนาญ เป็นต้น
และสำหรับผู้ลงทุนที่สนใจ ยังสามารถชำระผ่านบัตรเครดิต KTC หรือใช้คะแนน KTC FOREVER ทุกๆ 1,000 คะแนน แทนเงินลงทุน 100 บาท ได้ด้วย โดยเงื่อนไขเป็นไปตามที่ บลจ. กรุงไทยและบัตรเครดิต KTC กำหนด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ www.ktam.co.th หรือ บลจ. กรุงไทย โทร. 0-2686-6100 กด 9 ในเวลาทำการ และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา และผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี)
คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม/กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ หากลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด อาจจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเสียเงินเพิ่ม / ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ : ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk)/ ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของหลักทรัพย์ (Liquidity Risk)/ ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate Risk)/ ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุน (High Concentration Risk) เป็นต้น ทั้งนี้ กองทุนมีนโนบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / * อัตราผลตอบแทนที่ใช้เป็นตัวชี้วัดข้างต้น เป็นเพียงการกำหนดตัวชี้วัดของกองทุนที่เกิดจากการจัดทำแบบจำลองการลงทุนย้อนหลัง 7 ปี ซึ่งกองทุนมิได้รับประกัน ผลตอบแทนดังกล่าว ทั้งนี้ มูลค่าของทรัพย์สินที่กองทุนลงทุนอาจมีความเคลื่อนไหวไปตามสภาวะตลาดในขณะนั้น ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจได้รับผลตอบแทนน้อยกว่า หรือมากกว่าอัตราผลตอบแทนที่กำหนดเป็นตัวชี้วัดได้ โดยระยะเวลาลงทุนที่เหมาะสมควรเป็นการลงทุนในระยะกลาง-ยาว                         
Tag:KTAM
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.