
10 เดือนแรกปี 2564 ยอดขายรถยนต์ในประเทศ หดตัว 2.1% แต่รถยนต์ไฟฟ้า เติบโต 40% - ttb analytics
30 พ.ย. 2021
ปัจจุบันยอดขายรถยนต์ในประเทศ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวลง และยอดขายรถยนต์ในประเทศสะสมเดือนมกราคม-ตุลาคม 2564 อยู่ที่ 596,325 คัน หดตัวลง 2.1% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563
โดยรถยนต์เชิงพาณิชย์ หดตัวลง 2.7% อยู่ที่ 336,936 คัน และรถยนต์นั่ง หดตัวลง 1.2% อยู่ที่ 259,389 คัน
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) คาดว่าในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2564 นี้ ยอดขายรถยนต์จะเริ่มมีการทยอยฟื้นตัวดีขึ้นภายหลังการคลายล็อกดาวน์ในพื้นที่ต่าง ๆ ประกอบกับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด เริ่มทั่วถึงทั้งประเทศ และการกระตุ้นยอดขายจากงานมอเตอร์เอ็กซ์โปช่วงสิ้นปี
ทำให้คาดว่ายอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2564 จะอยู่ที่ 7.65 แสนคัน ซึ่งหดตัวลง 3.3%
เมื่อเจาะลึกเชิงพื้นที่โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลรถยนต์จดทะเบียนใหม่พบว่า ในช่วง 10 เดือนสะสมของปี 2564 ภูมิภาคที่ยอดจดทะเบียนรถใหม่ยังขยายตัว ได้แก่ ภาคใต้, ภาคเหนือ, ภาคอีสาน โดยขยายตัว 3.1%, 1.5% และ 0.3% ตามลำดับ
ซึ่งการเติบโตมาจากรถยนต์เชิงพาณิชย์เป็นหลัก (เครื่องยนต์ดีเซล) เนื่องจากเศรษฐกิจพึ่งพาภาคเกษตรเป็นหลัก และในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาราคาสินค้าเกษตรเฉลี่ยปรับตัวดีขึ้น ทำให้ผู้บริโภคในพื้นที่มีกำลังซื้อรถยนต์เพื่อใช้ประกอบกิจการ
อย่างไรก็ตาม สำหรับพื้นที่หลักที่มียอดขายรถยนต์ใหม่สูง ได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล, ภาคตะวันออก และภาคกลาง พบว่า หดตัว 7.8%, 4.7% และ 3.8% ตามลำดับ เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้พึ่งพิงเศรษฐกิจในภาคการค้า และภาคบริการเป็นหลัก ซึ่งได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะงักในช่วงไตรมาส 2-3 ของปี 2564 และทำให้ยอดขายรถยนต์ในพื้นที่ลดลงค่อนข้างมาก
อย่างไรก็ดี หากพิจารณายอดจดทะเบียนรถใหม่ แม้ว่าภาพรวมรถยนต์นั่งและรถยนต์เชิงพาณิชย์จะลดลง แต่ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า 10 เดือนของปี 2564 มียอดสะสมรวมกว่า 35,501 คัน
แบ่งเป็นสัดส่วนรถไฟฟ้าประเภท Hybrid 95% และเป็นรถไฟฟ้าประเภทใช้แบตเตอรี่ BEV 5%
ขยายตัว 40% จากช่วงเดียวกันของปี 2563
แบ่งเป็นสัดส่วนรถไฟฟ้าประเภท Hybrid 95% และเป็นรถไฟฟ้าประเภทใช้แบตเตอรี่ BEV 5%
ขยายตัว 40% จากช่วงเดียวกันของปี 2563
โดยมีการเติบโตอย่างมากในทุกภูมิภาค ชี้ให้เห็นถึงความต้องการรถยนต์ที่มีความทันสมัยและประหยัดพลังงาน ซึ่งมาจากกำลังซื้อผู้บริโภคที่อยู่จากตลาดกลางถึงบน
ทั้งนี้ ttb analytics คาดว่าแนวโน้มยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2565 จะทยอยฟื้นตัวกลับเข้าสู่ระดับปกติอยู่ที่ 8.7 แสนคัน หรือขยายตัว 13.8%
แบ่งเป็นรถยนต์เชิงพาณิชย์ ขยายตัว 17.6% และรถยนต์นั่ง ขยายตัว 8.8%
แบ่งเป็นรถยนต์เชิงพาณิชย์ ขยายตัว 17.6% และรถยนต์นั่ง ขยายตัว 8.8%
โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก
1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ โดยคาดว่าการบริโภคและการลงทุนเอกชน จะขยายตัว 4.2% และ 5.2% ตามลำดับ
1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ โดยคาดว่าการบริโภคและการลงทุนเอกชน จะขยายตัว 4.2% และ 5.2% ตามลำดับ
2) การส่งออกคาดว่าจะขยายตัว 4.5% ตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว
3) ดอกเบี้ยในประเทศทรงตัวอยู่ในระดับต่ำทั้งปี
4) อายุรถยนต์เฉลี่ยบนท้องถนนที่สูง ทำให้เกิดความต้องการเปลี่ยนรถยนต์ใหม่ (รถยนต์เชิงพาณิชย์ และรถยนต์นั่ง อายุเฉลี่ย 12.3 และ 9.7 ปี)
5) เทคโนโลยีรถยนต์ใหม่ ๆ ที่ค่ายรถยนต์นำเสนอต่อผู้บริโภค เช่น ระบบประหยัดพลังงาน, ระบบการขับขี่ด้วยความปลอดภัย, ระบบการถอยจอดอัตโนมัติ รวมถึงรถไฟฟ้ารุ่นใหม่ทั้ง Hybrid และ BEV ฯลฯ
ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลทำให้ยอดขายรถยนต์ในประเทศค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้นในปี 2565
ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลทำให้ยอดขายรถยนต์ในประเทศค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้นในปี 2565
สำหรับแนวโน้มยอดขายปี 2565 เชิงพื้นที่
ประเมินว่าในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล, ภาคตะวันออก และภาคกลาง จะทยอยปรับตัวดีขึ้นกว่าปี 2564 เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งภาคการค้า, ภาคบริการ และภาคอุตสาหกรรม กลับมาดำเนินกิจการได้ดังเดิม จากการผ่อนคลายการล็อกดาวน์ข้อจำกัดการเดินทางและการทำกิจกรรมของประชาชน
ประเมินว่าในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล, ภาคตะวันออก และภาคกลาง จะทยอยปรับตัวดีขึ้นกว่าปี 2564 เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งภาคการค้า, ภาคบริการ และภาคอุตสาหกรรม กลับมาดำเนินกิจการได้ดังเดิม จากการผ่อนคลายการล็อกดาวน์ข้อจำกัดการเดินทางและการทำกิจกรรมของประชาชน
ประกอบกับการเรียนรู้ของผู้ประกอบการและประชาชน ที่จะอยู่ร่วมกับการระบาดของโควิดอย่างปลอดภัย
อย่างไรก็ดี ในปี 2565 มีสัญญาณความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตรที่ลดลง โดยเฉพาะข้าว
ทำให้คาดว่าในพื้นที่เพาะปลูกข้าว ได้แก่ ภาคกลาง, ภาคเหนือ และภาคอีสาน อาจได้รับผลกระทบกำลังซื้อ ทำให้ยอดขายในพื้นที่ดังกล่าวลดลงได้
ทำให้คาดว่าในพื้นที่เพาะปลูกข้าว ได้แก่ ภาคกลาง, ภาคเหนือ และภาคอีสาน อาจได้รับผลกระทบกำลังซื้อ ทำให้ยอดขายในพื้นที่ดังกล่าวลดลงได้
ด้านความเสี่ยงภาพใหญ่ของอุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2565 ที่สำคัญ ได้แก่
1) การแพร่ระบาดของโรคโควิดสายพันธุ์ใหม่ โอไมครอน หากเข้ามาระบาดในประเทศ อาจส่งผลทำให้เกิดการล็อกดาวน์อีกครั้ง
2) ภาคท่องเที่ยวฟื้นตัวไม่เต็มที่ โดยยังคงพึ่งพิงนักท่องเที่ยวในประเทศเป็นหลัก
3) หนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงกว่า 93% ต่อ GDP
4) การขาดแคลนชิป เซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งจะส่งผลต่อยอดการผลิตรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 ได้
5) ความเข้มงวดของการปล่อยสินเชื่อจากสถาบันการเงิน เนื่องจากต้องการควบคุมหนี้เสียในช่วงสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา นับเป็นปัจจัยท้าทายที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด