กระแสสังคมกดดัน “กสทช. ต้องสู้เพื่อประชาชน” หยุดควบรวมค่ายมือถือ
2 ส.ค. 2022
อีกเพียงก้าวเดียวเท่านั้น ที่เราอาจจะเห็นประเทศไทยถอยกลับเข้าไปอยู่ในยุคมืดของการสื่อสารสาธารณะจากตลาดแข่งขันเสรีตกไปสู่ยุคผูกขาด โดยมีกลุ่มทุนเพียงสองกลุ่มควบรวมกิจการ ที่มีผู้บริโภคเป็นเพียงลูกไก่ในกำมือ เมื่อ องค์กรกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม - คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติแห่งชาติ (กสทช.) - มีกำหนดประชุมตัดสินว่า กสทช.มีอำนาจตามกฏหมายหรือไม่ในการยับยั้งการควบรวมกิจการค่ายมือถือระหว่าง ทรู กับ ดีแทค และเอไอเอส กับ 3BB ในวันที่ 3 สิงหาคมนี้
ด้วยเหตุนี้จึงก่อให้เกิดกระแสสังคมจากหลายภาคส่วนที่ออกมาผลักดันให้ กสทช.ใช้ความกล้าหาญยืนอยู่ข้างผลประโยชน์สาธารณะ และใช้อำนาจตามกฏหมายให้ชัดเจน เพื่อหยุดการดำเนินการสู่การผูกขาดที่จะทำให้ผู้บริโภคทั้งประเทศต้องแบกภาระค่าบริการที่สูงขึ้น หมดทางเลือกในตลาดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และถูกจำกัดการใช้บริการของประชาชน
ความคิดเห็นทางสังคมเน้นไปที่บริการโทรคมนาคมต้องเป็นบริการสาธารณะที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ที่ทำให้ประชาชนที่อยู่ห่างไกลได้เข้าถึงการศึกษาเป็นต้น จึงจำเป็นต้องเป็นธุรกิจที่มีความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค
ความคิดเห็นทางสังคมเน้นไปที่บริการโทรคมนาคมต้องเป็นบริการสาธารณะที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ที่ทำให้ประชาชนที่อยู่ห่างไกลได้เข้าถึงการศึกษาเป็นต้น จึงจำเป็นต้องเป็นธุรกิจที่มีความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค
นอกจากนั้นยังมีการยกตัวอย่างการผูกขาดในธุรกิจนี้เป็นบทเรียนต่างประเทศที่ผู้บริโภคเจ็บปวดต้องรับภาระค่าใช้จ่ายพุงสูง รวมทั้งผลกระทบต่อรายได้มวลรวมของประเทศ (GDP) ราคาค่าบริการ และการเข้าถึงบริการที่ผู้บริโภคต้องอยู่ในภาวะจำยอม เช่นเดียวกับระบบผูกขาดอื่นๆ เหล่านี้เป็นการสะท้อนความเห็นสาธารณะ ที่ส่วนหนี่งที่ปรากฏในเวที เสวนา Consumers Forum EP.3 “ชะตากรรมผู้บริโภคกับยุคผูกขาดคลื่นความถี่” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคมนี้ โดย สภาองค์กรของผู้บริโภค ร่วมกับ โคแฟคประเทศไทย กรณีผลกระทบที่จะเกิดจากการควบรวมกิจการในธุรกิจโทรคมนาคม ของ 'ทรู - ดีแทค' และเอไอเอส ประกาศควบรวมกิจการอินเตอร์เน็ตบ้าน กับทรีบรอดแบนด์ (3BB)
สุภิญญา กลางณรงค์ ประธานอนุกรรมการด้านการสื่อสาร สภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า ภารกิจกสทช.ชุดใหม่ คือการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่ถอยหลังไปสู่ยุคผูกขาดคลื่นความถี่ ทิศทางนี้ถือว่า อันตรายมากและไม่ควรจะเกิดขึ้น โดยย้อนถึงเหตุการณ์ที่ ประเทศไทยใช้เวลามากกว่า 3 - 4 ทศวรรษในการเปลี่ยนแปลงระบบสัญญาสัมปทานโทรคมนาคมมาเป็นระบบใบอนุญาต ซึ่ง กสทช. ชุดที่แล้ว เปลี่ยนระบบสัมปทานผูกขาดมาเป็นใบอนุญาต อีกทั้งให้เสรีภาพเอกชนในประกอบธุรกิจโทรคมนาคมได้ทุกที่ แต่สิ่งที่กสทช.ชุดที่แล้วยังทำไม่สำเร็จ ก็คือการส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบธุรกิจโทรคมนาคมรายใหม่ รายที่ 4 ซึ่งปัจจุบันมี 3 รายหลักๆ ที่ครองส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ได้แก่ เอไอเอส ทรู ดีแทค ฉะนั้น ยุคการแข่งขันเสรีเปิดแล้ว
แต่กรณี ทรู-ดีแทค หากควบรวมกิจการกัน สุภิญญา แสดงความกังวลว่า จะทำให้ตลาดเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่เพียงแค่ 2 ราย ผู้บริโภคจะไม่มีทางเลือก กลายเป็นลูกไก่ในกำมือของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ยิ่งข่าวเอไอเอสจะไปควบรวมกับ 3BB ซึ่งถือว่าเป็นทิศทางที่อันตรายมากและไม่ควรจะเกิดขึ้น โดยเน้นย้ำถึงงานวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นผลกระทบจากการควบรวมกิจการโทรคมนาคม กับเรื่องของราคาค่าบริการที่สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นภาระของผู้บริโภคในยุคที่ทุกคนใช้อินเตอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน
ดังนั้น กสทช.ต้องปลดล็อคปัญหานี้ให้ได้ ด้วยมีอำนาจลงมติจะให้เกิดการควบรวมระหว่างทรูกับดีแทคหรือไม่ รวมถึงกรณีเอไอเอสกับ 3BB ด้วย “ทั้งสองกรณีนี้หากเกิดขึ้นจะเป็นฝันร้ายของผู้บริโภคแน่นอน กสทช.ต้องแสดงความกล้าหาญทางจริยธรรมในการลงมติ “คัดค้าน” ไม่เห็นด้วยการควบรวมกิจการโทรคมนาคม หากกสทช.ลงมติไปแล้ว และหากเอกชนไม่เห็นด้วยก็ให้ไปฟ้องร้องที่ศาลปกครอง สุดท้ายกระบวนการยุติธรรมจะเป็นผู้ตัดสินเองว่า ดีลนี้จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ได้ วันนี้กสทช.ต้องทำหน้าที่ของตัวเองก่อน” เธอยืนยัน
ซึ่งสอดคล้องกับ สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ที่เห็นว่า การควบรวมทรู-ดีแทค กสทช.มีอำนาจ ทั้งตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 และตามพ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม มาตรา 27 ที่กำหนดให้ กสทช. มีอำนาจ กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ฉะนั้น ตรงนี้ถือเป็นอำนาจโดยตรงของ กสทช. รวมถึงการสั่งห้ามการควบรวมกิจการด้วย
ซึ่งสอดคล้องกับ สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ที่เห็นว่า การควบรวมทรู-ดีแทค กสทช.มีอำนาจ ทั้งตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 และตามพ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม มาตรา 27 ที่กำหนดให้ กสทช. มีอำนาจ กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ฉะนั้น ตรงนี้ถือเป็นอำนาจโดยตรงของ กสทช. รวมถึงการสั่งห้ามการควบรวมกิจการด้วย
“สภาองค์กรของผู้บริโภค อยากให้กำลังใจ กสทช.ขอให้ตัดสินใจโดยยืนเคียงข้างผู้บริโภค และเราไม่อยากเห็นรัฐบาล หรือกลไกของรัฐใดๆ เข้ามาแทรกแซงการตัดสินใจของกสทช.” เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ระบุ และแสดงความเป็นห่วงผลกระทบจากการควบรวมกิจการโทรคมนาคม ผู้บริโภคจะต้องจ่ายค่าบริการแพงขึ้น กรณี
(1) ไม่เกิดการแข่งขันในตลาด เหลือผู้ให้บริการโครงข่ายมือถือ 2 ราย ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าบริการสูงกว่าเดิมถึง 120%
(2) หากมีการแข่งขันตามปกติ ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าบริการสูงกว่าเดิม 13-23%
และ (3) หากมีการแข่งขันที่รุนแรง ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าบริการสูงกว่าเดิมประมาณ 7-10 % ถามว่า กสทช.จะจัดการอย่างไร หากให้มีการควบรวมกิจการเกิดขึ้น และเมื่อทรู-ดีแทคทำได้ เอไอเอสกับ 3BB ก็ย่อมทำได้เช่นกัน
มุมมองด้านเศรษฐศาสตร์ ผศ.ดร.พรเทพ เบญญาอภิกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะนักวิชาการที่ทำรายงานการควบรวมกิจการโทรคมนาคมให้กสทช. ห่วงถึงผลระทบภายหลังการควบรวมกิจการในธุรกิจโทรคมนาคมขนาดใหญ่ เมื่อผู้บริโภคถูกจำกัดทางเลือก หรือมีทางเลือกลดลงนั้น มีโอกาสที่ผู้ประกอบการจะเอาเปรียบผู้บริโภคได้
ขณะที่ผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการชุดเศรษฐศาสตร์ ที่บอร์ดกสทช.แต่งตั้งขึ้น ผศ.ดร.พรเทพ ระบุว่า คณะอนุกรรมการฯ ได้ทำการศึกษาผลกระทบจากการควบรวมกิจการทางด้านเศรษฐศาสตร์ โดยได้ตั้งสมมุติฐานหลายๆ แบบ เช่น ควบรวมแล้วผู้ให้บริการต้นทุนจะลดลงมากแค่ไหน และผู้ให้บริการมีโอกาสฮั้วกันมากน้อยแค่ไหน เป็นต้น ซึ่งจากการทำแบบจำลอง พบว่า การที่ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือลดลงจาก 3 ราย เหลือ 2 รายนั้น ตลาดจะเกิดการกระจุกตัวมากขึ้น และมีผลต่อราคาค่าบริการภายหลังการควบรวม โดยตัวเลขอยู่ระหว่าง 5 - 200% ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า จะมีการฮั้วกันมากน้อยแค่ไหน
ผศ.ดร. พรเทพเน้นว่า “ธุรกิจโทรคมนาคมถือเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เกี่ยวข้องกับทุกอุตสาหกรรม การศึกษาพบว่า หากมีการควบรวมกิจการ จะส่งผลให้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ลดลง 0.05% -2% หรือประมาณหมื่นกว่าล้านบาท – 3 แสนล้านบาท ขณะที่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ระหว่าง 0.05-2 % ซึ่งสมมุติฐานนี้ อยู่ภายใต้กรณี กสทช.ไม่มีการกำกับดูแลใดๆ ทั้งสิ้นภายหลังการควบรวมกิจการ ฉะนั้น กสทช.จำเป็นต้องเข้าไปกำกับดูแลภายหลังมีการควบรวมกิจการ มิเช่นนั้นจะเกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคแน่นอน”
ผศ.ดร.พรเทพ ระบุถึงผลการศึกษาการควบรวมกิจการมีตัวอย่างที่ประเทศในสหภาพยุโรปที่มีการอนุญาตให้ควบรวมกิจการโทรคมนาคมได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีผู้ให้บริการ 4 รายหลัก ลดลงเหลือ 3 ราย มีประเทศเดียวในโลก คือ ฟิลิปปินส์ที่อนุญาตให้มีการควบรวมกิจการโทรคมนาคมจาก 3 ราย เหลือ 2 ราย ส่วนบ้านเรา ก็กำลังเดินตามฟิลิปปินส์ที่ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือจะลดจาก 3 ราย เหลือ 2 ราย
“การศึกษาในยุโรปหลังการควบรวมกิจการ ทำให้ราคาค่าบริการเพิ่มขึ้น เชื่อว่า ผลกระทบสำหรับประเทศไทยน่าจะรุนแรงกว่า เนื่องจากโครงสร้างตลาดเกิดการกระจุกตัว ” ส่วนประเด็นการผูกขาด การมีอำนาจเหนือตลาด เมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) แสดงความเห็นโดยยืนยันไม่เห็นด้วยกับการควบรวมกิจการทรู-ดีแทค เหตุผล คือไม่อยากให้เกิดการผูกขาดตลาดในทุกธุรกิจ เพราะที่ผ่านมามีกรณีเทสโก้โลตัส กับเครือซีพี สังคมไทยก็ผิดหวังกับคณะกรรมการแข่งขันทางการค้ามาแล้ว
“การมีผู้ประกอบการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ ยิ่งหลายเจ้ายิ่งจะเป็นผลดีกับผู้บริโภค ด้วยจะเกิดการแข่งขัน ทั้งเรื่องราคา และการพัฒนาโครงข่าย ดังนั้นการควบรวมทรู-ดีแทคจะเป็นปฐมบทให้เห็นภาพว่าเราจะมีตลาดในอนาคตแค่ 2 ราย ซึ่งไม่ถือเป็นการแข่งขัน ผลกระทบจะตกอยู่กับผู้บริโภคแน่นอน”
“การมีผู้ประกอบการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ ยิ่งหลายเจ้ายิ่งจะเป็นผลดีกับผู้บริโภค ด้วยจะเกิดการแข่งขัน ทั้งเรื่องราคา และการพัฒนาโครงข่าย ดังนั้นการควบรวมทรู-ดีแทคจะเป็นปฐมบทให้เห็นภาพว่าเราจะมีตลาดในอนาคตแค่ 2 ราย ซึ่งไม่ถือเป็นการแข่งขัน ผลกระทบจะตกอยู่กับผู้บริโภคแน่นอน”
เมธา ระบุ ก่อนจะชี้ให้เห็น คลื่นความถี่ เป็นสมบัติสาธารณะที่ไม่ควรถูกเอกชนเอาไปซื้อขาย หรือครอบครอง แต่ควรเป็นของรัฐ โดยให้รัฐจัดเป็นบริการสาธารณะให้ประชาชนเข้าถึงได้ การที่ประชาชนไทยเข้าถึงอินเตอร์เน็ตทำให้คนได้รับโอกาสทางการศึกษามากขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ห่างไกล เหมือนในยุโรปหลายประเทศมี Wi Fi ในพื้นที่สาธารณะ และแทบจะทุกแห่ง แต่ไทยไม่มี ประเทศเราเดินผิดทางปล่อยให้เอกชนเข้าหากำไรกับเรื่องเหล่านี้
ในความเห็นของฝ่ายการเมือง วรภพ วิริยะโรจน์ พรรคก้าวไกล ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการคณะกรรมการควบรวมกิจการโทรคมนาคมระหว่างทรูกับดีแทค กล่าวว่า พรรคก้าวไกลไม่เห็นด้วยกับการอนุญาตการควบรวมกิจการครั้งนี้ เพราะชัดเจนมีข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์ที่พบว่า เมื่อเกิดการควบรวมกิจการจะทำให้ค่าดัชนีวัดระดับความมีประสิทธิภาพของการแข่งขัน หรือ ดัชนี HHI เพิ่มสูงขึ้น จาก 3,000 เป็น 5,000 นำไปสู่การผูกขาด เพราะมีการแข่งในตลาดน้อยราย ขณะที่ผลการศึกษาการควบรวมกิจการโทรคมนาคม ในต่างประเทศ ก็พบ มีแนวโน้มทำให้ค่าบริการเพิ่มสูงขึ้น
ขณะที่ประสิทธิภาพการบริการก็ลดลงตามมา เพราะไม่มีแรงจูงใจให้เกิดการแข่งขัน
เมื่อถามถึงการควบรวมกับการลดต้นทุนของผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือนั้น วรภพ ชี้ว่า ต้นทุนที่ประหยัดได้จากการควบรวมกิจการ แค่ 4 บาทต่อหมายเลขต่อเดือน แต่ความเสี่ยง คือ อาจเกิดการฮั้วกัน ขณะเดียวกันการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมน้อยลง ที่สำคัญค่าบริการจะสูงขึ้น 10 - 20 บาทต่อหมายเลข ฉะนั้นผลเสียมีมากกว่าผลดี ถือว่า ไม่คุ้มกัน กสทช.จึงไม่ควรอนุมัติให้เกิดการควบรวมกิจการเกิดขึ้น
เมื่อถามถึงการควบรวมกับการลดต้นทุนของผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือนั้น วรภพ ชี้ว่า ต้นทุนที่ประหยัดได้จากการควบรวมกิจการ แค่ 4 บาทต่อหมายเลขต่อเดือน แต่ความเสี่ยง คือ อาจเกิดการฮั้วกัน ขณะเดียวกันการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมน้อยลง ที่สำคัญค่าบริการจะสูงขึ้น 10 - 20 บาทต่อหมายเลข ฉะนั้นผลเสียมีมากกว่าผลดี ถือว่า ไม่คุ้มกัน กสทช.จึงไม่ควรอนุมัติให้เกิดการควบรวมกิจการเกิดขึ้น
ปิดท้าย ฉัตร คำแสง ผู้อำนวยการ 101 PUB มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันถึงการควบรวมกิจการโทรคมนาคมขนาดใหญ่ ทรู-ดีแทค ว่า เป็นอันตรายกับผู้บริโภค ไม่เฉพาะลูกค้าของผู้ให้บริการทั้ง 2 รายเท่านั้น แต่ด้วยการแข่งขันทางการค้าที่หายไป แปลว่า ทุกคนในประเทศนี้ได้รับผลกระทบด้วยเช่นเดียวกัน
ผู้อำนวยการ 101 PUB ยังได้ลองทำแบบจำลองทางสถิติขึ้นมาเพื่อดูว่า หากมีการควบรวมกิจการ สุดท้ายแล้วผู้บริโภคไทยต้องเจอกับอะไรบ้าง โดยเฉพาะเรื่องของราคาค่าบริการ โดยพบว่า หากมีการควบรวมกิจการแล้ว ตลาดยังมีการแข่งขันที่รุนแรง ราคาค่าบริการเพิ่มขึ้น 10% แต่หากมีการแข่งขันตามปกติ ซึ่ง 2 รายมีส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณ 50% ทั้งคู่ ราคาค่าบริการเพิ่มขึ้น20% สุดท้ายหากตลาดไม่มีการแข่งขันกันเลย เกิดการฮั้วกันเกิดขึ้น จะทำให้ค่าบริการเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
“คำว่า ราคาขึ้น สามารถออกมาได้ในหลายรูปแบบ ซึ่ง ราคาขึ้น ไม่ได้แปลว่า ต้องขึ้นราคาค่าบริการอย่างเดียว ราคาที่ผู้บริโภคต้องจ่ายนั้น ผู้ให้บริการอาจมีหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นราคาโดยเฉลี่ย หรืออาจไปขึ้นราคาสำหรับกลุ่มคนที่ใช้งานเยอะ อาจออกมาในรูปแบบกำหนดขั้นต่ำในการเติมเงิน เช่น ปัจจุบันเติมเงิน 20 บาทก็ใช้งานได้ อนาคตอาจต้องเติมเงินมากกว่านั้น เป็นต้น ทั้งนี้ ยังรวมไปถึงคุณภาพ การให้บริการ การพัฒนาโครงข่าย คุณภาพของสัญญาณ อาจจะแย่ลงได้” ผู้อำนวยการ 101 PUB ให้ภาพอนาคต พร้อมตั้งคำถาม กสทช. และผู้บริโภคจะเท่าทันกลยุทธ์ของผู้ให้บริการหรือไม่
ฉัตร คำแสง ยังได้ยกตัวอย่างสหภาพยุโรป กรณีอนุญาตให้มีการควบรวมกิจการโทรคมนาคมนั้นจะแตกต่างจากของไทย เพราะมีผู้แข่งขันในตลาดมากกว่า เช่น ที่ออสเตรีย เกิดการควบรวมกิจการโทรคมนาคม
ฉัตร คำแสง ยังได้ยกตัวอย่างสหภาพยุโรป กรณีอนุญาตให้มีการควบรวมกิจการโทรคมนาคมนั้นจะแตกต่างจากของไทย เพราะมีผู้แข่งขันในตลาดมากกว่า เช่น ที่ออสเตรีย เกิดการควบรวมกิจการโทรคมนาคม
จาก 4 ราย เหลือ 3 ราย โดยเป็นการควบรวมแบบมีเงื่อนไข คือ ให้มีการควบรวมโดยต้องขายคลื่น และเสาสัญญาณบางส่วนออกไปให้กับผู้ให้บริการรายเล็ก ซึ่งในระยะแรกๆ ราคาค่าบริการที่ออสเตรียเพิ่มขึ้น เวลาผ่านไปค่าบริการก็ค่อยๆลดลง เมื่อคู่แข่งรายเล็กสามารถก้าวขึ้นมาแข่งขันในตลาดได้
แตกต่างจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่เกิดการควบรวมกิจการ โดยไม่มีเงื่อนไข ปรากฎว่า ราคาค่าบริการพุ่งขึ้นถึง 20% และผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือคนที่ใช้โทรศัพท์เยอะๆ
แตกต่างจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่เกิดการควบรวมกิจการ โดยไม่มีเงื่อนไข ปรากฎว่า ราคาค่าบริการพุ่งขึ้นถึง 20% และผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือคนที่ใช้โทรศัพท์เยอะๆ
ผู้อำนวยการ 101 PUB ระบุชัดว่า ที่ยกตัวอย่างยุโรปเพื่อให้เห็น การควบรวมกิจการธุรกิจโทรคมนาคมขนาดใหญ่นั้น เป็นอะไรที่น่ากลัว หากดีลควบรวมทรู-ดีแทค เกิดขึ้นจริง เชื่อว่า ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือย่อมคิดนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาหารายได้ เพื่อให้มีกำไรส่วนเพิ่ม นี่คือเหตุผลที่จะทำให้ค่าบริการสูงขึ้น