“เซ็นทรัล ทำ” ต่อยอด “ต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ด้านนวัตกรรมการทำเกษตรอินทรีย์” เพื่อความยั่งยืน

“เซ็นทรัล ทำ” ต่อยอด “ต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ด้านนวัตกรรมการทำเกษตรอินทรีย์” เพื่อความยั่งยืน

19 ธ.ค. 2022
อย่างที่หลายคนทราบกันว่า “กลุ่มเซ็นทรัล” เป็นผู้ที่ดำเนินธุรกิจค้าปลีก ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคมมาโดยตลอด
ทั้งยังเป็นผู้นำด้านการยกระดับแนวคิด “CSR” จากแค่การทำธุรกิจโดยมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ไปสู่การทำ “CSV” (Creating Shared Value) หรือการสร้าง “คุณค่าเชิงคุณภาพ” ระหว่างธุรกิจ สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ให้เติบโตไปพร้อมกัน
ซึ่งโครงการ “เซ็นทรัล ทำ” ก็เป็นอีกหนึ่งโครงการด้านความยั่งยืนของกลุ่มเซ็นทรัล ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากแนวทางนี้
และประสบความสำเร็จอย่างมาก ในการสร้างคุณค่าพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง
อย่างในปี 2564 ที่ผ่านมา โครงการ “เซ็นทรัลทำ” ก็มีส่วนช่วยให้
- คุณภาพชีวิตของคนกว่า 500,000 คนดีขึ้น
- สร้างรายได้ให้ชุมชนแล้ว ไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท
- พัฒนาชุมชนใน 44 จังหวัดให้ดีขึ้น
- เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศไทยไปแล้วกว่า 2,000 ไร่
แน่นอนว่า กลุ่มเซ็นทรัลก็ยังไม่หยุดที่จะต่อยอดสิ่งดี ๆ แบบนี้ต่อไปอีก
โดยล่าสุดก็ได้มีการร่วมมือกับพระเมธีวชิโรดม (ท่าน ว.วชิรเมธี) ผู้ก่อตั้งศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน จังหวัดเชียงรายในการต่อยอด “โครงการพุทธนิเวศเกษตรอินทรีย์ไร่เชิญตะวัน”
เพื่อร่วมมือกันสร้างศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ การทำเกษตรอินทรีย์บนพื้นที่ 2 ไร่ มาเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกร, ชาวนา และคนทั่วไป ให้สามารถเข้ามาเยี่ยมชมได้
โดยไฮไลต์สำคัญ ภายในโครงการพุทธนิเวศเกษตรอินทรีย์ไร่เชิญตะวัน จะประกอบไปด้วย
- บ่อพักน้ำเพื่อการเกษตร ที่จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ด้วยการใช้ ทฤษฎีโคก หนอง นา
มาปรับใช้สร้างธนาคารน้ำใต้ดิน เพื่อให้เป็นแหล่งน้ำถาวร และมีการทำระบบเก็บน้ำด้วยการขุดบ่อพักน้ำ, ขุดคลองไส้ไก่ เพื่อเชื่อมการระบายน้ำในโครงการ
- นำพลังงานจากโซลาร์เซลล์มาช่วยในระบบรดน้ำอัตโนมัติ, Smart Farm และใช้หมุนเวียนน้ำภายในโครงการ
- ปรับปรุงพื้นที่โดยรอบของโครงการให้ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น เช่น การนำทฤษฎี “ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” มาใช้
และปรับปรุงแปลงผักสวนครัว เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว และตระกูลผักสลัด
โดยผลผลิตที่ดี จะนำเข้าจำหน่ายที่ตลาดจริงใจของกลุ่มเซ็นทรัลต่อไป
- ทำแปลงปลูกข้าวสำหรับสายพันธุ์ “หอมมะลินิลสุรินทร์” ซึ่งเป็นข้าวที่ปลูกง่าย ใช้น้ำน้อย
แถมมีโภชนาการสูง โดยผลผลิตที่ได้จะนำมาเป็นอาหารสำหรับพระสงฆ์ และผู้มาร่วมปฏิบัติธรรม
- โครงการ “เลี้ยงไก่ไข่ปลอดภัยระดับชุมชน” โดยจะนำไข่ที่ได้มาเป็นอาหารสำหรับพระสงฆ์ และผู้มาร่วมปฏิบัติธรรม โดยในส่วนที่เหลือจะนำมาจำหน่ายผ่านช่องทางตลาดจริงใจของกลุ่มเซ็นทรัล
- ปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบ ปลูกไม้ดอก,ไม้ประดับเพิ่มความสวยงาม
เพื่อดึงดูดให้คนมาเยี่ยมชม และศึกษาหาความรู้กันมากขึ้น
โดยทางด้านพระเมธีวชิโรดม (ท่าน ว.วชิรเมธี) ก็ได้กล่าวว่า โครงการพุทธนิเวศเกษตรอินทรีย์ไร่เชิญตะวันครั้งนี้ มีจุดประสงค์ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ ในการสร้างอาชีพภายใต้ภูมิปัญญาใหม่
เพื่อให้คน, ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สามารถอยู่ร่วมกันได้ ดั่งกัลยาณมิตรด้วยจิตที่เป็นกุศล ตื่นรู้ต่อปัญหาของสิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่
1. ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2. ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม
3. ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงหมุนเวียนระดับพื้นบ้าน
4. ด้านการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์
ซึ่งถ้าหากโครงการนี้ดำเนินการเสร็จสิ้น ก็จะกลายเป็นกรณีศึกษาสำหรับการนำไป ใช้ฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้อยู่คู่กับมนุษย์เราได้อย่างยั่งยืนนั่นเอง..
ส่วนทางด้านของคุณพิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล ก็ได้กล่าวว่า
เป้าหมายของโครงการพุทธนิเวศเกษตรอินทรีย์ไร่เชิญตะวัน ที่ต้องการสร้างต้นแบบศูนย์เรียนรู้ด้านนวัตกรรมการทำเกษตรอินทรีย์นั้น สอดคล้องกับแนวทางของ “เซ็นทรัล ทำ” อยู่แล้ว
จึงได้เริ่มต้นศึกษาถึงปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
และพบว่า ปัญหาใหญ่ของพื้นที่แห่งนี้คือ “สภาพผืนดินที่เป็นทราย” และ “มีก้อนหินขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน” ทำให้ไม่สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้
ซึ่งหลังจากการร่วมกันแก้ปัญหาของทุกฝ่าย ตั้งแต่ปี 2563 ก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้สำเร็จ
โดยปัจจุบันแหล่งน้ำในโครงการ สามารถกักเก็บน้ำได้มากถึง 12,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพียงพอแล้วต่อการทำเกษตร
และทำให้ต่อยอดเป็นต้นแบบศูนย์เรียนรู้ ด้านนวัตกรรมการทำเกษตรอินทรีย์ได้ในที่สุด.
สุดท้ายนี้ กลุ่มเซ็นทรัล และศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ยังมีแผนที่จะดำเนิน โครงการร่วมกันอย่างต่อเนื่องไปอีก ไม่ว่าจะเป็น
การบริหารจัดการขยะ ซึ่งโครงการเหล่านี้จะสามารถช่วยพัฒนาสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคม
มุ่งให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างชุมชน และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน นั่นเอง..
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.