Nikkei Asia รายงาน เกษตรกรไทย นิยมหันไปปลูกข้าวสายพันธุ์ “เวียดนาม” ที่ต้นทุนถูกกว่า แต่คุณภาพใกล้เคียงข้าวไทย
3 ม.ค. 2023
ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ไทย นับว่าเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก..
แต่ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ไทย ต้องเสียแชมป์การส่งออกข้าว ให้กับอินเดีย ที่มีปริมาณการส่งออกข้าวปีละกว่า 22 ล้านตัน
และยังมีคู่แข่งในภูมิภาคอย่าง “เวียดนาม” เริ่มตีตลาดส่งออกข้าวของไทย มากขึ้นเรื่อย ๆ
ล่าสุด สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานว่า ในขณะนี้ ข้าวสายพันธ์ุ “เวียดนาม” เริ่มได้รับความนิยม ในหมู่เกษตรไทยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเกษตรกรในพื้นที่ภาคกลาง
- ทำไมเกษตรกรไทย หันไปปลูกข้าวเวียดนาม ?
สาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกษตรไทย หันไปปลูกข้าวสายพันธ์ุเวียดนาม ทดแทนข้าวไทย เป็นเพราะต้นทุนของเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ตำ่กว่า แถมยังเก็บเกี่ยวได้ง่าย แต่มีเนื้อข้าวที่นุ่ม เหมือนข้าวไทย ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด
คุณเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ได้ให้ข้อมูลกับ Nikkei Asia ว่า
ในขณะนี้ พื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย มีการปลูกข้าวสายพันธ์ุเวียดนาม ในพื้นที่มากกว่า 1 ล้านไร่ และข้าวสายพันธ์ุเวียดนาม ที่ปลูกอยู่ในประเทศไทย ก็ไม่สามารถแยกแยะออกจากข้าวสายพันธ์ุของไทยได้แบบง่าย ๆ
ในขณะนี้ พื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย มีการปลูกข้าวสายพันธ์ุเวียดนาม ในพื้นที่มากกว่า 1 ล้านไร่ และข้าวสายพันธ์ุเวียดนาม ที่ปลูกอยู่ในประเทศไทย ก็ไม่สามารถแยกแยะออกจากข้าวสายพันธ์ุของไทยได้แบบง่าย ๆ
การที่เกษตรกรไทย หันไปปลูกข้าวสายพันธ์ุเวียดนามกันมากขึ้น ทำให้เกิดความกังวลว่า ไทยจะรักษาจุดยืน ในการส่งออกข้าวสายพันธ์ุไทย ที่ชูจุดเด่นด้านคุณภาพในระดับ “พรีเมียม” มานานหลายปี ได้อย่างไร..
และหากไม่มีมาตรการใด ๆ เพื่อป้องกัน ก็อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวของไทยได้
ซึ่งแม้ว่าไทย จะมีกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช แต่ก็ยากที่จะจัดการกับการปลูกข้าวสายพันธ์ุเวียดนาม ที่ลักลอบปลูกกันอย่างผิดกฎหมาย เพราะทางเดียวที่จะแยกข้าวสายพันธ์ุเวียดนามที่นำปลูกในไทยได้ คือการตรวจ DNA ของข้าวเท่านั้น
ด้านเกษตรกรไทย ที่ปลูกข้าวสายพันธ์ุเวียดนาม ให้ข้อมูลกับ Nikkei Asia ว่า ข้าวสายพันธุ์เวียดนาม มีความสามารถในการทนทานต่อศัตรูพืชมากกว่า อีกทั้งในด้านคุณภาพ ยังคงมีความนุ่ม ซึ่งตรงกับความต้องการในตลาด
สำหรับข้าวสายพันธุ์เวียดนาม ที่นำมาปลูกในประเทศไทยนั้น มีชื่อสายพันธุ์ว่า “Jasmine 85” ซึ่งมีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวใน 90 วัน หลังทำการเพาะปลูก ทำให้เกษตรกร โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง ที่มีระบบชลประทานที่ดี สามารถปลูกข้าวชนิดนี้ได้หลายครั้งต่อปี
ในขณะที่ข้าวสายพันธ์ของไทยนั้น Nikkei Asia รายงานว่า ปลูกได้ยากกว่า และมีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวนานกว่า ที่ 120 วัน หลังการเพาะปลูก และสามารถปลูกได้ในพื้นที่ภาคอีสานเท่านั้น
ทำให้เกษตรกรไทย มองข้าวสายพันธ์ุเวียดนาม เป็นทางเลือกที่ดีกว่า ทั้งในด้านของการเพาะปลูก รวมถึงต้นทุนที่ถูกกว่า ให้ผลกำไรจากการปลูกข้าวที่ดีกว่า
นอกจากนี้ Nikkei Asia ได้รายงานเพิ่มเติม เกี่ยวกับสถานการณ์การส่งออกข้าวของไทยด้วยว่า ในขณะนี้ ไทย สูญเสียแชมป์ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลก ให้กับอินเดีย ตั้งแต่ปี 2011
และยังมีเวียดนาม ที่ตีคู่กับไทย ในการเป็นผู้ส่งออกข้าวในอันดับที่ 2 รองจากอินเดีย
ซึ่งที่ผ่านมา ทั้งไทย และเวียดนาม มีปริมาณการส่งออกข้าวใกล้เคียงกัน ที่ราว 7 - 7.5 ล้านตัน ต่อปี
ซึ่งที่ผ่านมา ทั้งไทย และเวียดนาม มีปริมาณการส่งออกข้าวใกล้เคียงกัน ที่ราว 7 - 7.5 ล้านตัน ต่อปี
ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ไทย ส่งออกข้าวได้น้อยลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ก็เป็นเพราะไทย ไม่สามารถพัฒนาพันธุ์ข้าว ให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดที่หลากหลายได้
และยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่เร่งให้เกษตรกรไทย หันไปปลูกข้าวสายพันธ์ุเวียดนามอีกด้วย
และยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่เร่งให้เกษตรกรไทย หันไปปลูกข้าวสายพันธ์ุเวียดนามอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ในปัจจุบัน มีการพัฒนาข้าวสายพันธ์ุใหม่ ๆ ออกมามากถึง 171 สายพันธุ์ เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายในตลาด
แต่ปัญหาที่แท้จริง อาจไม่ใช่การไม่พัฒนาข้าวสายพันธ์ุใหม่ ๆ เพียงอย่างเดียว เพราะที่ผ่านมา เคยมีการศึกษาของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า อุตสาหกรรมข้าวไทย ขาดการทำงานร่วมกันในการกระจายข้าวสายพันธ์ุใหม่ ๆ ที่มีผลผลิตในการเพาะปลูกที่ดีกว่าให้กับเกษตรกร ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรไทย สามารถแข่งขันในด้านต้นทุนได้ดีขึ้น
อย่างในปัจจุบัน เกษตรกรไทยที่ปลูกข้าว สามารถสร้างผลผลิตได้ราว 300 - 400 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่
ในขณะที่เวียดนาม และอินเดีย สามารถสร้างผลผลิตได้ราว 800 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ซึ่งมากกว่าไทยนับเท่าตัว..
ในขณะที่เวียดนาม และอินเดีย สามารถสร้างผลผลิตได้ราว 800 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ซึ่งมากกว่าไทยนับเท่าตัว..