กฟผ. กับโมเดลธุรกิจ EV Charging Floor ทางเลือกการลงทุนใหม่ ๆ ในธุรกิจเมกะเทรนด์

กฟผ. กับโมเดลธุรกิจ EV Charging Floor ทางเลือกการลงทุนใหม่ ๆ ในธุรกิจเมกะเทรนด์

19 ก.ค. 2023
เวลานี้หากเราไปศูนย์การค้า, อาคารสำนักงาน หรือคอนโดมิเนียม สิ่งหนึ่งที่สังเกตเห็นได้ถึงความเปลี่ยนแปลงก็คือ ลานจอดรถ 
เมื่อมีการแบ่งโซนพื้นที่จอดรถไฟฟ้า พร้อมกับมีแท่นชาร์จวางอยู่ใกล้ ๆ เพื่อให้รถเติมพลังงานไฟฟ้า จากนั้นผู้ขับก็ไปชอปปิง หรือทำธุระส่วนตัว พอกลับมาถึงตัวรถก็สามารถขับออกไป ด้วยพลังงานไฟฟ้าที่เต็มแบตเตอรี่
สิ่งนี้ถูกเรียกว่า EV Charging Floor
ปรากฏการณ์นี้ สะท้อนความจริงว่ารถไฟฟ้า 100% กำลังค่อย ๆ แจ้งเกิดบนถนนเมืองไทย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากหลาย ๆ ปัจจัย 
ทั้งราคาขายที่เข้าถึงง่ายขึ้น ผู้บริโภคมีความรู้เรื่องรถไฟฟ้ามากขึ้น จนถึงคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ตั้งเป้าให้ค่ายผู้ผลิตรถ ผลิตรถไฟฟ้าในสัดส่วน 30% ของกำลังการผลิตทั้งหมด 
ภายในปี 2030
พลังงานไฟฟ้า จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย หากอยากให้ถนนเมืองไทยเต็มไปด้วยรถพลังงานสะอาดที่ไร้ควันพิษ
ซึ่งที่ผ่านมา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. มีการเปิดตัวธุรกิจใหม่ ๆ ที่มารองรับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EleX by EGAT ที่ตั้งเป้าหมายจะมีถึง 150 สถานี ภายในสิ้นปี 2023, ธุรกิจแบตเตอรี่, แพลตฟอร์มบริหารจัดการสถานีชาร์จ BackEN, ระบบบริหารจัดการพลังงาน ENZY รวมถึง EV Charging Floor ​
โดยโปรเจกต์นี้เห็นได้ชัดเจนว่า กฟผ. พยายามผลักดันให้เกิดขึ้นจริงในอนาคต 
เมื่อวันเปิดตัว EV Charging Floor ได้เนรมิตลานจอดรถในสำนักงานใหญ่ กฟผ. ให้เป็น EV Charging Floor ที่มาพร้อมหัวชาร์จ 66 หัว ที่เป็นหัวชาร์จความเร็วปกติ AC Normal Charge ขนาด 7.4 kW โดยจัดวางเป็นช่องจอดรถรวม 110 ช่อง
ที่น่าสนใจคือ ทาง กฟผ. ได้ชวนค่ายรถยนต์ชั้นนำ 11 ค่าย นำรถมาทดสอบระบบการชาร์จของตัวเอง อาทิ Audi, BMW, BYD, GWM, Lexus, Mercedes-Benz, MG, Mitsubishi, NETA, Nissan และ Toyota ซึ่งรถทุกคันก็สามารถชาร์จไฟได้ปกติ 
ตรงนี้เองที่เป็นเสมือนการสร้างความมั่นใจในเรื่องหัวชาร์จของ กฟผ. ที่รองรับการชาร์จรถ EV ได้ทุกค่ายรถ 
ส่วนวิธีการใช้งาน EV Charging Floor ก็แสนง่าย 
แค่หยิบที่ชาร์จและเสียบเข้ากับช่องชาร์จไฟของตัวรถ จากนั้นก็สแกน QR Code ผ่านแอปพลิเคชัน EleXA เพื่อจ่ายเงิน 
งานนี้ ถ้าถามว่าเป้าหมายหลักของการสร้าง EV Charging Floor ในลานจอดรถของ กฟผ. คืออะไร ?
หนึ่งในเป้าหมายหลัก ก็เพื่อกระตุ้นให้พนักงานในองค์กร กฟผ. เปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้าให้มากขึ้น พร้อมกับให้ กฟผ. เป็นต้นแบบให้บริษัทอื่น ๆ นำ​ไอเดียมาปรับใช้ 
แต่อีกหนึ่งเป้าหมายที่สำคัญไม่แพ้กัน ก็คือ กฟผ. ต้องการให้โมเดล EV Charging Floor ได้รับความนิยม และเพิ่มจำนวนการใช้งานให้มากขึ้นเรื่อย ๆ ตามแนวโน้มการเติบโตของรถไฟฟ้า
โดย กฟผ. เปิดโอกาสให้นักลงทุนและผู้ประกอบการที่สนใจโมเดล EV Charging Floor และสถานีชาร์จรถ EV เพราะนอกจากจะใช้เงินลงทุนไม่สูง หากเทียบกับการลงทุนสถานีบริการน้ำมันแล้วนั้น
ธุรกิจนี้ยังถือเป็น เมกะเทรนด์ ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก
อีกทั้งยังไม่ต้องมีพนักงานประจำเฝ้าดูแล ช่วยประหยัดต้นทุนทางธุรกิจ
หากหน่วยงานและผู้ประกอบการ ที่สนใจธุรกิจที่เป็น เมกะเทรนด์ และยังเป็นธุรกิจที่ช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมมีสุขภาพดีขึ้น 
สามารถสอบถามข้อมูลระบบบริหารจัดการสถานีอัดประจุไฟฟ้า ‘BackEN EV’ ของ กฟผ. ได้ที่ LINE Official: @backenev หรือ โทร 095-356-9446
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.