เครือ รพ. พญาไท - เปาโล เปิดเวทีเสวนา “สร้างองค์กรรุ่นใหม่ ใส่ใจคนและความสำเร็จ” ชูโมเดลใหม่การดูแลสุขภาพองค์กร สู่ความยั่งยืน ร่วมกับ 3 องค์กรชั้นนำของไทย

เครือ รพ. พญาไท - เปาโล เปิดเวทีเสวนา “สร้างองค์กรรุ่นใหม่ ใส่ใจคนและความสำเร็จ” ชูโมเดลใหม่การดูแลสุขภาพองค์กร สู่ความยั่งยืน ร่วมกับ 3 องค์กรชั้นนำของไทย

2 ต.ค. 2023
สำหรับยุคนี้ ‘ที่ทำงาน’ ยังคงเป็นสถานที่สำคัญ เปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองก็ว่าได้ อีกทั้งในยุคสมัยที่เปลี่ยนไปคนรุ่นใหม่เริ่มเข้ามามีบทบาทในโลกการทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสิ่งที่คนรุ่นใหม่ตามหาจากงานในสมัยนี้ นอกเหนือไปจากเรื่องของความมั่นคงและค่าตอบแทนแล้ว การเล็งเห็นโอกาสในการเติบโตก็เป็นสิ่งสำคัญที่พวกเขากำลังมองหาไปพร้อมๆ กัน หลายๆ องค์กรจึงต้องเริ่มปรับตัวเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยใหม่นั่นเอง 
เครือโรงพยาบาลพญาไท - เปาโล ร่วมพูดคุยกับ 3 องค์กรแนวหน้าระดับประเทศ ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด มหาชน (SCB) บริษัท สตรีม ไอ.ที.คอนซัลติ้ง จำกัด และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด แชร์ประสบการณ์การสร้างองค์กรรุ่นใหม่ ทำไมจึงต้องใส่ใจ ‘คน’ อะไรคือกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน ถือเป็นครั้งแรกที่มีการเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึก แนวคิดด้านการสร้างคน ภายใต้หัวข้อ ‘สร้างองค์กรรุ่นใหม่ ใส่ใจคนและความสำเร็จ สู่ความยั่งยืน’
ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ ผู้อำนวยการสายบริหารการสื่อสาร และพัฒนาสุขภาพสัมพันธ์องค์กร เครือ รพ. พญาไท – เปาโล ระบุว่า “ปัจจุบัน เครือ รพ. พญาไท - เปาโล ให้บริการดูแลสุขภาพแบบครบวงจรกับองค์กรชั้นนำทั่วประเทศถึง 5,653 บริษัท โดยเปิดบริการแบบคลินิกดูแลบุคลากรประจำสาขาจำนวนกว่า 50 บริษัท และเราได้พัฒนาระบบ Digital Healthcare ซึ่งเป็นหนึ่งใน Megatrends ที่มีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจโรงพยาบาล
โดยคิดบนหลักการที่ว่า ทำอย่างไรให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงบริการของเราและเราเองก็เข้าถึงเขาได้ด้วย และนี่คือที่มาของเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มต่างๆ ของการดูแลสุขภาพในรูปแบบระบบนิเวศสุขภาพดิจิทัล (Digital Health Ecosystem) ที่เป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์และสังคมวงกว้าง เช่น การนำแอปพลิเคชัน Health Up เข้ามาใช้เต็มรูปแบบ ซึ่งตอนนี้มีผู้รับบริการกว่า 4 แสนคนที่ใช้แอปฯ นี้ สามารถเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์ได้ง่าย อ่านคอนเทนท์ ดูผลตรวจสุขภาพ นัดคิวแพทย์ การชำระค่ารักษาพยาบาลออนไลน์ด้วยตัวเอง เพื่อลดระยะเวลารอคอยและเพิ่มประสบการณ์ที่สะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น”
พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบันที่เร่งรีบ ความเครียดสะสม การรับประทานอาหารสำเร็จรูป 
ไม่ชอบออกกำลังกาย เหล่านี้ส่งผลให้เกิดไม่ติดต่อโรคเรื้อรัง (NCD) ต่างๆ ตามมา การวางแผนปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิต (Lifestyle Medicine) ที่มีการออกแบบการดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคล (Personalized Care) เพื่อให้มีสุขภาพดีและมีความสุข จึงกำลังเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรง “ที่ผ่านมาเราได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Oregon Health and Science (OHSU) ประเทศสหรัฐอเมริกา ในพัฒนาการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน (Preventive Healthcare) ภายใต้โครงการ Let’s Get Healthy
โดยสร้าง New Model เพื่อนำมาประเมินสภาวะสุขภาพของผู้รับบริการแบบองค์รวม สามารถวิเคราะห์สภาวะสุขภาพและประเมินความเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้นำมาใช้วางแผนการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันของพนักงานองค์กรต่างๆ ซึ่งนอกจากเป็นการส่งเสริมสุขภาพของพนักงานให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นการลดต้นทุนการเจ็บป่วยในภาพรวมอีกด้วย” นพ.ยงยุทธ กล่าวเพิ่มเติม
ร.อ.นพ.ยงยุทธ กล่าวต่อว่า “เรามุ่งเน้นเรื่องการส่งเสริมด้าน Health Intervention การเข้าไปมีส่วนช่วยแนะนำการดูแลสุขภาพให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยในอนาคต แอพลิเคชัน Health Up จะมีการพัฒนาไปสู่ Health Up 3.0 ที่มีผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางและมีความเฉพาะเจาะจงรายบุคคลมากยิ่งขึ้น เช่น สามารถลิงค์ข้อมูลผ่านนาฬิกาอัจฉริยะได้ เพื่อนำมาปรับ Lifestyle ให้เอื้อประโยชน์ด้านสุขภาพยิ่งขึ้น สำหรับ Telecare จะก้าวไปสู่เทคโนโลยีระยะทางไกลเพื่อดูแลสุขภาพ เก็บข้อมูลของผู้ป่วยแบบ Real Time รวมไปถึงการรวบรวมข้อมูลผลข้างเคียงของยา
และในเรื่องของ ‘Digital Innovation’ จะมีการขยายบริการด้าน Telecare เป็น ‘Telemedicine 24/7’ การแพทย์ออนไลน์ที่ผู้รับบริการสามารถปรึกษาปัญหาสุขภาพกับแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่าน VDO Call และยังช่วยลดเวลาในการบันทึกข้อมูลผู้รับบริการในระบบคอมพิวเตอร์ได้มาก มีบริการจัดส่งยาไปที่บ้าน และมี Home Care เพื่อให้แพทย์ พยาบาลไปเยี่ยมผู้ป่วยถึงบ้าน ซึ่งสะดวกมากๆ นอกจากนี้เรายังมีพันธมิตรที่เข้มแข็งอย่างบริษัท N Health เข้ามาช่วยในเรื่องการให้บริการเจาะเลือดนอกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงานหรือบ้าน รวมถึงการขยายบริการส่งยาในองค์กรที่มีสาขาทั่วประเทศ ซึ่งเราทำความร่วมมือกับบริษัท Save Drug ที่มีร้านยาและเภสัชกรครอบคลุมพื้นที่ในหลายๆ จังหวัด”
ความสำเร็จขององค์กรเริ่มต้นจากสุขภาพดี เพราะการที่เรามีสุขภาพกายและจิตใจที่แข็งแรงย่อมทำ
ให้เราทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งนำมาซึ่งการบริหารต้นทุนในการดูแลสุขภาพของบุคลากรได้เป็นอย่างดี คุณสุภาพร บัญชาจารุรัตน์ ผู้อำนวยการสายทรัพยากรบุคคล เครือ รพ.พญาไท-เปาโล แชร์ให้ฟังว่า “การดูแลใส่ใจสุขภาพของพนักงานเป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญอันดับแรก และไม่ใช่แค่ดูแลเฉพาะพนักงานในเครือ รพ. พญาไท- เปาโล เท่านั้น แต่เราได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการดูแลบุคลากรขององค์กรต่างๆ ทั่วประเทศด้วย
โดยได้นำ Healthy Together Model เป็นนวัตกรรมการดูแลสุขภาพวิถีใหม่ ที่ออกแบบโดยเครือ รพ. พญาไท – เปาโล ภายใต้โครงการ Let’s Get Healthy ที่อยู่เป็นความร่วมมือระหว่างเครือ BDMS และ OHSU ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากดำริของคุณอัฐ ทองแตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครือโรงพยาบาลพญาไท – เปาโล ที่อยากเห็นพนักงานของเรามีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน และต้องการยกระดับการดูแลสุขภาพวิถีใหม่นี้ไปยังองค์กรพันธมิตรด้วย”
สำหรับปัญหาสุขภาพของกลุ่มคนในวัยทำงาน นพ.วิริทธิ์พล เกษมสุข แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน อาชีวเวชศาสตร์ เครือ รพ. พญาไท - เปาโล ให้ข้อมูลว่า “ส่วนใหญ่คนวัยทำงานชอบคิดว่าร่างกายยังแข็งแรงอยู่ อาจไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพมากเท่าที่ควร แต่การใช้ชีวิตในยุคนี้ที่เร่งรีบตลอดเวลา ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อโรคต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะชาวออฟฟิศที่นั่งหน้าคอมนานๆ ส่วนใหญ่มักเป็น ‘ออฟฟิศซินโดรม’ กันมาก”
ยังมีโรคอีกมากมายที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต อาทิ โรคเครียดลงกระเพาะ โรคซึมเศร้า โรคกรดไหลย้อน โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง หากเป็นกลุ่มที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ก็จะมีเรื่องปัญหามลพิษ สารพิษโลหะหนักตกค้างในร่างกาย เป็นต้น “จากกลุ่มโรคต่างๆ ที่ได้ยกตัวอย่างมานี้ ทางโรงพยาบาลฯ ได้เข้าไปดูแลสุขภาพพนักงานองค์กรต่างๆ โดยนำ Healthy Together Model เป็นแบบประเมินภาวะสุขภาพทั้งกายและใจ มีทั้งหมด 9 หมวด
ซึ่งจะนำมาวิเคราะห์ร่วมกับผลตรวจสุขภาพพนักงาน จากนั้นจะส่งไปที่อเมริกาเพื่อทำการประมวลผลแล้วส่งกลับมาเป็นรายงาน เพื่อนำมาวางแผนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคให้กับพนักงานร่วมกับทีมดูแลสุขภาพของเครือ รพ. พญาไท – เปาโล” นพ.วิริทธิ์พล กล่าวเพิ่มเติม
คุณศุภกร พะวันนา ผู้อำนวยการสายบริหารการตลาดเครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ขึ้นเวทีพูดต่อในประเด็นเรื่องการพัฒนาบริการด้าน Digital Health Service หลังสถานการณ์โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของคนทั้งโลก หลายๆ องค์กรมีการปรับรูปแบบการทำงานเป็นทำงานที่บ้าน (WFH) ทำงานได้จากทุกที่ (Work from anywhere) หรือการทำงานแบบ Hybrid ที่มีการทำงานแบบผสมผสาน เหล่านี้ล้วนเป็นตัวเร่งให้โรงพยาบาลฯ ต้องปรับวิธีการออกแบบให้ครบลูปไร้รอยต่อ เข้าถึงบริการด้านสุขภาพเพื่อตอบโจทย์กับองค์กรรุ่นใหม่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกๆ วัน
คุณศุภกร ระบุเพิ่มเติมว่า “มิติของรูปแบบด้านการดูแลสุขภาพ” ของ เครือ รพ. พญาไท - เปาโล มุ่งเป้าไปที่ Customer Experience  คือ มองเรื่องการสร้างประสบการณ์ที่ดี  โดยนำมาผสมผสานกับ Business Model Centric จะช่วยต่อยอดไอเดียออกไปได้มากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะมองลูกค้าเป็นตัวตั้ง เรามีเทคโนโลยี พาร์ทเนอร์ที่เข้มแข็ง
และแหล่งข้อมูลจากภายนอกเข้ามาเติมเต็มสิ่งที่ขาดหาย มีการวางกลยุทธทางการตลาดด้วยการ Brain Storm กับทีมสหสาขาวิชาชีพ หา Pain Point ของลูกค้า ภายใต้เฟรมเวิร์คเดี่ยวกันคือ Design Thinking และ Business Model Canvas ทำให้เข้าใจปัญหาผู้รับบริการอย่างลึกซึ้ง และออกแบบโปรแกรมสุขภาพออกมาให้เหมาะกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม”
“ลูกค้าหลักของเราเป็นกลุ่มวัยทำงานและกลุ่ม Corporate ซึ่ง Pain Point ของคนกลุ่มนี้ คือ ออฟฟิศซินโดรม เรานำข้อมูลนี้ไปคุยกับนักกายภาพบำบัดและช่วยกันพัฒนา ‘All You Can Fits’ โปรแกรมตรวจเช็กความสมดุลและสมรรถภาพร่างกายรายบุคคล การปรับพฤติกรรม เพื่อแก้ไขสาเหตุอาการบาดเจ็บของร่างกาย โดยมีนักกายภาพเป็นโค้ชที่คอยดูแลให้คำแนะนำ ช่วยให้คุณภาพชีวิตดียิ่งขึ้น
และอีกโปรแกรมตัวอย่าง ‘All You Can Check’ ที่ออกแบบมาเพื่อเปลี่ยนแนวคิดเดิมๆ จากที่เคยคิดว่าตรวจสุขภาพปีละครั้งเพียงพอแล้ว ให้อยากมาโรงพยาบาลบ่อยขึ้น เพื่อร่วมกันวางแผนสุขภาพที่ต้องการกับคุณหมอที่ทำหน้าที่เป็นพาร์ทเนอร์สุขภาพ ช่วยให้เราปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่ ส่งผลให้สุขภาพตลอดทั้งปีดีขึ้น ” คุณศุภกร อธิบายต่อ
นอกจากนี้ คุณศุภกรได้แชร์ข้อมูลต่อว่า หลายนวัตกรรมที่เกิดขึ้นหลังโควิด – 19 ถูกเรียกว่า ‘Adapted Product’ เป็นการนำดิจิทัลและเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือทรานฟอร์มองค์กรมากขึ้น “เราเชื่อว่าสิ่งนี้จะเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคลากรไม่หยุดพัฒนาสิ่งที่ดีกว่า มันไปสอดคล้องกับ People Branding ที่ว่า นวัตกรรมที่ดีที่สุดก็คือคนที่ไม่หยุดพัฒนาเพื่อสิ่งที่ดีกว่า ส่งมอบบริการที่ดีที่สุดให้กับองค์กรพันธมิตรและประชาชนที่มารับบริการ”
ตัวอย่างนวัตกรรมที่เกิดขึ้นด้าน Digital Health Service ได้แก่ Health Up บริการด้าน Telecare โครงการ Let’s Get Healthy เป็นต้น
ด้าน SCB มองว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือทำยังไงให้คนเรามีความสุข หรือมีความรักในการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาที่ไม่มีคำว่าสิ้นสุด “Mindset ที่สำคัญคือต้องเชื่อว่าตัวเขาเองมีศักยภาพที่ยังพัฒนาต่อไปได้ ซึ่งนับเป็นสิ่งท้าทาย หากทุกองค์กรมีแนวคิดในการพัฒนาบุคลากรนั่นคือการช่วยกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เป็น Lifelong Learning เพื่อให้คนมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตัวเองตลอดเวลา SCB Academy ได้ถูกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อสร้าง Know how ใหม่ๆ ดูแลเรื่องการ Reskill – Upskill ให้กับพนักงาน เพราะการที่องค์กรจะประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนนั้น พนักงานจะต้องมีทักษะ ความรู้และวิถีการทำงานในรูปแบบใหม่ เพื่อพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกในปัจจุบัน
และไม่เพียงพัฒนาคนในองค์กรเท่านั้น SCB ยังได้สร้างประโยชน์ต่อยอดพัฒนาไปให้กับบุคลภายนอกในการเตรียมความพร้อมเรื่องความรู้ ทักษะ และวิถีในการทำงานในโลกของอนาคต (Future of Work) โดยเป้าหมายสูงสุดที่อยากเห็น คือ การเข้าไปช่วยสร้างงาน สร้างโอกาสให้กับคนในประเทศ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศได้ ทั้งในแง่ของปริมาณและความรวดเร็ว นอกเหนือจากนี้อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ SCB ไม่มองข้ามคือเรื่อง ‘สุขภาพ’ แน่นอนว่าการมีสุขภาพกายและจิตที่ดีย่อมทำให้เราทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพตามไปด้วย” คุณเกียรติศักดิ์ สำเภาเงิน ผู้อำนวยการสายงาน Employee Engagement ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ในขณะที่ สตรีม ไอ.ที.คอนซัลติ้ง จำกัด ที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบสารสนเทศ ให้บริการที่ปรึกษาธุรกิจดิจิทัล “พนักงานส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ เด็กรุ่นใหม่นั้น มักไม่ได้ถูกผลักดันด้วยเงินเพียงอย่างเดียว เขาต้องการความสำเร็จ ได้แสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ ได้รับการยอมรับ และให้กำลังใจเมื่อทำสำเร็จ โดยมีทีมผู้บริหารอาวุโสพร้อมให้การสนับสนุน ผลักดันให้ทีมสามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย
ดังนั้น เราจึงให้ความสำคัญกับบุคลากรของบริษัทเป็นอันดับแรก โดยมุ่งเน้นการดูแลสุขภาพทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ  ซึ่งสอดคล้องกับหนึ่งในวัฒนธรรมขององค์กรคือ “HEALTH”  และสิ่งสำคัญที่สุด From the Good to the Great Company จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีปัจจัยที่สำคัญคือ คนในองค์กรมีศักยภาพและ มี Growth Mindset จึงจะทำให้องค์กรของเราสร้างความแตกต่างได้ในธุรกิจเดียวกัน”  คำกล่าวจาก คุณภิญโญ คำภูแก้ว Senior Executive Vice President บริษัท สตรีม ไอ.ที.คอนซัลติ้ง จำกัด
คุณวีรวิชญ์ จันทร์แสงโชติ ผู้จัดการส่วนสภาพแวดล้อมในการทำงาน นักบริหาร 10 บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด แชร์ข้อมูลว่า “เราให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อสารดิจิทัลเพื่อพัฒนาศักยภาพในองค์รวม ที่ไม่เพียงแต่การพัฒนาคนในองค์กรเท่านั้น แต่ยังทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ อาทิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำองค์ความรู้ต่างๆ และความเชี่ยวชาญของบุคลากรทั้งภายนอกภายใน
ตลอดจนทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัย การผลักดันให้เกิดงานนวัตกรรม และงานวิจัยใหม่ๆ ก้าวสู่เป้าหมายสูงสุดในการผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพอย่างยั่งยืน เพื่อส่งต่อคุณประโยชน์ต่อองค์กร ชุมชน และส่งผลให้เกิดความสำเร็จต่อภาพรวมในระยะยาว”
งานเสวนาครั้งนี้นับเป็นอีกเวทีสำคัญของการขับเคลื่อนวงการแพทย์ไทยในการยกระดับการดูแลสุขภาพครบวงจรไร้รอยต่อสำหรับองค์กรรุ่นใหม่ที่มีความใส่ใจบุคลากรมาเป็นอันดับต้น เพื่อการมีสุขภาพที่ดีและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.