“ธุรกิจเก่าไป ใหม่ไม่มา” สัญญาณลบสะท้อนวิกฤตเศรษฐกิจ

“ธุรกิจเก่าไป ใหม่ไม่มา” สัญญาณลบสะท้อนวิกฤตเศรษฐกิจ

31 มี.ค. 2020
ในช่วง 9 สัปดาห์แรกของปี 2563 จำนวนธุรกิจที่แจ้งเลิกกิจการอยู่ที่ 4.9 พันราย ซึ่งหากเราเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วเพิ่มขึ้นถึง 22.5%
เหตุผลส่วนใหญ่ของการเลิกกิจการคือบริษัทมีปัญหาทางการเงิน
โดยธุรกิจที่เลิกกิจการมากที่สุด คือธุรกิจที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวคิดเป็น 56.5% จากจำนวนธุรกิจที่ปิดกิจการ
ขณะที่ธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีก
ร้านอาหาร, ก่อสร้าง, อสังหาริมทรัพย์
ก็ล้วนแล้วแต่มีการเลิกกิจการ และมีปัญหามากขึ้นหากเทียบกับปีที่แล้ว
ส่วนธุรกิจนำเข้า-ส่งออกยังมีความเสี่ยงสูง เพราะหากการระบาดของโรค Covid-19 ยังยืดเยื้อ
และบริษัทไม่มีสภาพคล่องทางการเงิน และมีภาระหนี้สูง
ก็อาจจะมีการปิดกิจการมากขึ้นอย่างน่าตกใจ
ที่น่าสนใจก็คือจำนวนการเปิดบริษัทใหม่ในภาพรวม ก็ลดลงตามไปด้วย ในช่วง 9 สัปดาห์แรกของปี 2563 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แล้วธุรกิจที่เจอวิกฤติในช่วงนี้จะเอาตัวรอดได้อย่างไร
แอดมินได้สรุปบทความที่ชื่อ
“How to Survive a Recession and Thrive Afterward”
โดยใจความสำคัญก็คือ ในภาวะเศรษฐกิจขาลง ธุรกิจยังสามารถเอาตัวรอด หรือบางทีอาจเติบโตด้วยซ้ำ
โดยสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษในสถานการณ์ไม่สู้ดีนัก ก็คือการบริหารเงินโดยเฉพาะการลดหนี้และการเพิ่มสัดส่วนเงินสด เพื่อทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้
ส่วนในด้านการบริหารคน การปลดคน อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดี ถึงจะช่วยลดต้นทุนได้ดี
แต่ผลเสียก็อาจจะทำให้พนักงานที่เหลืออยู่เสียกำลังใจ
กระทบต่อคุณภาพการผลิตสินค้า
รวมถึงอาจจะหาคนทดแทนยากในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว
เพราะฉะนั้นเราอาจพิจารณาทางเลือกแบบชั่วคราว
เช่น ลดชั่วโมงทำงาน หรือการให้พักงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง เป็นต้น
จนถึงการลงทุนด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น
การใช้เทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิต
การลงทุนในด้าน Data Analytics ที่จะช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
ถึงตรงนี้ ไม่ว่าเศรษฐกิจไทยจะดิ่งลงแค่ไหน และ Covid-19 จะอยู่กับเราไปถึงเมื่อไร
ก็ยังไม่มีใครตอบได้
แต่สิ่งหนึ่งที่ แอดมินเชื่อคือ ในอดีตประเทศไทยก็เดินผ่านสารพัดวิกฤตมามากมาย
แล้วครั้งนี้ “เราก็จะเดินผ่าน มันไปด้วยกัน”
ที่มา : EIC Data Infographic, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.