Rapyd เผยพฤติกรรมชำระเงินผ่านระบบดิจิทัล ของผู้บริโภคในเอเชียอย่างละเอียด 

Rapyd เผยพฤติกรรมชำระเงินผ่านระบบดิจิทัล ของผู้บริโภคในเอเชียอย่างละเอียด 

11 มิ.ย. 2020
Rapyd ผู้ให้บริการเทคโนโลยีการเงินระดับโลก เปิดเผยผลสำรวจอีคอมเมิร์ซและการชำระเงินในเอเชียแปซิฟิกประจำปี 2563 ซึ่งเป็นการวิเคราะห์พฤติกรรมทางการเงิน, วิธีการชำระเงิน, ข้อควรพิจารณา และความนิยมของผู้บริโภคใน 7 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ไต้หวัน และไทย
โดยรายงานระบุว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซและเอ็มคอมเมิร์ซใน 7 ประเทศที่มีการสำรวจ มีมูลค่าราว 11.0 ล้านล้านบาท
ขณะที่เศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมูลค่า 3.1 ล้านล้านบาท ในปี 2562 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 9.3 ล้านล้านบาท ในปี 2568
โจเอล ยาร์โบรห์ รองประธานประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก บริษัท Rapyd กล่าวว่า 
“นับตั้งแต่โควิด-19 เริ่มระบาดไปทั่วโลก ผู้คนจำเป็นต้องหันมาใช้ระบบดิจิทัลอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
และอีคอมเมิร์ซได้กลายเป็นพื้นฐานใหม่ เราได้เห็นว่าการชำระเงินผ่านระบบดิจิทัลเติบโตอย่างมหาศาลในทุกประเทศทั่วเอเชีย”
ทั้งนี้ พฤติกรรมและความนิยมในการชำระเงินของผู้บริโภคใน 7 ประเทศสรุปได้ดังนี้
สิงคโปร์
-การชำระเงินผ่านธนาคารแบบเรียลไทม์กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น 
โดยระบบ PayNow และระบบโอนเงินผ่านธนาคาร FAST มีความสำคัญมากขึ้น 
อันเป็นผลมาจากความกังวลเกี่ยวกับโควิด-19 ประกอบกับการลงทุนของภาครัฐมานานหลายปี
-PayNow เป็นวิธีการชำระเงินที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับ 2 โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 70% ใช้บริการนี้ในเดือนที่แล้ว
-GrabPay เป็นวิธีการชำระเงินที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับ 3 รองจากบัตรเครดิต และ PayNow
อินโดนีเซีย
-OVO Wallet เป็นวิธีการชำระเงินที่ใช้บ่อยที่สุดเป็นอันดับ 1 โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 69% ใช้บริการนี้ในเดือนที่แล้ว และเป็นช่องทางชำระเงินยอดนิยมของประเทศ โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 17.8% เลือกชำระเงินผ่าน OVO Wallet มากกว่าวิธีอื่น
-ผู้บริโภคชาวอินโดนีเซีย นิยมใช้อีวอลเล็ทมากกว่าบัตรและเงินสดอย่างมาก 
โดย 33.8% เลือกชำระเงินผ่านอีวอลเล็ท 1 ใน 3 แบรนด์ (OVO, Go-Pay หรือ Dana)
-การโอนเงินผ่านธนาคารแบบเรียลไทม์ ทั้งผ่านระบบบัญชีเสมือนและผ่านบัญชีธนาคารแบบดั้งเดิม เป็นที่นิยมของผู้ตอบแบบสำรวจ 44% ในอินโดนีเซีย
มาเลเซีย
-การโอนเงินผ่านธนาคารด้วยบริการ Maybank2U ของธนาคารเมย์แบงก์ 
ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ที่สุดในประเทศ เป็นวิธีการชำระเงินออนไลน์ที่ใช้มากที่สุด (65%) และเป็นที่นิยมมากที่สุด (21.4%)
-อีวอลเล็ท ได้แก่ Touch N Go, Boost, PayPal และ GrabPay ต่างมีความสำคัญมากขึ้น 
โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 22% เลือกชำระเงินผ่านอีวอลเล็ทเหล่านี้
-บริการเก็บเงินปลายทาง (Cash on Delivery) ยังคงมีความสำคัญ โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 65% เลือกใช้บริการนี้ในเดือนที่แล้ว ก่อนที่รัฐบาลมาเลเซียจะบังคับใช้มาตรการควบคุมการสัญจร
อินเดีย
-ผู้ตอบแบบสำรวจ 85% ใช้อีวอลเล็ท Paytm ในเดือนที่แล้ว
-การเติบโตของระบบชำระเงิน UPI ส่งผลให้อีวอลเล็ท (Paytm, Google Pay, Amazon Pay) เป็นที่นิยมของผู้ตอบแบบสำรวจ 51.2% ขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจ 11.9% เลือกโอนเงินผ่านธนาคาร
-บัตรเดบิตและบัตรเครดิตเป็นที่นิยมของผู้ตอบแบบสำรวจ 28%
-ผู้ตอบแบบสำรวจ 49% ซื้อสินค้าออนไลน์ทุกวัน (สูงสุดในบรรดาประเทศและดินแดนที่มีการสำรวจ)
ญี่ปุ่น
-ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังนิยมใช้บัตรเครดิตและเงินสด
-ในบรรดาวิธีการชำระเงินผ่านมือถือทั้งหมด อีวอลเล็ท PayPay ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 41% ใช้วิธีนี้ในเดือนที่แล้ว และ 9.6% เลือกวิธีนี้มากกว่าวิธีอื่น
ไต้หวัน
-บัตรเครดิตยังคงเป็นวิธีการชำระเงินอันดับหนึ่งในไต้หวัน ทั้งในแง่ของการใช้งานและความนิยม
-ผู้บริโภคชำระเงินหลายวิธี ขึ้นอยู่กับการใช้งาน โดยบัตรเครดิต การจ่ายเงินสดที่ร้านสะดวกซื้อ การโอนเงินผ่านธนาคาร การใช้บัตร Easycard และอีวอลเล็ท ต่างได้รับความนิยมพอๆกัน
ไทย
-อีวอลเล็ท TrueMoney เป็นวิธีการชำระเงินชั้นนำ โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 66% ใช้เป็นประจำ และ 16.8% เลือกวิธีนี้มากกว่าวิธีอื่น
-อีวอลเล็ทและการโอนเงินผ่านธนาคารเป็นวิธีการชำระเงินที่นิยมมากที่สุด โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 62.2% เลือกใช้วิธีนี้ และแนวโน้มก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะได้รับการสนับสนุนจากระบบชำระเงิน PromptPay ที่ใช้งานร่วมกันได้
-เงินสดยังคงเป็นที่นิยมในไทย โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 19.4% เลือกใช้เงินสด
อ่านรายงานฉบับเต็มของ Rapyd ได้ที่ https://www.rapyd.net/resource/asia-pacific-ecommerce-and-payments-guide/
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.