JobThai เผยความต้องการแรงงานครึ่งปีแรก “โควิด-19” ทำธุรกิจลดการจ้างงานสูงสุด 75%

JobThai เผยความต้องการแรงงานครึ่งปีแรก “โควิด-19” ทำธุรกิจลดการจ้างงานสูงสุด 75%

13 ส.ค. 2020
จากการรวบรวมข้อมูลความต้องการแรงงานขององค์กรในแพลตฟอร์ม JobThai พบว่า
องค์กรมีความต้องการแรงงานในช่วงครึ่งปีแรกรวมกันอยู่ที่ 303,776 อัตรา (เป็นการนับจำนวนอัตราแบบไม่ซ้ำกัน)
ซึ่งมีการเปิดรับสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 124,629 อัตรา
แต่ในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายนการจ้างงานลดลง 16.5% เทียบกับเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาการระบาดของโควิด-19
ส่วนด้านผู้ใช้งาน หางาน สมัครงาน มีการใช้งานมากกว่า 11 ล้านคน เติบโตขึ้น 7.5%
ซึ่งมีการสมัครงาน 8,876,727 ครั้ง เติบโตขึ้น 31.0% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
-5 ประเภทธุรกิจมีความต้องการแรงงานมากที่สุด
1) อาหาร-เครื่องดื่ม 58,724 อัตรา (ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 22.9%)
2) บริการ 44,750 อัตรา (นอกเหนือจากธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากภาคท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจบริการทำความสะอาด ธุรกิจบริการด้านระบบ ธุรกิจบริการฝึกอบรม)
3) ก่อสร้าง 41,353 อัตรา
4) ยานพาหนะ/ชิ้นส่วนยานยนต์ 39,883 อัตรา (ลดลง 31.8%)
5) ค้าปลีก 37,482 อัตรา
-5 ประเภทธุรกิจที่มีความต้องการแรงงานน้อยที่สุด
1) ธุรกิจท่องเที่ยว 1,690 อัตรา (ลดลง 65.8%)
2) ธุรกิจความบันเทิง 2,075 อัตรา
3) ธุรกิจกระดาษ/เครื่องเขียน 2,200 อัตรา
4) ธุรกิจโรงแรม/Resort/Spa/สนามกอล์ฟ 2,820 อัตรา (ลดลง 75.7%)
5) ธุรกิจอัญมณี/เครื่องประดับ 3,092 อัตรา
-5 สายงานที่องค์กรเปิดรับมากที่สุด
อันดับ 1 ขาย คิดเป็น 19.9%
อันดับ 2 ช่างเทคนิค คิดเป็น 10.3%
อันดับ 3 ผลิต/ควบคุมคุณภาพ คิดเป็น 7.9%
อันดับ 4 วิศวกร คิดเป็น 5.8%
อันดับ 5 ธุรการ/จัดซื้อ คิดเป็น 5.7%
-5 สายงานที่คนสมัครมากที่สุด
อันดับ 1 ธุรการ/จัดซื้อ คิดเป็น 12.7%
อันดับ 2 ขาย คิดเป็น 9.5%
อันดับ 3 ผลิต/ควบคุมคุณภาพ คิดเป็น 9.1%
อันดับ 4 งานบุคคล/ฝึกอบรม คิดเป็น 6.2%
อันดับ 5 ขนส่ง-คลังสินค้า คิดเป็น 6.1%
-5 สายงานยอดนิยมที่มีอัตราการแข่งขันสูง
งานที่มีอัตราการแข่งขันสูงที่สุด คือ นำเข้า-ส่งออก มีการแข่งขันอยู่ที่ 10.2 คน ต่อ 1 อัตรา
อันดับ 2 บุคคล/ฝึกอบรม โดยมีการแข่งขันอยู่ที่ 9.9 คน ต่อ 1 อัตรา
อันดับ 3 เลขานุการ การแข่งขันอยู่ที่ 9.4 คน ต่อ 1 อัตรา
อันดับ 4 วิทยาศาสตร์/วิจัย การแข่งขันอยู่ที่ 8.2 คน ต่อ 1 อัตรา
อันดับ 5 วิเคราะห์/เศรษฐศาสตร์ การแข่งขันอยู่ที่ 7.2 คน ต่อ 1 อัตรา
-5 นิคมอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงงานมากที่สุด
อันดับ 1 นิคมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง 3,374 อัตรา
อันดับ 2 นิคมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี 3,140 อัตรา
อันดับ 3 นิคมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี 2,789 อัตรา
อันดับ 4 สวนอุตสาหกรรมโรจนะอยุธยา 2,339 อัตรา
อันดับ 5 เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมนวนคร ปทุมธานี 2,264 อัตรา
-5 องค์กรที่มีอัตราการเปิดรับมากที่สุด
อันดับ 1 บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
อันดับ 2 บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน)
อันดับ 3 บริษัท เซ็นทรัลเรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด
อันดับ 4 บริษัท เงินติดล้อ จำกัด
อันดับ 5 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
-5 องค์กรที่มีคนสมัครมากที่สุด
อันดับ 1 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
อันดับ 2 บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)
อันดับ 3 บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
อันดับ 4 กลุ่มบริษัทเครือเบทาโกร จำกัด
อันดับ 5 บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
-5 สายงานที่องค์กรเปิดรับนักศึกษาจบใหม่ปริญญาตรีมากที่สุด
อันดับ 1 ขาย คิดเป็น 23.3%
อันดับ 2 บริการ คิดเป็น 11.8%
อันดับ 3 ธุรการ/จัดซื้อ คิดเป็น 9.0%
อันดับ 4 วิศวกร คิดเป็น 7.2%
อันดับ 5 ช่างเทคนิค คิดเป็น 7.1%
-5 สายงานที่นักศึกษาจบใหม่ปริญญาตรีสมัครมากที่สุด
อันดับ 1 ธุรการ/จัดซื้อ คิดเป็น 15.8%
อันดับ 2 วิศวกร คิดเป็น 10.3%
อันดับ 3 ขาย คิดเป็น 9.5%
อันดับ 4 ผลิต/ควบคุมคุณภาพ คิดเป็น 8.0%
อันดับ 5 บริการ คิดเป็น 7.1%
โดยตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโควิด-19 จนทำให้หลายสถานประกอบการจำเป็นต้องปิดกิจการชั่วคราว
ส่งผลให้ความต้องการแรงงานลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเดือนมีนาคม มีอัตราการเปิดรับ 112,220 ลดลง 10.0% จากกุมภาพันธ์ 2563
และลดลงหนักสุดในช่วงเดือนเมษายน มีอัตราการเปิดรับ 91,382 ซึ่งลดลง 18.6% จากมีนาคม 2563
เดือนพฤษภาคม อัตราที่เปิดรับ 86,966 ลดลง 4.8% จากเมษายน 2563
ส่วนเดือนมิถุนายน อัตราที่เปิดรับ 90,347 เพิ่มขึ้น 3.9% จากพฤษภาคม 2563
-5 ประเภทธุรกิจที่มีความต้องการแรงงานลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2562
อันดับ 1 ธุรกิจโรงแรม ลดลง 75.7%
อันดับ 2 ธุรกิจท่องเที่ยว ลดลง 65.8%
อันดับ 3 ธุรกิจที่ปรึกษา ลดลง 38.9%
อันดับ 4 ธุรกิจสิ่งทอ ลดลง 37.9%
อันดับ 5 ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ลดลง 36.6%
-5 ประเภทธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทางลบน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2562
อันดับ 1 ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม รับเพิ่ม 38.7%
อันดับ 2 ธุรกิจพลังงาน รับเพิ่ม 0.3%
อันดับ 3 ธุรกิจคอมพิวเตอร์/ไอที ลดลง 5.2%
อันดับ 4 ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์/เครื่องใช้ในบ้าน ลดลง 9.0%
อันดับ 5 ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ลดลง 9.4%
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.