
KAMU ร้านชาสัญชาติไทย ที่รายได้โตระเบิดถึง 163%
26 ส.ค. 2020
รู้ไหมว่า เชนร้านชาที่กำลังได้รับความนิยม จนมีลูกค้าต่อคิวยาวเหยียดในบางสาขาอย่าง “KAMU”
ซึ่งหลายคนอาจคิดว่าเป็นแฟรนไชส์นำเข้าจากต่างประเทศ
แต่จริงๆ แล้ว ผู้ก่อตั้งและเจ้าของแฟรนไชส์ KAMU เป็นคนไทย..
ซึ่งหลายคนอาจคิดว่าเป็นแฟรนไชส์นำเข้าจากต่างประเทศ
แต่จริงๆ แล้ว ผู้ก่อตั้งและเจ้าของแฟรนไชส์ KAMU เป็นคนไทย..
ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2554
คุณทินกฤต สินทัตตโสภณ ซึ่งอดีตเคยทำงานเป็นวิศวกรไอทีดูแลเรื่องพัฒนาเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ที่สหรัฐฯ นานกว่า 5 ปี
คุณทินกฤต สินทัตตโสภณ ซึ่งอดีตเคยทำงานเป็นวิศวกรไอทีดูแลเรื่องพัฒนาเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ที่สหรัฐฯ นานกว่า 5 ปี
ได้ตัดสินใจลาออกจากงานที่มั่นคง รายได้สูง และบินมาที่เมืองไทย
เพื่อเปิดร้านชาตาม Passion ของตัวเองที่หลงใหลการดื่มชามาตั้งแต่เด็กๆ
โดยใช้เงินเก็บของตัวเองหลักล้านบาทมาลงทุนเปิดร้าน
เพื่อเปิดร้านชาตาม Passion ของตัวเองที่หลงใหลการดื่มชามาตั้งแต่เด็กๆ
โดยใช้เงินเก็บของตัวเองหลักล้านบาทมาลงทุนเปิดร้าน
“ผมอยากมีธุรกิจส่วนตัว อยากเปิดร้านขายชาที่มีเมนูหลากหลาย
ส่วนตัวชอบดื่มชาเขียวมัตฉะของประเทศญี่ปุ่น ประกอบกับได้สูตรชานมจากญาติที่อยู่ไต้หวัน
เลยเห็นโอกาสเปิดร้านชานมไข่มุกที่ไทย” คุณทินกฤต กล่าว
ส่วนตัวชอบดื่มชาเขียวมัตฉะของประเทศญี่ปุ่น ประกอบกับได้สูตรชานมจากญาติที่อยู่ไต้หวัน
เลยเห็นโอกาสเปิดร้านชานมไข่มุกที่ไทย” คุณทินกฤต กล่าว
ซึ่งช่วงแรกของการเริ่มต้นธุรกิจ ก็ลองผิดลองถูกหลายอย่าง
มีการปรับสูตร ปรับรสชาติเครื่องดื่มกว่า 6 เดือน เพื่อให้ได้เมนูที่คิดว่าดีที่สุด
โดยเขาเปิดร้าน KAMU สาขาแรกที่อาคารอินเตอร์เชนจ์ 21 อโศก และมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือ “พนักงานออฟฟิศ”
มีการปรับสูตร ปรับรสชาติเครื่องดื่มกว่า 6 เดือน เพื่อให้ได้เมนูที่คิดว่าดีที่สุด
โดยเขาเปิดร้าน KAMU สาขาแรกที่อาคารอินเตอร์เชนจ์ 21 อโศก และมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือ “พนักงานออฟฟิศ”
ทั้งนี้ KAMU เป็นภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแปลว่า เคี้ยวหรือกัด
ดังนั้นคอนเซ็ปต์ของแบรนด์คือการเป็น "ชาที่เคี้ยวได้" นั่นเอง
ดังนั้นคอนเซ็ปต์ของแบรนด์คือการเป็น "ชาที่เคี้ยวได้" นั่นเอง
คุณทินกฤต กล่าวว่า ตอนนั้นเปิดสาขาแรกได้ไม่นาน ปรากฏว่าขายดีมาก เลยต้องขยายสาขาอื่นๆ เพิ่ม โดยจะเน้นทำเลตามสำนักงานออฟฟิศเป็นหลัก
เพราะว่าในปี พ.ศ. 2554 - 2556 เป็นช่วงที่เกิดกระแส “ชานมไข่มุก” ขึ้นที่ไทย
KAMU เลยได้รับอานิสงส์ตรงนี้ไปด้วย
เพราะว่าในปี พ.ศ. 2554 - 2556 เป็นช่วงที่เกิดกระแส “ชานมไข่มุก” ขึ้นที่ไทย
KAMU เลยได้รับอานิสงส์ตรงนี้ไปด้วย
อย่างไรก็ดี 2 ปีถัดมา กระแสชานมไข่มุกก็เงียบไป..
และเกิดกระแส “กาแฟสด” เข้ามาแทนที่
และเกิดกระแส “กาแฟสด” เข้ามาแทนที่
แต่ถึงตลาดจะไม่เอื้ออำนวย KAMU ก็ยังเลือกเดินหน้าขยายสาขาต่อ
โดยกำหนดกลยุทธ์ คือ ต้องเพิ่มความหลากหลายของเมนูชาให้มากขึ้น
โดยกำหนดกลยุทธ์ คือ ต้องเพิ่มความหลากหลายของเมนูชาให้มากขึ้น
รวมถึงขยายตลาดไปสู่ “กลุ่มวัยรุ่น” มากขึ้น ไม่ใช่เฉพาะวัยทำงานอย่างเดียว เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขาย
และมีการปรับโฉมร้านใหม่ เพื่อให้หน้าร้านเป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาดเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของแบรนด์
ไปสู่ผู้บริโภคทั้ง พนักงานออฟฟิศ และกลุ่มวัยรุ่น
ไปสู่ผู้บริโภคทั้ง พนักงานออฟฟิศ และกลุ่มวัยรุ่น
นอกจากนี้ KAMU ยังแทบไม่ได้ทุ่มซื้อโฆษณาเลย แต่ใช้การตลาดแบบ “ปากต่อปาก” ของลูกค้าที่ประทับใจในเครื่องดื่มในการโฆษณาให้แบรนด์แทน
ทั้งนี้ อย่างที่รู้กันเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ก็เหมือนมีการฉายหนังซ้ำ
เพราะตลาดชานมไข่มุกได้กลับมาคึกคักอีกครั้ง จากกระแสชานมฟีเวอร์ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ เช่น ไต้หวันและฮ่องกง
เพราะตลาดชานมไข่มุกได้กลับมาคึกคักอีกครั้ง จากกระแสชานมฟีเวอร์ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ เช่น ไต้หวันและฮ่องกง
ซึ่งกระแสชานมนิยมครั้งนี้ ก็ได้ดึงดูดคู่แข่งหน้าใหม่ๆ จำนวนมากให้เข้ามาร่วมวงเกาะเทรนด์นี้ด้วย
จนตลาดกลายเป็นทะเลเลือดที่มีไข่มุกเป็นหน้าท็อปปิง
จนตลาดกลายเป็นทะเลเลือดที่มีไข่มุกเป็นหน้าท็อปปิง
เพื่อให้รอดชีวิตจากสงครามไข่มุกนี้ KAMU จึงได้กำหนดกลยุทธ์เพื่อสร้างความแตกให้แบรนด์
ไม่ว่าจะเป็น การออกเมนูใหม่ๆ เฉลี่ยเดือนละ 1 เมนู
การทำแพ็กเกจจิงให้สวย เพื่อให้ลูกค้าถ่ายรูปได้
หรือใช้พลังของโซเชียลมีเดีย ในการสร้างการรับรู้ของแบรนด์ สื่อสารกับผู้บริโภค และทำโปรโมชัน เป็นต้น
ไม่ว่าจะเป็น การออกเมนูใหม่ๆ เฉลี่ยเดือนละ 1 เมนู
การทำแพ็กเกจจิงให้สวย เพื่อให้ลูกค้าถ่ายรูปได้
หรือใช้พลังของโซเชียลมีเดีย ในการสร้างการรับรู้ของแบรนด์ สื่อสารกับผู้บริโภค และทำโปรโมชัน เป็นต้น
ด้วยกลยุทธ์ที่กล่าวมา บวกกับคุณภาพและรสชาติของเครื่องดื่ม
ทำให้ KAMU เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค และมียอดขายเติบโตท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือด
ทำให้ KAMU เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค และมียอดขายเติบโตท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือด
บริษัท คามุ คามุ จำกัด
ปี 2560 มีรายได้ 67 ล้านบาท ขาดทุน 6 ล้านบาท
ปี 2561 มีรายได้ 154 ล้านบาท กำไร 21 ล้านบาท
ปี 2562 มีรายได้ 405 ล้านบาท กำไร 69 ล้านบาท
ปี 2560 มีรายได้ 67 ล้านบาท ขาดทุน 6 ล้านบาท
ปี 2561 มีรายได้ 154 ล้านบาท กำไร 21 ล้านบาท
ปี 2562 มีรายได้ 405 ล้านบาท กำไร 69 ล้านบาท
โดยปี 2562 รายได้เติบโตจากปีก่อนหน้า 163% และกำไรเติบโตถึง 224%..
ปัจจุบัน KAMU มีเมนูเครื่องดื่มมากกว่า 40 เมนู เช่น นมสด น้ำตาลไหม้ ไข่มุกนุ่ม, ชาชีส, ชาเขียวมัตฉะชีส, ไมโลโรงเรียน, พรีเมียมมัตฉะนม, ดาร์ก โกโก้
โดยเมนูของ KAMU จะโฟกัสความเป็นธรรมชาติ
อย่างวัตถุดิบ เช่น ชาเขียวมัตฉะ และชาเขียวโฮจิฉะ ก็มีการนำเข้าจากเมืองชิซูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น
อย่างวัตถุดิบ เช่น ชาเขียวมัตฉะ และชาเขียวโฮจิฉะ ก็มีการนำเข้าจากเมืองชิซูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น
ส่วน "ไข่มุก" ที่เป็นท็อปปิงสุดฮิตของทางร้าน
เกิดจากการนำมาเคี่ยวกับน้ำตาลทรายแดง ต้มในอุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 2 ชั่วโมง
จนได้ไข่มุกที่สุกนุ่มกำลังดี และรสชาติไม่จืดชืด
เกิดจากการนำมาเคี่ยวกับน้ำตาลทรายแดง ต้มในอุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 2 ชั่วโมง
จนได้ไข่มุกที่สุกนุ่มกำลังดี และรสชาติไม่จืดชืด
และ KAMU มีร้านกว่า 100 สาขา ซึ่งแบ่งเป็นในประเทศ 80 สาขา
และต่างประเทศ 20 สาขา อาทิ อินโดนีเซีย, กัมพูชา, ลาว
ซึ่งกระจายตามตึกออฟฟิศ, ห้างสรรพสินค้า, แหล่งวัยรุ่น และคีออส
และต่างประเทศ 20 สาขา อาทิ อินโดนีเซีย, กัมพูชา, ลาว
ซึ่งกระจายตามตึกออฟฟิศ, ห้างสรรพสินค้า, แหล่งวัยรุ่น และคีออส
โดย KAMU มีการใช้โมเดลแฟรนไชส์ในการช่วยขยายสาขา
สำหรับคนที่สนใจธุรกิจ เฉพาะค่าสิทธิ์แฟรนไชส์เริ่มต้น 1.5 ล้านบาท
และคิดเป็นเงินลงทุนทั้งหมดในปีแรกราวๆ 2 - 2.5 ล้านบาทต่อสาขา
สำหรับคนที่สนใจธุรกิจ เฉพาะค่าสิทธิ์แฟรนไชส์เริ่มต้น 1.5 ล้านบาท
และคิดเป็นเงินลงทุนทั้งหมดในปีแรกราวๆ 2 - 2.5 ล้านบาทต่อสาขา
เรื่องความท้าทายที่ KAMU กำลังเผชิญในตอนนี้ มี 2 เรื่องหลักๆ คือ
เรื่องแรก ปีนี้เทรนด์กระแสนิยมบริโภคชานมในเมืองไทย อาจร้อนแรงน้อยลงเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ
เรื่องแรก ปีนี้เทรนด์กระแสนิยมบริโภคชานมในเมืองไทย อาจร้อนแรงน้อยลงเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ
ซึ่งคุณทินกฤตก็มองว่า ปี 2563 อาจเป็นช่วงขาลงของธุรกิจชานมไข่มุก
เขาจึงตัดสินใจชะลอการขยายสาขาในประเทศไทย และจะเน้นขยายธุรกิจในต่างประเทศแทน
โดยปีนี้จะเริ่มไปตีตลาดที่ประเทศมาเลเซีย
เขาจึงตัดสินใจชะลอการขยายสาขาในประเทศไทย และจะเน้นขยายธุรกิจในต่างประเทศแทน
โดยปีนี้จะเริ่มไปตีตลาดที่ประเทศมาเลเซีย
เรื่องต่อมาคือ COVID-19
ที่ได้แช่แข็งกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้หยุดชะงัก จนเกือบทุกอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า
ที่ได้แช่แข็งกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้หยุดชะงัก จนเกือบทุกอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า
KAMU เองก็ต้องปิดหน้าร้านสาขาบางส่วนไปชั่วคราว ในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะในพื้นที่ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า
ถึงแม้จะมียอดคำสั่งซื้อเครื่องดื่มผ่านแอปฟู้ดดิลิเวอรี มาช่วยพยุงธุรกิจบ้างก็ตาม
แต่ยอดขายในส่วนนี้ก็ชดเชยในส่วนของหน้าร้านไม่ได้มากนัก
แต่ยอดขายในส่วนนี้ก็ชดเชยในส่วนของหน้าร้านไม่ได้มากนัก
ดังนั้น หลังจากที่รัฐได้คลายมาตรการล็อกดาวน์ ผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตแบบปกติกันมากขึ้น
และ KAMU เองก็ทยอยกลับมาเปิดร้านอีกครั้ง
และ KAMU เองก็ทยอยกลับมาเปิดร้านอีกครั้ง
ธุรกิจก็น่าจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีสาวกจำนวนไม่น้อยที่ยังชื่นชอบรสชาติชาของ KAMU อยู่ และพร้อมอุดหนุน
สังเกตได้จากเวลาเดินผ่านหน้าร้าน KAMU บางสาขา
เราก็จะเห็น ผู้คนกำลังต่อคิวยาวเหยียด เพื่อรอซื้อเครื่องดื่ม..
เราก็จะเห็น ผู้คนกำลังต่อคิวยาวเหยียด เพื่อรอซื้อเครื่องดื่ม..
Tag:KAMU