MyCloudFulfillment ประกาศรับเงินทุนรอบ Series A จาก SCB 10X เพื่อขยายธุรกิจ  พร้อมเตือน 3 สิ่งควรระวัง ในโลกของ “อีคอมเมิร์ซ”

MyCloudFulfillment ประกาศรับเงินทุนรอบ Series A จาก SCB 10X เพื่อขยายธุรกิจ พร้อมเตือน 3 สิ่งควรระวัง ในโลกของ “อีคอมเมิร์ซ”

8 ต.ค. 2020
MyCloudFulfillment สตาร์ตอัปไทย ผู้ให้บริการคลังสินค้าครบวงจร สำหรับธุรกิจออนไลน์ (Fulfillment)
ทั้งระบบจัดการออเดอร์ (OMS) และระบบจัดการคลังสินค้า (WMS)
ช่วยร้านค้าจัดการ เก็บ แพ็ก ส่งสินค้า และเชื่อมต่อ API เข้ากับช่องทางการขายต่างๆ ได้แบบอัตโนมัติ (API Lazada, Shopee และอื่นๆ)
โดยมีจุดเด่นของบริการด้วยรูปแบบที่ยืดหยุ่น มีบริการแพ็กสินค้าที่สามารถ Customize ได้ตามต้องการ
ทั้งยังช่วยจัดการ Supply Chain จัดการคำสั่งซื้อ และนำข้อมูลการขาย
มาใช้เป็นข้อมูลวิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจได้
ซึ่งปัจจุบัน บริษัทมียอดออเดอร์สูงสุดถึง 50,000 ออเดอร์/วัน
มีออเดอร์เติบโตขึ้นจากปีที่แล้วกว่า 6.2 เท่า
และภายในครึ่งปีที่ผ่านมา มีมูลค่าซื้อขายสินค้าผ่านคลังกว่า 500 ล้านบาท
ล่าสุด MyCloudFulfillment ได้ประกาศความสำเร็จอีกขั้น ด้วยการระดมทุนรอบ Series A
มูลค่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จาก SCB 10X, ECG-RESEARCH, Gobi Partners และ NVest Venture
โดย MyCloudFulfillment มีเป้าหมายที่จะนำเงินที่ได้จากการระดมทุน
ไปพัฒนาระบบการจัดการด้านข้อมูล ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ สามารถบริหารจัดสินค้า และขายสินค้าได้ง่ายขึ้น
พร้อมทั้งนำ Data ที่มีมาใช้ในการทำ Predictive Analytics ให้แม่นยำมากขึ้น
และขยายธุรกิจ เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย
รวมถึงเตรียมพร้อมขยายธุรกิจ ไปสู่ตลาดอาเซียนในอนาคต โดยเฉพาะเวียดนาม
เพื่อก้าวสู่การเป็นเบอร์ 1 ด้าน Fulfillment ในระดับอาเซียน
นอกจากเงินระดมทุนที่ได้รับแล้ว ทางผู้ลงทุน ยังให้การสนับสนุนทางธุรกิจในด้านอื่นๆ
เช่น SCB 10X ที่มีแผนร่วมกับ MyCloudFulfillment ในการพัฒนาโซลูชันต่างๆ
ที่มาตอบโจทย์ผู้ประกอบการและลูกค้าในยุค Social Commerce ร่วมกันอีกด้วย
นายนิธิ สัจจทิพวรรณ กรรมการผู้จัดการ และผู้ร่วมก่อตั้ง MyCloudFulfillment บริษัท อี-เอ็มพาวเวอร์เมนท์ จำกัด เปิดเผยว่า
ปัจจุบันแนวโน้มตลาดอีคอมเมิร์ซทั่วโลก มีการเติบโตต่อเนื่อง โดยข้อมูลจาก Statista คาดการณ์ปี 2563
มูลค่าตลาดทั่วโลกจะอยู่ที่ 75 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 26%
และมีจำนวนผู้ใช้งานมากถึง 3,468 ล้านคน เพิ่มขึ้น 9.6% จากปี 2562
ที่น่าสนใจคือ ในปี 2563 มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซ ของภูมิภาคเอเชีย
จะมีมูลค่าอยู่ที่ 45 ล้านล้านบาท เติบโต 29% จากปี 2562
และมีจำนวนผู้ใช้ถึง 2,133 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 61.5% ของผู้ใช้ทั่วโลก
หากเจาะลึกลงไปในภูมิภาคเอเชีย พบว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
เป็นตลาดที่มูลค่าอีคอมเมิร์ซเติบโตสูงสุดถึง 44.2%
ซึ่งมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทย ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในอาเซียน รองจากอินโดนีเซีย
โดยจะมีมูลค่าอยู่ที่ 2.3 แสนล้านบาท โตขึ้นถึง 42% จากปีที่แล้ว
ทั้งนี้ อัตราการใช้จ่ายผ่านอีคอมเมิร์ซของ
คนอินโดนีเซีย อยู่ที่ 219 เหรียญสหรัฐ/คน/ปี หรือ 6,856 บาท/คน/ปี
คนไทย 215.67 เหรียญสหรัฐ/คน/ปี หรือ 6,752 บาท/คน/ปี
อย่างไรก็ดี ประเทศไทย ยังมีอัตราคาดการณ์ของการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ที่ต่ำกว่าอินโดนีเซียอยู่มาก
(อินโดนีเซีย มีอัตราเข้าถึง 73% และไทย มีอัตราเข้าถึง 60% ในปี 2024)
นั่นหมายความว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย เป็นตลาดที่คนมีกำลังซื้อ และยังขยายได้อีกมากในอนาคต
“ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ถือว่าอยู่ในจุดที่เรียกว่า Sweet spot
คือไม่ใช่จุดที่ดีที่สุด แต่เราอยู่ในจุดที่หอมหวานที่สุด
คนไทยชื่นชอบและนิยมการซื้อสินค้าออนไลน์ และใช้จ่ายเฉลี่ยใกล้เคียงกับผู้บริโภคชาวอินโดนีเซีย
แต่เทียบประชากรเราแล้ว การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเราต่ำกว่า
จึงสะท้อนว่าโอกาสทางการตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยยังมีอีกมหาศาล
ในอนาคตจะมีผู้คนเข้ามาโลกออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ ลูกค้าหน้าใหม่ยังเกิดใหม่เรื่อยๆ
หากผู้ประกอบการต้องการลงทุน ขยายตลาดช่องออนไลน์ ต้องดำเนินการตอนนี้เลย”
-เตือน 3 สิ่งควรระวัง เพื่อให้ร้านค้าอยู่รอด ในโลกอีคอมเมิร์ซแห่งอนาคต
แม้อีคอมเมิร์ซจะมีการขยายตัว และเป็นขุมทรัพย์ที่มีมูลค่ามหาศาล
แต่ก่อนจะบุกทำตลาด ผู้ประกอบการต้องเข้าใจทิศทางตลาดและผู้บริโภคให้ถ่องแท้
เพื่อระมัดระวัง เตรียมตัวรับมือ และสามารถอยู่รอดในโลกของอีคอมเมิร์ซในอนาคต
1) Understand lifestyles not trend
ต้องเข้าใจไลฟ์สไตล์ของลูกค้าก่อน ไม่ใช่เทรนด์
เพราะในยุคดิจิทัล เทรนด์ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเปลี่ยนได้ในเวลาเพียงไม่กี่วัน
ดังนั้น การทำความเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคเชิงลึก
จะช่วยให้ผู้ประกอบการขายสินค้าได้อย่างยั่งยืนกว่า
2) Understand journey not channels
ต้องเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าก่อนเลือกช่องทางจำหน่าย
เพื่อให้พ่อค้าแม่ค้า สามารถนำเสนอสินค้า บริการ และโปรโมชัน
ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น ออนไลน์ อย่าง Lazada, Shopee, JD Central
Social Commerce อย่าง Facebook, Instagram หรือ ช่องทางเว็ปไซต์
ได้อย่างสอดคล้อง และตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
เพราะแต่ละช่องทาง มีวัตถุประสงค์ ความเหมาะสม และกลุ่มเป้าหมาย แตกต่างกันไป
ไม่ใช่ทุกสินค้าและบริการ รวมถึงการตลาด
จะสามารถให้ผลลัพธ์ที่ดี ได้เหมือนกันหมดทุกช่องทาง
3) Understand patterns not numbers
ต้องเข้าใจรูปแบบ หรือแนวโน้ม ไม่ใช่ตัวเลข
ตลาดอีคอมเมิร์ซค่อนข้างมีรูปแบบที่ชัดเจน อย่างเช่น
ช่วงเทศกาลชอปปิง 11 11, 12 12 ของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างๆ จะมียอดขายพุ่งสูงกว่าปกติ
ผู้ประกอบการจึงไม่ควรยึดที่ตัวเลข เพราะไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากนัก
แต่ควรทำความเข้าใจรูปแบบ หรือแนวโน้ม ของสิ่งต่างๆ
เพื่อที่จะได้เตรียมพร้อมรับมือ รวมถึงคว้าโอกาสที่จะเข้ามาในอนาคตได้
เช่น หากเกิดโรคระบาดขึ้นอีกรอบ ก็จะทราบได้ทันทีว่า
สินค้าหมวดไหนที่ขายดีเป็นพิเศษ หรือขายไม่ดี
ซึ่งทำให้สามารถบริหารจัดการสินค้าในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น
ทั้งนี้ MyCloudFulfillment ยังเน้นย้ำว่า การใช้ Data ถือเป็นหัวใจสำคัญ
เพราะ ข้อมูลในอดีต เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการวางแผนงานได้แม่นยำ
ทำให้สังเกตเห็นว่า ทำอะไรผิดพลาดไปบ้าง และจะทำยังไงให้ธุรกิจดีขึ้นกว่าเมื่อวานได้
ซึ่ง MyCloudFulfillment มีจุดแข็งในเรื่องของ Data
ไม่ว่าจะเป็น การบริหารจัดการข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า (Order Management Data)
ที่สามารถช่วยรวมออเดอร์ของแต่ละช่องทางการขายมาเป็นที่เดียว
ช่วยให้จัดการข้อมูลการซื้อของลูกค้า จัดการช่องทางการขาย จัดโปรโมชันอย่างมีประสิทธิภาพ
และมองเห็นโอกาสการเติบโตได้ (Growth potential)
การบริหารจัดการข้อมูลการเก็บสต็อกสินค้า (Inventory Management Data)
ที่สามารถช่วยแนะนำสต็อกสินค้าที่เหมาะสมของแต่ละ SKU ได้ (Stock optimization)
ทำให้ธุรกิจบริหารค่าใช้จ่าย ค่าเช่า การเก็บสินค้า และ การขนส่งเติมสินค้าให้พอดี เพื่อช่วยไม่ให้เงินจม
การบริหารจัดการข้อมูลการแพ็กและส่งสินค้า (Fulfillment Performance Data)
ที่สามารถช่วยให้มองเห็นกำไรและต้นทุนของแต่ละสินค้า แต่ละออเดอร์ได้
ร้านค้าจะทราบได้ว่าสินค้าตัวไหนขายแล้วได้กำไรดี ตัวไหนขายแล้วขาดทุน
สามารถช่วยแนะนำวิธีให้ร้านค้า ทำให้การซื้อต่อครั้งแพงขึ้น และ ช่วยให้ทำกำไรได้ดีขึ้น
ศึกษารายละเอียดธุรกิจ และบริการของ MyCloudFulfillment เพิ่มเติม > https://www.mycloudfulfillment.com/
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.