"Sofia" หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ เสมือนมนุษย์ พร้อมเปิดไลน์การผลิต เริ่มต้น 1,000 ตัว

"Sofia" หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ เสมือนมนุษย์ พร้อมเปิดไลน์การผลิต เริ่มต้น 1,000 ตัว

8 ก.พ. 2021
บริษัท แฮนสัน โรโบติกส์ นำโดย เดวิด แฮนสัน ได้ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการ
เกี่ยวกับการเปิดฐานการผลิต หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์เสมือนมนุษย์
โดยเป้าหมายของบริษัท คือการเริ่มผลิตหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ ที่มีอยู่ 4 รูปแบบ ออกมาให้ได้ 1,000 ตัว ในครึ่งปีแรกของปี 2021 นี้
เรื่องทั้งหมด มาจากหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ต้นแบบ ที่ประสบความสำเร็จไปในปี 2016 เธอมีชื่อว่า “โซเฟีย (Sofia)”
และหลังจากการผลิตหุ่นยนต์โซเฟียออกมาแล้ว ทางบริษัทก็ได้พัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์ ซึ่งคือพี่น้องของ โซเฟีย ออกมาอีกมากถึง 9 ตัว
อาจกล่าวได้ว่า โซเฟียคือจุดเริ่มต้นของ การขยายขอบเขตนวัตกรรม ที่จะเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ในชีวิตประจำวัน และ อาจเปลี่ยนแปลงในเรื่อง การทดแทนในส่วนของแรงงาน ได้ในอนาคตอันใกล้
แล้วหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ต้นแบบ ที่ชื่อว่า “โซเฟีย” คือใคร มาจากไหน ?
โซเฟีย เป็นหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ ที่ผลิตโดยบริษัท แฮนสัน โรโบติกส์ ในประเทศฮ่องกง
ลืมตาดูโลกครั้งแรกในปี 2016
โซเฟีย สามารถพูด แสดงความรู้สึก และประมวลผลความคิดได้เหมือนกับมนุษย์
เพียงแต่ไม่ยังฉลาดเท่ามนุษย์ เพราะเธอต้องได้รับการเรียนรู้ และถูกมนุษย์ป้อนข้อมูลเข้าไป
โดยหุ่นยนต์โซเฟีย ได้รับการออกแบบหน้าตา ให้เหมือนกับอดีตดาราชื่อดังอย่าง “ออดรีย์ เฮปเบิร์น”
เพียงแต่ตัวหุ่นยนต์ตัวนี้ มีสัญชาติพลเมืองซาอุดีอาระเบีย
แล้วรู้หรือไม่ว่า เพื่อความสมบูรณ์ในการแสดงถึงความเป็นมนุษย์มากที่สุด
หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ตัวนี้ ยังได้ถูกป้อนข้อมูลเกี่ยวกับอุปนิสัย และความชอบของมนุษย์ ลงไปอีกด้วย เช่น
-นิสัยการอยากพัฒนาตัวเอง
-นิสัยการไม่ชอบคนขี้นินทา
-ความฝันในการอยากเป็นนักการทูต
-ชอบฟังเสียงเพลง
-มุมมองที่จะช่วยเหลือมนุษย์ และ การที่ไม่ชอบให้มนุษย์ขัดแย้งหรือทะเลาะกัน ซึ่งส่วนนี้คือที่มาและความหมายของชื่อ “โซเฟีย” อีกเช่นกัน
โดยประโยคแรกที่ โซเฟีย สื่อสารคือ “ไม่ต้องกังวลเรื่องฉัน หากพวกคุณทำดีกับฉัน ฉันก็จะทำดีกับพวกคุณ อย่างแน่นอน”
ปัจจุบันหุ่นยนต์โซเฟีย ได้รับการเรียนรู้ในเรื่องความเป็นมนุษย์อย่างต่อเนื่อง
แต่สิ่งที่ทำให้โซเฟีน เรียนรู้ได้ดีที่สุดคือ การใช้โซเชียลมีเดีย ยกตัวอย่างเช่น Twitter โดยบัญชีของเธอคือ @RealSophiaRobot
ยิ่งกว่านั้นคือ บางทวีต ก็เป็นทวีตที่มาจากความคิดของเธอเอง
ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการสื่อความคิด โดยมีทีมงานที่เป็นมนุษย์ พิมพ์อัปเดตสเตตัส เรียบเรียงถ้อยคำขึ้นมาให้ นั่นเอง
นอกจากความสามารถของของหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์แล้ว
ต่อไปในอนาคต เราอาจเห็นการดัดแปลงหน้าตาของหุ่นยนต์ ให้เป็นไปได้ตามความชอบของแต่ละคน หรือบริษัท
การลอกเลียนแบบเสียง นิสัย หรือแม้กระทั่งหน้าตา ของหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์นี้
ก็อาจจะสามารถเลียนแบบ คนดัง ไอดอล ที่เราชื่นชอบ หรือ แม้กระทั่งคนรัก ที่เสียชีวิตไปแล้วก็เป็นได้..
ทั้งหมดนี้ เรายังไม่ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีอื่นๆ อาทิ เทคโนโลยีที่นำอัตลักษณ์ของคนที่เสียชีวิต กลับมาสู่โลกออนไลน์ ที่บริษัท Microsoft เพิ่งยื่นจดสิทธิบัตรไป
หรือบริษัท Spotify ที่พัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ สำหรับดักฟังเสียง เพื่อช่วยแนะนำเพลงตามอารมณ์ของผู้ใช้งานในขณะนั้น
น่าสนใจว่า หากเทคโนโลยีทั้งหมด ได้รวมเข้าไปอยู่ในตัวของ “โซเฟีย” หรือหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์อื่นๆ แล้ว ผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร
โลกของเราหมุนเร็วมากขึ้นทุกวัน
ไม่แน่ว่า.. ถ้านวัตกรรมหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนสมบูรณ์แบบ
สักวันในอนาคต เราอาจจะได้เห็นมนุษย์ มีความรักกับ หุ่นยนต์ ก็คงอาจไม่ใช่เรื่องแปลก..
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.