
ใครเป็นเจ้าของ น้ำมันพืช ตราองุ่น ?
5 ก.ย. 2021
ตลาดน้ำมันพืชเพื่อการบริโภคของประเทศไทย ปี 2563
มีมูลค่ามากกว่า 20,000 ล้านบาท โดยจะแบ่งย่อยตลาด ตามประเภทของน้ำมันพืชได้เป็น
มีมูลค่ามากกว่า 20,000 ล้านบาท โดยจะแบ่งย่อยตลาด ตามประเภทของน้ำมันพืชได้เป็น
น้ำมันปาล์ม 56%
น้ำมันถั่วเหลือง 40%
น้ำมันรำข้าว 2%
อื่น ๆ 2%
น้ำมันถั่วเหลือง 40%
น้ำมันรำข้าว 2%
อื่น ๆ 2%
และถ้าเจาะเฉพาะในตลาดน้ำมันถั่วเหลือง
แบรนด์ที่ครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด ก็คือ “องุ่น”
โดยครองส่วนแบ่งตลาดที่ 59% ซึ่งทิ้งห่างคู่แข่งไปหลายช่วงตัว
แบรนด์ที่ครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด ก็คือ “องุ่น”
โดยครองส่วนแบ่งตลาดที่ 59% ซึ่งทิ้งห่างคู่แข่งไปหลายช่วงตัว
บริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TVO ที่เป็นเจ้าของแบรนด์องุ่น
จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และมีมูลค่าบริษัทกว่า 26,280 ล้านบาท
จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และมีมูลค่าบริษัทกว่า 26,280 ล้านบาท
ที่น่าสนใจคือ แม้บริษัทจะเป็นผู้ผลิตน้ำมันพืชหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันข้าวโพด, น้ำมันทานตะวัน ฯลฯ
แต่แหล่งรายได้หลักของบริษัท กลับไม่ใช่น้ำมันพืช ตามชื่อของบริษัท..
แต่แหล่งรายได้หลักของบริษัท กลับไม่ใช่น้ำมันพืช ตามชื่อของบริษัท..
แล้วผลิตภัณฑ์อะไร ทำเงินให้กับบริษัทมากที่สุด ?
ก่อนจะไปหาคำตอบ ขอย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของธุรกิจ และแบรนด์องุ่น กันก่อน
ก่อนจะไปหาคำตอบ ขอย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของธุรกิจ และแบรนด์องุ่น กันก่อน
คุณโปสือ และคุณบั๊กเซี้ยม แซ่เตียว (วิทยฐานกรณ์) สองสามีภรรยา ที่เดินทางจากจีนแผ่นดินใหญ่ เข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย และอาศัยอยู่แถวตลาดพลู
ทั้งสองได้เดินบนเส้นทางเถ้าแก่ ด้วยการก่อตั้งโรงงานกรอด้าย และโรงสี ขนาดย่อม ๆ ขึ้น
ต่อมาคุณโปสือ ได้แสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ
ด้วยการร่วมทุนกับเพื่อน ๆ ก่อตั้งบริษัท โรงกลั่นน้ำมันนครชัยศรี จำกัด ในปี 2510 เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันรำข้าว ด้วยกำลังการผลิต 50 ตัน/วัน
ซึ่งคุณโปสือ ยังเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อย และไม่ได้เข้าไปบริหาร
ด้วยการร่วมทุนกับเพื่อน ๆ ก่อตั้งบริษัท โรงกลั่นน้ำมันนครชัยศรี จำกัด ในปี 2510 เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันรำข้าว ด้วยกำลังการผลิต 50 ตัน/วัน
ซึ่งคุณโปสือ ยังเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อย และไม่ได้เข้าไปบริหาร
อย่างไรก็ดี ช่วงแรก ๆ ผลประกอบการของบริษัท โรงกลั่นน้ำมันนครชัยศรี ไม่ค่อยดีนัก
ทำให้เพื่อน ๆ ของคุณโปสือ ต่างถอดใจ และขอถอนตัวจากธุรกิจกันไปหมด
ทำให้เพื่อน ๆ ของคุณโปสือ ต่างถอดใจ และขอถอนตัวจากธุรกิจกันไปหมด
คุณโปสือ จึงตัดสินใจรับซื้อหุ้นทั้งหมดต่อจากเพื่อน ๆ แล้วเข้ามาบริหารกิจการด้วยตนเอง
พร้อมกับส่งไม้ต่อให้กับลูก ๆ ของเขา มาช่วยบริหารด้วยอีกแรง
โดยคุณโปสือและคุณบั๊กเซี้ยม มีลูกด้วยกันทั้งหมด 8 คน
พร้อมกับส่งไม้ต่อให้กับลูก ๆ ของเขา มาช่วยบริหารด้วยอีกแรง
โดยคุณโปสือและคุณบั๊กเซี้ยม มีลูกด้วยกันทั้งหมด 8 คน
หลังจากนั้น ด้วยความร่วมแรงร่วมใจกันของคนในครอบครัว
ทำให้ธุรกิจของตระกูลวิทยฐานกรณ์ เริ่มฟื้นตัวและมีชีวิตชีวามากขึ้น
ด้วยผลประกอบการที่มีแนวโน้มสดใส และการขยายกำลังการผลิตเพิ่มเป็น 200 ตัน/วัน
ทำให้ธุรกิจของตระกูลวิทยฐานกรณ์ เริ่มฟื้นตัวและมีชีวิตชีวามากขึ้น
ด้วยผลประกอบการที่มีแนวโน้มสดใส และการขยายกำลังการผลิตเพิ่มเป็น 200 ตัน/วัน
และปี 2528 คุณโปสือก็มองหาโอกาสทางธุรกิจอีกครั้ง และก่อตั้งบริษัทใหม่ขึ้นในชื่อ บริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด
เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันพืชบริโภคจากถั่วเหลือง ภายใต้แบรนด์ “องุ่น” และวัตถุดิบอาหารสัตว์ ด้วยกำลังการผลิต 400 ตันเมล็ดถั่วเหลือง/วัน
เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันพืชบริโภคจากถั่วเหลือง ภายใต้แบรนด์ “องุ่น” และวัตถุดิบอาหารสัตว์ ด้วยกำลังการผลิต 400 ตันเมล็ดถั่วเหลือง/วัน
เหตุผลที่ใช้ชื่อแบรนด์ว่า องุ่น ซึ่งอาจดูไม่เข้ากับตัวผลิตภัณฑ์เท่าไร
ก็เพราะองุ่น ในภาษาจีน มีความหมายว่า สิ่งที่มีคนอุ้มชู จึงเป็นชื่อมงคลไปในตัว
ก็เพราะองุ่น ในภาษาจีน มีความหมายว่า สิ่งที่มีคนอุ้มชู จึงเป็นชื่อมงคลไปในตัว
หลังจากแบรนด์องุ่น เข้าไปตีตลาดน้ำมันถั่วเหลืองได้ไม่นาน
ด้วยจุดเด่นในเรื่องของ สูตรถั่วเหลือง 100% ไม่ใช่น้ำมันพืชแบบผสม เหมือนของคู่แข่งในสมัยนั้น
ทำให้แบรนด์สามารถขยายตลาด และแย่งส่วนแบ่งการตลาดมาได้อย่างรวดเร็ว จนขึ้นเป็นแบรนด์อันดับต้น ๆ ของตลาดได้
ด้วยจุดเด่นในเรื่องของ สูตรถั่วเหลือง 100% ไม่ใช่น้ำมันพืชแบบผสม เหมือนของคู่แข่งในสมัยนั้น
ทำให้แบรนด์สามารถขยายตลาด และแย่งส่วนแบ่งการตลาดมาได้อย่างรวดเร็ว จนขึ้นเป็นแบรนด์อันดับต้น ๆ ของตลาดได้
และเพื่อต้องการขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น บริหารงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในปี 2533 บริษัท น้ำมันพืชไทย จึงได้เข้าซื้อทรัพย์สินทั้งหมดของ บริษัท โรงกลั่นน้ำมันนครชัยศรี
และขยายกำลังการผลิตเป็น 800 ตันเมล็ดถั่วเหลือง/วัน
ในปี 2533 บริษัท น้ำมันพืชไทย จึงได้เข้าซื้อทรัพย์สินทั้งหมดของ บริษัท โรงกลั่นน้ำมันนครชัยศรี
และขยายกำลังการผลิตเป็น 800 ตันเมล็ดถั่วเหลือง/วัน
พร้อมกับนำบริษัทเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปีเดียวกัน
ปัจจุบัน บริษัท น้ำมันพืชไทย มีกำลังการผลิตกว่า 6,500 ตันเมล็ดถั่วเหลือง/วัน
ผลิตและจําหน่ายสินค้าสองประเภทหลัก ๆ คือ น้ำมันพืชบริโภค และวัตถุดิบอาหารสัตว์
ผลิตและจําหน่ายสินค้าสองประเภทหลัก ๆ คือ น้ำมันพืชบริโภค และวัตถุดิบอาหารสัตว์
ยกตัวอย่างเช่น
- น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันข้าวโพด, น้ำมันทานตะวัน, น้ำมันคาโนลา ตราองุ่น
- น้ำมันมะกอกธรรมชาติ, น้ำมันมะกอกผ่านกรรมวิธี ตราโมนินี่
- กากถั่วเหลือง “ทีวีโอ ไฮโพรมีล” (ใช้เป็นวัตถุดิบหลักสำหรับผลิตอาหารสัตว์ เช่น สุกร, ไก่)
- วัตถุดิบอื่น ๆ สำหรับผลิตอาหารสัตว์ เช่น ทีวีโอ ดีฮัล ซอยมิล, ทีวีโอ ฟูลแฟตซอย, ทีวีโอ ดีฮัล ฟูลแฟตซอย, ทีวีโอ ซอยฮัล
- น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันข้าวโพด, น้ำมันทานตะวัน, น้ำมันคาโนลา ตราองุ่น
- น้ำมันมะกอกธรรมชาติ, น้ำมันมะกอกผ่านกรรมวิธี ตราโมนินี่
- กากถั่วเหลือง “ทีวีโอ ไฮโพรมีล” (ใช้เป็นวัตถุดิบหลักสำหรับผลิตอาหารสัตว์ เช่น สุกร, ไก่)
- วัตถุดิบอื่น ๆ สำหรับผลิตอาหารสัตว์ เช่น ทีวีโอ ดีฮัล ซอยมิล, ทีวีโอ ฟูลแฟตซอย, ทีวีโอ ดีฮัล ฟูลแฟตซอย, ทีวีโอ ซอยฮัล
ทั้งนี้ กากถั่วเหลือง คือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดถั่วเหลืองที่ผ่านกระบวนการสกัดน้ำมันถั่วเหลืองแล้ว
จึงเป็นแหล่งโปรตีนสําคัญ ที่มีคุณภาพสูง นิยมและเหมาะสําหรับนํามาผสมในสูตรอาหารสัตว์
จึงเป็นแหล่งโปรตีนสําคัญ ที่มีคุณภาพสูง นิยมและเหมาะสําหรับนํามาผสมในสูตรอาหารสัตว์
สำหรับผลประกอบการของ บริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน)
ปี 2562 มีรายได้ 23,744 ล้านบาท กำไร 1,411 ล้านบาท
ปี 2563 มีรายได้ 25,046 ล้านบาท กำไร 1,656 ล้านบาท
ปี 2562 มีรายได้ 23,744 ล้านบาท กำไร 1,411 ล้านบาท
ปี 2563 มีรายได้ 25,046 ล้านบาท กำไร 1,656 ล้านบาท
โดยมีสัดส่วนรายได้ มาจาก
น้ำมันถั่วเหลือง 33%
อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ 62%
อื่น ๆ 5%
น้ำมันถั่วเหลือง 33%
อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ 62%
อื่น ๆ 5%
อ่านมาถึงตรงนี้ ก็จะได้คำตอบแล้วว่า แหล่งรายได้หลัก ที่มีสัดส่วนมากที่สุดของบริษัท ก็คือ ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ที่มาจากการขายวัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น กากถั่วเหลือง นั่นเอง..
ซึ่งนอกจากในประเทศไทยแล้ว บริษัทยังขยายตลาดไปยังต่างประเทศด้วย
ผ่านการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา, ลาว, เมียนมา และเวียดนาม)
ผ่านการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา, ลาว, เมียนมา และเวียดนาม)
โดยบริษัทมีสัดส่วนรายได้จากภายในประเทศ คิดเป็น 91%
และรายได้จากนอกประเทศ คิดเป็น 9%
และรายได้จากนอกประเทศ คิดเป็น 9%
ปัจจุบัน ผู้ถือหุ้นใหญ่สุดของ บริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน) ก็ไม่พ้นตระกูลวิทยฐานกรณ์
ซึ่งกลุ่มตระกูลวิทยฐานกรณ์ ถือหุ้นรวมกันอยู่กว่า 49% จากจำนวนหุ้นทั้งหมด
ซึ่งกลุ่มตระกูลวิทยฐานกรณ์ ถือหุ้นรวมกันอยู่กว่า 49% จากจำนวนหุ้นทั้งหมด
อย่างไรก็ดี บริษัทไม่ได้มีการบริหารแบบธุรกิจครอบครัวแล้ว เพราะเปิดกว้างให้บุคคลภายนอกมืออาชีพ ที่มีความสามารถ เข้ามารับตำแหน่งผู้บริหาร และทำหน้าที่บริหารธุรกิจแทน
เพื่อให้ธุรกิจเติบโตต่อไปได้ และแสดงศักยภาพออกมาให้ได้มากที่สุด..
เพื่อให้ธุรกิจเติบโตต่อไปได้ และแสดงศักยภาพออกมาให้ได้มากที่สุด..