กรณีศึกษา LINE SHOPPING จะช่วยแม่ค้าออนไลน์ทำมาค้าคล่อง แถมยอดขายพุ่งได้อย่างไร

กรณีศึกษา LINE SHOPPING จะช่วยแม่ค้าออนไลน์ทำมาค้าคล่อง แถมยอดขายพุ่งได้อย่างไร

5 พ.ย. 2021
แม้การซื้อขายออนไลน์ จะทลายขีดจำกัดของการซื้อขายแบบเดิม ๆ เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้มีโอกาสปั้นแบรนด์ และแจ้งเกิดได้ง่ายขึ้น
แต่ก็ต้องยอมรับว่า เมื่อการซื้อขายออนไลน์ กลายเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่
ยิ่งทำให้สมรภูมินี้ ไม่ต่างจากน่านน้ำสีเลือดและกำลังเป็นโจทย์ที่ท้าทายไม่น้อยสำหรับเจ้าของธุรกิจ
โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ที่อาจจะเพิ่งเริ่มต้นธุรกิจ หรือบางรายทำธุรกิจมานานแต่เพิ่งหันมาจับตลาดออนไลน์ จึงมีข้อจำกัดหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอำนาจในการต่อรองหรืองบประมาณในการทำธุรกิจ
พอเป็นอย่างนี้ LINE SHOPPING ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม Social Commerce ที่ LINE พัฒนาขึ้น
เพื่อเป็นเครื่องมือให้ร้านค้าที่ขายผ่าน LINE Official Account ให้ขายได้สะดวกขึ้น พร้อมเป็นช่องทางให้ผู้ซื้อและร้านค้ามาเจอกัน สามารถทั้งช้อปและแชท ครบจบในแอปฯ เดียว
เลยอยากช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยให้สามารถแข่งขัน และยืนหยัดอย่างแข็งแกร่งในโลกธุรกิจ
ด้วยการนำจุดแข็งของการเป็น Social Commerce ซึ่งเป็นหนึ่งในการซื้อขายออนไลน์ที่ทรงพลัง มาสร้างแต้มต่อให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ทำมาค้าขายได้คล่องตัว ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง ไหนจะต้องรับลูกค้า เคลียร์ระบบหลังบ้าน
ที่สำคัญ ไม่ต้องกังวลว่าต้นทุนจะเพิ่ม เพราะออกแบบฟีเจอร์ที่คิดว่าตรงใจพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มาให้ใช้ได้ฟรี ไม่ต้องจ่ายสักบาท
แต่ก่อนจะเฉลยว่า ฟีเจอร์ที่ LINE SHOPPING จัดเต็มเพื่อช่วยพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จะมีอะไรบ้าง
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า Social Commerce คืออะไรและมีจุดแข็งอย่างไร
ปัจจุบัน ช่องทางการซื้อขายออนไลน์ มีหลากหลายช่องทาง
โดยช่องทางหลัก ๆ ได้แก่ เว็บไซต์หลักของแบรนด์, E-marketplace อย่าง Shopee, Lazada และ Social Commerce ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในช่องทางที่ใกล้ตัวทุกคนมากที่สุดก็ว่าได้
เพราะเป็นการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ที่คนไทยคุ้นเคย ไม่ว่าจะเป็น LINE, Facebook หรือ Instagram
จากผลสำรวจของ Global Digital Report 2021 โดย We Are Social และ Hootsuite ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบริหารจัดการสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า คนไทยมีสถิติการใช้โซเชียลมีเดียสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
ที่น่าสนใจคือ คนไทยไม่ได้ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อเสพข่าวหรือติดตามความเคลื่อนไหวของคนรอบตัวเท่านั้น
แต่รวมไปถึงการช้อปออนไลน์ อีกด้วย
จากสถิติพบว่า คนไทยช้อปออนไลน์มากเป็นอันดับ 4 ของโลก และมีการซื้อของออนไลน์ผ่านมือถือมากเป็นอันดับ 8 ของโลก
นี่เลยเป็นเหตุผลว่าทำไม Social Commerce ถึงเป็นช่องทางที่ทั้งใกล้ตัวคนไทยและค่อนข้างได้เปรียบเมื่อเทียบกับช่องทางอื่น
เพราะแค่ลูกค้านั่งไถฟีดเพลิน ๆ ก็มีโอกาสเจอร้านค้าที่มีสินค้าหรือบริการที่กำลังสนใจหรืออยากซื้อพอดีได้แค่ปลายนิ้ว
ถ้าอยากดูรายละเอียดเพิ่มเติมหรือสงสัยตรงไหนก็สามารถทักไปคุยกับร้านค้าได้โดยตรง ไม่ต้องยุ่งยาก ไปโหลดแอปฯ ใหม่มาเพิ่มให้หนักเครื่อง
ที่สำคัญ ร้านค้าใน Social Commerce ไม่ต้องกังวลว่า ถ้าอยากกระตุ้นความสนใจและดึงคนเข้าไปในแพลตฟอร์มเยอะ ๆ จะต้องอาศัยการยิงโฆษณา​ หรือจัดโปรโมชันแรง ๆ
เพราะ Social Commerce เป็นแพลตฟอร์มที่คนส่วนใหญ่ใช้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว
เปรียบเทียบให้เห็นภาพเหมือนการเปิดหน้าร้านในทำเลที่มีคนเดินผ่านทั้งวัน
ย่อมมี Traffic สูงกว่าร้านที่ไปเปิดในทำเลที่ต้องรอช่วงเทศกาลสำคัญ หรือตอนจัดโปรโมชัน ลูกค้าถึงจะแวะเวียนมา​
อีกแต้มต่อสำคัญของ Social Commerce ก็เพราะเป็นการขายผ่านโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นช่องทางที่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายใช้ในการสื่อสารเป็นหลักอยู่แล้ว
ดังนั้น จึงตัดปัญหา ลูกค้าทักมาแล้วไม่เห็นเลยตอบช้า หรือพอทางร้านตอบกลับไป ลูกค้าก็อาจจะไม่ได้เปิดอ่าน
เพราะอย่าลืมว่า การซื้อของออนไลน์ ที่ลูกค้าไม่ได้เห็นหรือสัมผัสของจริง ยิ่งต้องการความมั่นใจเป็นสองเท่า
แทนที่จะอ่านแค่ข้อมูลที่ทางร้านให้ไว้หรืออ่านจากรีวิว ซึ่งอาจจะได้คำตอบที่ตรงใจบ้าง ไม่ตรงใจบ้าง
ลูกค้าก็อาจจะมีคำถามที่อยากให้ร้านค้าช่วยเคลียร์
ซึ่งหากร้านค้าให้บริการได้ดี สามารถให้ข้อมูลหรือเสนอโปรโมชันที่ตรงใจก็มีโอกาสที่จะปิดการขายได้ง่ายขึ้นไม่พอ ลูกค้าอาจจะประทับใจและบอกต่อ หรือกลายเป็นลูกค้าประจำ
อีกหนึ่งไม้ตายของการทำ Social Commerce ที่น่าจะถูกใจผู้ประกอบการ SMEs คือ ไม่ต้องใช้วิธีลดแลกแจกแถม ซึ่งนอกจากจะเป็นการเฉือนกำไร แถมยังไม่ส่งผลดีต่อแบรนด์ในระยะยาว​
แต่ร้านค้าสามารถเปลี่ยนมามัดใจลูกค้าและเพิ่มมูลค่าให้แบรนด์ ด้วยการใช้อานุภาพของการสร้างคอนเทนต์คุณภาพ นำเสนอสตอรีที่น่าสนใจของแบรนด์แทน
เพราะแม้สินค้าบางอย่างอาจจะดูพื้น ๆ ซื้อแบรนด์ไหนก็เหมือนกัน
แต่ถ้าผู้ขายสามารถสร้างสตอรีที่น่าสนใจให้สินค้า ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป ทำให้ตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น และถือเป็นการสร้างจุดขายและความแตกต่างให้กับแบรนด์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจในระยะยาวอีกด้วย
มาถึงตรงนี้ คงพอเห็นภาพแล้วว่า ทำไม Social Commerce ถึงเป็นขุมพลังที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ไม่ควรมองข้าม
และเพื่อให้การใช้ Social Commerce ทรงประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างที่เกริ่นไว้ตอนต้น LINE SHOPPING ได้พัฒนาฟีเจอร์ที่ครบครันและรู้ใจพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์อย่างไร้ที่ติ ไม่ว่าจะเป็น
- ฟีเจอร์ที่ช่วยให้ร้านค้าปิดการขายผ่านแชทได้ง่ายและเร็วขึ้น
ยกตัวอย่าง หากลูกค้าทักมาถามหาสินค้าผ่านทางแชทใน LINE Official Account
เครื่องมือของ LINE SHOPPING จะมีเทมเพลตต่าง ๆ ที่มาช่วยอำนวยความสะดวก ไม่ว่าจะเป็นการออกออเดอร์ผ่านแชท เพื่อให้ร้านค้าปิดการขายได้สะดวกขึ้น
หรือถ้าลูกค้าต้องการเลือกกดซื้อสินค้าเอง LINE SHOPPING ก็มีตัวช่วยสร้างแค็ตตาล็อกร้านค้าออนไลน์
ให้ร้านค้าเสมือนมีหน้าเว็บไซต์ของร้านเอง ลูกค้าสามารถเข้ามาเลือกชมสินค้าได้ตามสะดวก ทำให้ร้านค้าสามารถสร้างยอดขายได้ 24 ชม.
ที่สำคัญไม่ต้องกลัวว่าออเดอร์เข้ามาเยอะ แล้วจะดูแลไม่ไหว เพราะมีระบบหลังบ้านที่แข็งแรง
ด้วยฟีเจอร์ที่ช่วยจัดการออเดอร์ จัดการสต็อก สร้างรายงานการขาย และระบบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิต มาช่วยรองรับ
เพียงแต่ตรงจุดนี้ เพื่อแลกกับความสะดวกสบายของลูกค้าที่เลือกชำระเงินผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตด้วย Rabbit LINE Pay
พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จะต้องยอมเสียค่าธรรมเนียมให้กับทาง Rabbit LINE Pay โดยจะคิดอยู่ที่ 2.5% ต่อออเดอร์
- ฟีเจอร์ช่วยรักษาลูกค้าเก่าพร้อมขยายฐานลูกค้าใหม่​
เพราะรู้ดีว่าต้นทุนในการหาลูกค้าใหม่ไม่น้อย LINE SHOPPING เลยมีฟีเจอร์ช่วยสะสมฐานลูกค้าไว้ใน LINE Official Account
พร้อมนำฐานข้อมูลลูกค้ามาช่วยจัดกลุ่มลูกค้า (Audience Segmentation) เพื่อให้ร้านค้าสามารถทำการตลาด ยิงข้อความหรือทำแคมเปญได้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น​
- เพิ่มโอกาสในการโปรโมตร้านค้า อย่าลืมว่า ปัจจุบันไลน์มีฐานผู้ใช้งานในไทยมากกว่า 50 ล้านคน
ดังนั้น การเปิดร้านค้าบน LINE SHOPPING ก็เหมือนการพาแบรนด์ไปเดบิวต์ในช่องทางที่ Mass พอตัว
แถมยังมีแคมเปญอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยโปรโมต
ไม่ว่าจะเป็นการโปรโมตบนแพลตฟอร์ม, การแจก LINE POINTS เพื่อดึงดูดลูกค้าใหม่ และชวนให้ลูกค้าเดิมกลับมาซื้อซ้ำ รวมไปถึง กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการขายออนไลน์ได้ฟรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็นต้น
หลายคนอาจจะคิดว่า สาเหตุที่ทำให้ LINE SHOPPING เทหมดหน้าตักแบบนี้ ก็เพราะหวังจะได้ค่าสมัครหรือค่าคอมมิชชัน จากร้านค้า
แต่งานนี้ ย้ำกันชัด ๆ ว่า ฟีเจอร์ LINE SHOPPING จัดให้ใช้กันแบบฟรี ๆ ไม่มีการเก็บค่าสมัคร, ค่าคอมมิชชัน และค่า GP กับร้านค้า
พูดง่าย ๆ ว่า LINE SHOPPING ยกสเปซมาให้ผู้ประกอบการไทยได้มาเปิดหน้าร้านแบบฟรี ๆ
แถมยังพยายามหาตัวช่วยมาอำนวยความสะดวก และติดปีกให้ผู้ประกอบการไทยไม่ว่าหน้าเก่าหน้าใหม่แข็งแรง พร้อมยืนหยัดในสมรภูมิธุรกิจ ไม่ว่าอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบไหนก็ตาม
สุดท้ายนี้ ถ้าถามว่า LINE SHOPPING ทำทั้งหมดนี้ไปเพื่ออะไร..
แน่นอนว่​า ก็เพื่อช่วยผู้ประกอบการรายย่อย ทำให้ชีวิตของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ง่ายและสะดวกขึ้น
ขณะที่ผู้ใช้งานก็ Win เพราะมี LINE เป็นเหมือนแอปฯ คู่ใจที่พร้อมเป็นทุกอย่าง เติมเต็มในทุกมิติของชีวิต
สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่กำลังมองหาผู้ช่วยที่รู้ใจมาช่วยปั้นธุรกิจให้ดัง แถมมีออเดอร์เข้ารัว ๆ โดยไม่ต้องควักต้นทุนเพิ่มสักบาท
อย่ารอช้า ไม่ว่าจะขายของออนไลน์อยู่แล้ว​ หรือเพิ่งเริ่มธุรกิจ สามารถสมัครเพื่อเปิดร้านบน LINE SHOPPING ได้แล้ว
แต่ถ้าอยากมีเครื่องมือและช่องทางในการจัดการธุรกิจที่ครอบคลุมมากขึ้น ก็แค่ลงทะเบียนเป็น LINE SHOPPING Seller ได้เลยที่ https://lineshoppingseller.com/
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.