
จัดผังร้านค้าแบบไหน ถึงโน้มน้าวให้คนยอมจ่ายได้มากขึ้น ?
16 พ.ค. 2022
เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมเราเดิน IKEA ได้เป็นชั่วโมง ๆ
หรือบางร้าน ทำไมรู้สึกอยากเข้าไปเดินวนเล่น ๆ สักรอบสองรอบ
แต่ในขณะที่บางร้าน ทำไมเราถึงเข้าไปแป๊บ ๆ เดินยังไม่ทั่วร้าน ก็รู้สึกอยากเดินออกมาแล้ว
แต่ในขณะที่บางร้าน ทำไมเราถึงเข้าไปแป๊บ ๆ เดินยังไม่ทั่วร้าน ก็รู้สึกอยากเดินออกมาแล้ว
ทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของการจัดผังร้านค้า รวมถึงสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ
เช่น เสียงเพลง, พนักงาน, แสง-สีสันที่ใช้, ความกว้างของช่องทางเดิน
ที่ล้วนแล้วแต่ทำให้เรา มีประสบการณ์ที่ต่างกันไปในร้านค้าแต่ละร้าน
เช่น เสียงเพลง, พนักงาน, แสง-สีสันที่ใช้, ความกว้างของช่องทางเดิน
ที่ล้วนแล้วแต่ทำให้เรา มีประสบการณ์ที่ต่างกันไปในร้านค้าแต่ละร้าน
ซึ่งการจัดผังร้านค้า หรือ Layout ของร้าน ก็มีอยู่หลายแบบด้วยกัน ได้แก่
1. ผังแบบ Grid จะเป็นลักษณะการจัดวางที่เป็นแบบล็อก ๆ
สามารถเดินทะลุไปมาได้ และเชื่อมต่อกันทั้งหมด ทำให้การเลือกสินค้า และการเดินชมสินค้าเป็นเรื่องง่าย
ถ้านึกไม่ออก ลองนึกถึงผังของร้าน 7-Eleven
สามารถเดินทะลุไปมาได้ และเชื่อมต่อกันทั้งหมด ทำให้การเลือกสินค้า และการเดินชมสินค้าเป็นเรื่องง่าย
ถ้านึกไม่ออก ลองนึกถึงผังของร้าน 7-Eleven
โดยในการจัดวาง ผู้ขายส่วนมากจะนำสินค้าที่มีความต้องการสูง ไปไว้ด้านหลังสุดของร้าน
เนื่องจากทางร้านต้องการดึงให้ลูกค้า เดินผ่านชั้นขายสินค้าอื่น ๆ ก่อน เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าที่ลูกค้าเดินผ่าน
เนื่องจากทางร้านต้องการดึงให้ลูกค้า เดินผ่านชั้นขายสินค้าอื่น ๆ ก่อน เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าที่ลูกค้าเดินผ่าน
ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ว่าร้าน 7-Eleven ทุกสาขา จะวางตู้น้ำดื่มซึ่งเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูง ไว้บริเวณข้างในสุด
ส่วนชั้นวางสินค้าอื่น ๆ จะถูกแบ่งเป็นหมวดหมู่ชัดเจน
ส่วนชั้นวางสินค้าอื่น ๆ จะถูกแบ่งเป็นหมวดหมู่ชัดเจน
ผังร้านค้าแบบนี้ เหมาะสำหรับร้านค้าที่มีสินค้าเยอะ หลายหมวดหมู่
มีข้อดีตรงที่ลูกค้าจะเข้าใจง่าย หาสินค้าเจอเองได้ง่าย ๆ และเพิ่มโอกาสในการหยิบสินค้าอื่นได้ดี
มีข้อดีตรงที่ลูกค้าจะเข้าใจง่าย หาสินค้าเจอเองได้ง่าย ๆ และเพิ่มโอกาสในการหยิบสินค้าอื่นได้ดี
แต่ข้อเสียคือ เป็นรูปแบบผังร้านค้าที่ใช้กันทั่วไป ไม่มีความแปลกใหม่ จึงไม่แนะนำสำหรับร้านค้าที่ขายงานด้านความคิดสร้างสรรค์ เช่น เสื้อผ้าแบรนด์ หรือกระเป๋า
ตัวอย่างร้านค้าที่ใช้ผังแบบ Grid เช่น 7-Eleven, Lotus’s, Watsons และร้านสะดวกซื้อทั่วไป
2. ผังแบบ Racetrack หรือ Loop เป็นลักษณะของร้านค้าที่มีทางเดินหลักกำหนดไว้ชัดเจนรอบร้านค้า ซึ่งฝั่งที่ติดกำแพง และอีกฝั่งตรงกลาง จะเต็มไปด้วยสินค้าต่าง ๆ ที่ถูกแบ่งเป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน
แล้วทางเดินก็มักจะวนกลับมาเจอกับทางเข้าในตอนแรก เป็นเหมือนลักษณะการเดินวนนั่นเอง
เช่น สินค้าไลฟ์สไตล์ในโซน Central ที่เมื่อเดินเข้าไป เราจะเห็นสินค้าแบรนด์ต่าง ๆ อยู่ข้างทาง
ซึ่งข้อดีคือ จะทำให้ลูกค้าสามารถเข้าไปดูสินค้าอื่น ๆ ได้ง่าย เหมาะกับการเดินเล่น เลือกชมสินค้าไปเรื่อย ๆ แบบไม่รีบร้อน
แต่ข้อเสียคือ หากลูกค้ารีบ และมีสินค้าที่ต้องการในใจแล้ว ก็จะพุ่งตรงไปที่แบรนด์นั้นแบบที่ไม่สนใจแบรนด์อื่น ๆ ข้างทางเลย
3. ผังแบบ Forced-Path หรือการบังคับทิศทางเดิน เป็นผังร้านค้าประเภทที่บังคับทางเดินให้ลูกค้าเดินตามทางที่วางไว้ให้
เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการให้ลูกค้า ใช้เวลาอยู่ภายในร้านค้านาน ๆ
เพื่อให้ได้ชมสินค้าอย่างถี่ถ้วนครบทุกประเภท และมีส่วนช่วยในการเพิ่มอัตราการตัดสินใจซื้อ สำหรับสินค้าที่อาจจะไม่ได้อยากได้ในตอนแรก
เพื่อให้ได้ชมสินค้าอย่างถี่ถ้วนครบทุกประเภท และมีส่วนช่วยในการเพิ่มอัตราการตัดสินใจซื้อ สำหรับสินค้าที่อาจจะไม่ได้อยากได้ในตอนแรก
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ IKEA ที่จะมีลูกศรนำทางเราไปเรื่อย ๆ ให้เดินดูครบทุกโซน
นอกจากนี้ ยังเหมาะกับธุรกิจประเภทขายประสบการณ์อย่าง บ้านผีสิง หรือพิพิธภัณฑ์บางแห่งด้วย
นอกจากนี้ ยังเหมาะกับธุรกิจประเภทขายประสบการณ์อย่าง บ้านผีสิง หรือพิพิธภัณฑ์บางแห่งด้วย
แต่ข้อเสียคือ การจัดร้านค้าประเภทนี้ จะไม่เหมาะกับลูกค้าที่วางแผนมาล่วงหน้าแล้วว่าต้องการอะไร เพราะอย่างไรก็ต้องเดินให้ครบรอบที่วางไว้อยู่ดี
4. ผังแบบ Boutique Layout หรือแบบ Free Form หรือพูดง่าย ๆ คือผังร้านค้าแบบฟรีสไตล์ ที่ออกแบบตามความต้องการของร้านค้า ซึ่งส่วนมากจะเป็นสินค้าแฟชั่น ที่ต้องใช้อารมณ์ในการตัดสินใจซื้อร่วมด้วย
โดยอาจมีการใช้ผังรูปแบบ Grid ผสมกับผังรูปแบบอื่นร่วมกันใน 1 ร้านค้า
เช่น เวลาเราเดินเข้าร้าน Uniqlo สิ่งแรกที่เจอมักเป็นแท่นโชว์เสื้อผ้าฤดูกาลใหม่ และสินค้าสต็อกรอบ ๆ แท่นโชว์
เดินเข้าไปอีกนิด ก็จะเป็นบล็อกแบ่งหมวดหมู่สินค้าที่ใช้ผังแบบ Grid ที่วางขายเสื้อผ้าธรรมดา รวมถึงมีหุ่นตั้งโชว์ในบางจุด
หรืออย่างร้านแบรนด์เนม หากเดินเข้าไป เราจะรู้สึกว่ามันไม่ได้มีความเป็นแผนผังที่ชัดเจน และจะเน้นวางโต๊ะตรงกลางร้านให้ดูเด่น ๆ เพื่อแสดงสินค้าตัวไฮไลต์
บ้างก็แต่งด้วยการนำหุ่นโพสท่าชิก ๆ มาสร้างอารมณ์ให้กับลูกค้า
บ้างก็แต่งด้วยการนำหุ่นโพสท่าชิก ๆ มาสร้างอารมณ์ให้กับลูกค้า
นอกจากนี้ ปัจจุบันผังแบบ Free Form ก็ถูกนำไปปรับใช้ในหลาย ๆ อุตสาหกรรม เนื่องจากมีความยืดหยุ่นสูง ไม่ตายตัว และไม่ทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกเบื่อ ในการเดินช็อปปิงด้วยนั่นเอง
อย่างไรก็ดี แม้การจัดผังของร้านจะถือเป็นส่วนประกอบสำคัญ ในการกำหนดจังหวะการเดินของลูกค้า และโอกาสในการซื้อสินค้าได้ก็จริง
แต่ก็ยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ อีก อย่างเช่น เสียงเพลงและแสง ที่ส่งผลต่อความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้บริโภค
ถ้าหากว่าเป็นเพลงคลอเบา ๆ บวกกับแสงไฟสลัว ๆ ก็จะทำให้ลูกค้าอยากอยู่ในร้าน และเพลิดเพลินกับการเลือกซื้อของ
อย่างเช่นร้านค้า Gourmet Market ซูเปอร์มาร์เก็ตของเดอะมอลล์ กรุ๊ป ที่ไม่ได้ใช้แสงสีขาวนีออน เหมือนกับซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป แต่จะเลือกใช้ไฟโทนสีวอร์มไวต์
อย่างเช่นร้านค้า Gourmet Market ซูเปอร์มาร์เก็ตของเดอะมอลล์ กรุ๊ป ที่ไม่ได้ใช้แสงสีขาวนีออน เหมือนกับซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป แต่จะเลือกใช้ไฟโทนสีวอร์มไวต์
เพราะส่งผลในทางจิตวิทยา คือมันจะทำให้คนรู้สึกเพลิดเพลินไปกับการเดินช็อปปิง แล้วยังเป็นสีที่ทำให้ของกินดูน่ากินขึ้นอีกหลายเท่า
ส่วนเพลงเร็ว หรือเพลงที่มีบีตเยอะ กับไฟที่สว่างจ้า จะช่วยเร่งจังหวะในการเดิน และเร่งการตัดสินใจ เหมาะกับร้านค้าที่ต้องการแทรฟฟิกหมุนเวียนจำนวนมาก ไม่ต้องการให้คนอออยู่ในร้านมากเกินไป
ตัวอย่างก็เช่น มหกรรมลดราคาสินค้า ที่ชอบใช้เพลงเร็ว และการวางผังแบบ Grid ยาว ๆ ผสมกับแบบ Free Form ประกอบกับไฟสว่าง ๆ เพื่อเร่งจังหวะในการเดิน ทำให้เกิดแทรฟฟิกการหมุนเวียนของลูกค้าได้มาก
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าจริง ๆ แล้ว การจัดร้านแต่ละแบบมีข้อดี และข้อเสียแตกต่างกัน
ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า ร้านของเราขายอะไร มีสินค้ากี่หมวดหมู่ มีกลุ่มลูกค้าเป็นใคร
ต้องการให้ลูกค้าอยู่ในร้านนานไหม
และสินค้าของเรา เน้นขายด้วยฟังก์ชันการใช้งาน หรือประสบการณ์..
ต้องการให้ลูกค้าอยู่ในร้านนานไหม
และสินค้าของเรา เน้นขายด้วยฟังก์ชันการใช้งาน หรือประสบการณ์..
อ้างอิง:
-https://www.vendhq.com/blog/store-layout-design/
-https://pnstoretailer.com/5-world-class-store-layout/
-https://shoppermotion.com/blog/picking-the-right-store-layout-based-on-customer-behavior/
-https://www.simpleconsign.com/blog/store-layout/
-https://www.vendhq.com/blog/store-layout-design/
-https://pnstoretailer.com/5-world-class-store-layout/
-https://shoppermotion.com/blog/picking-the-right-store-layout-based-on-customer-behavior/
-https://www.simpleconsign.com/blog/store-layout/