
โครงการ SolarPlus จาก KBank ช่วยคนไทยลดค่าครองชีพ พร้อมขับเคลื่อนสู่สังคมสีเขียว
13 ก.ย. 2022
เมื่ออุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น 1 องศาเซลเซียส เรายังป่วย เป็นไข้ นอนซม ไม่สบายตัว
แต่หากโลกร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส จะเกิดอะไรขึ้น ?
แต่หากโลกร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส จะเกิดอะไรขึ้น ?
- 427 ล้านคน จะขาดอาหารและน้ำสะอาด
- 216 ล้านคน อาจต้องย้ายบ้าน
- ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 0.77 ม. ซึ่งกรุงเทพฯ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลเพียง 1.5 ม. เท่านั้น
- พืช 8% แมลง 6% และสัตว์มีกระดูกสันหลัง 4% จะไม่มีที่อยู่ และอาจต้องสูญพันธุ์
- แนวปะการังทั่วโลก อาจลดลงอีก 70-90%
- ประชากรโลกจะเผชิญกับคลื่นความร้อนสูง ถี่ และรุนแรงขึ้น จนอุปกรณ์ทำความเย็น จะกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
- 216 ล้านคน อาจต้องย้ายบ้าน
- ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 0.77 ม. ซึ่งกรุงเทพฯ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลเพียง 1.5 ม. เท่านั้น
- พืช 8% แมลง 6% และสัตว์มีกระดูกสันหลัง 4% จะไม่มีที่อยู่ และอาจต้องสูญพันธุ์
- แนวปะการังทั่วโลก อาจลดลงอีก 70-90%
- ประชากรโลกจะเผชิญกับคลื่นความร้อนสูง ถี่ และรุนแรงขึ้น จนอุปกรณ์ทำความเย็น จะกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ในปี 2563 คนกรุงเทพฯ, นนทบุรี, ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน อยู่ที่ 31,142 บาท
ซึ่งถือว่าสูงเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียน รองจากสิงคโปร์
ซึ่งถือว่าสูงเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียน รองจากสิงคโปร์
หากมาดูว่าตัวเลขค่าใช้จ่ายดังกล่าว มาจากไหนบ้าง
- ค่าอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ 10,093 บาท
- ค่าที่อยู่อาศัย เครื่องแต่งบ้าน และเครื่องใช้ต่าง ๆ 7,239 บาท
- ค่าเดินทาง และการสื่อสาร 6,618 บาท
- ค่าไฟฟ้า 1,400 บาท
- ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 5,792 บาท
- ค่าที่อยู่อาศัย เครื่องแต่งบ้าน และเครื่องใช้ต่าง ๆ 7,239 บาท
- ค่าเดินทาง และการสื่อสาร 6,618 บาท
- ค่าไฟฟ้า 1,400 บาท
- ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 5,792 บาท
จะเห็นว่ากรุงเทพฯ, นนทบุรี, ปทุมธานี และสมุทรปราการ ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่ 1,400 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็น 4.5% ของค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
ยิ่งไปกว่านั้น เฉพาะในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ผลจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ทำให้ต้นทุนพลังงานทั่วโลกเพิ่มขึ้น รวมไปถึงต้นทุนของการผลิตไฟฟ้าที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน
ทำให้ในช่วงที่ผ่านมา ค่าไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อบวกกับผลกระทบจากโลกร้อน จะเห็นได้ว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ได้ไกลตัวอย่างที่คิด แต่มันมาเคาะประตูบ้านแล้ว !!!
ทำให้ในช่วงที่ผ่านมา ค่าไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อบวกกับผลกระทบจากโลกร้อน จะเห็นได้ว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ได้ไกลตัวอย่างที่คิด แต่มันมาเคาะประตูบ้านแล้ว !!!
จะดีกว่าไหม ถ้าเราสามารถประหยัดค่าไฟฟ้า ผ่านการติดตั้งโซลาร์รูฟ หรือแผงโซลาร์เซลล์ บนหลังคาบ้าน เพื่อเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ ให้กลายมาเป็นพลังงานไฟฟ้า ที่สำคัญการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟนั้น เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
แต่การติดตั้งโซลาร์รูฟ อาจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะถ้าหากย้อนกลับไปเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว ใครที่คิดจะติดตั้งโซลาร์รูฟ อาจจะต้องเจอปัญหาน่าปวดหัวอยู่ไม่น้อย จนเกิดความลังเลว่าจะติดหรือไม่ติดดี ไม่ว่าจะเป็น
- ค่าใช้จ่ายในการลงทุนที่ค่อนข้างสูง
- ระยะเวลาคืนทุนที่ค่อนข้างนาน
- ความยุ่งยากในการติดตั้ง
- ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่สูง
- ระยะเวลาคืนทุนที่ค่อนข้างนาน
- ความยุ่งยากในการติดตั้ง
- ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่สูง
KBank ที่เชิญชวนคนไทย GO GREEN Together มาอย่างต่อเนื่อง
จึงจับมือกับพันธมิตรพัฒนาโครงการ SolarPlus ติดตั้งโซลาร์รูฟให้คนไทยแบบฟรี ๆ
เพื่อผลิตและขายไฟฟ้าจากบ้านเรือน เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อลดปัญหาโลกร้อน ไปพร้อม ๆ กับลดค่าครองชีพให้คนไทย
จึงจับมือกับพันธมิตรพัฒนาโครงการ SolarPlus ติดตั้งโซลาร์รูฟให้คนไทยแบบฟรี ๆ
เพื่อผลิตและขายไฟฟ้าจากบ้านเรือน เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อลดปัญหาโลกร้อน ไปพร้อม ๆ กับลดค่าครองชีพให้คนไทย
ตั้งเป้าหมาย ที่จะขยายการติดตั้งให้ได้มากกว่า 500,000 หลัง ทั่วประเทศ ภายใน 5 ปี
ที่น่าสนใจคือ เจ้าของบ้านไม่จำเป็นต้องเสียเงินค่าลงทุนติดตั้ง หรือเสียค่าบำรุงรักษาโซลาร์รูฟแต่อย่างใด เพราะมีผู้ลงทุนติดตั้งให้ โดยธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้ให้สินเชื่อแก่บริษัทผู้ลงทุน
แถมเจ้าของบ้านยังได้ประโยชน์ จากการลดค่าไฟฟ้าอีก 20% ในส่วนของการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์ อีกด้วย
แถมเจ้าของบ้านยังได้ประโยชน์ จากการลดค่าไฟฟ้าอีก 20% ในส่วนของการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์ อีกด้วย
โครงการนี้ KBank ไม่เพียงเตรียมวงเงินสินเชื่อให้แก่ผู้ลงทุนกว่า 50,000 ล้านบาท เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ แต่ยังผนึกกำลังกับอีก 4 บริษัทชั้นนำของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น
1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
2. บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม สมาร์ท โซลูชั่น จำกัด
3. บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)
4. บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด
2. บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม สมาร์ท โซลูชั่น จำกัด
3. บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)
4. บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด
คำถามคือ KBank และพันธมิตรมีแผนที่จะเติมเต็มโครงการนี้ อย่างไรบ้าง ?
เริ่มจาก KBank ที่ไม่เพียงแต่จะเป็นผู้ริเริ่มโครงการ SolarPlus แต่เป็นผู้ให้สินเชื่อแก่บริษัทผู้ลงทุนเพื่อติดตั้งโซลาร์รูฟให้แก่ประชาชน โดยที่เจ้าของบ้านไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และรับซื้อไฟฟ้าทั้งหมดที่เหลือจากการใช้งานของบ้านที่ร่วมโครงการนี้ เพื่อนำมาใช้ในเครือธนาคารกสิกรไทย
ซึ่งถือเป็นหนึ่งกิจกรรมการใช้พลังงานสะอาดเพื่อเพิ่ม Carbon Handprint ให้กับองค์กร
ถัดมา บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม สมาร์ท โซลูชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ลงทุนที่ได้รับสินเชื่อจาก KBank
เพื่อใช้ลงทุนติดตั้งและบำรุงรักษาโซลาร์รูฟแบบครบวงจร ให้ลูกบ้านที่ร่วมโครงการได้ใช้พลังงานสะอาดโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
เพื่อใช้ลงทุนติดตั้งและบำรุงรักษาโซลาร์รูฟแบบครบวงจร ให้ลูกบ้านที่ร่วมโครงการได้ใช้พลังงานสะอาดโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
โดยกระแสไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้งานในบ้านเรือน จะถูกจำหน่ายเข้าไปในระบบไฟฟ้าผ่านแพลตฟอร์ม Peer-to-Peer Energy Trading
ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายพลังงานไฟฟ้า ที่ผ่านการทดลองใช้งานจริงในโครงการ ERC Sandbox เฟส 1 มาแล้ว
ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายพลังงานไฟฟ้า ที่ผ่านการทดลองใช้งานจริงในโครงการ ERC Sandbox เฟส 1 มาแล้ว
ทั้งนี้แพลตฟอร์มดังกล่าว พัฒนาโดยทีมงานจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่นำโซลูชันและนวัตกรรมทางพลังงาน มาตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าในยุคดิจิทัล นั่นเอง
อีกหนึ่งพันธมิตรคือ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ที่จะมาช่วยเติมเต็มให้โครงการ SolarPlus ได้ทดลองใช้กับบ้านเรือนของประชาชนจริง ๆ
ประเดิมที่โครงการศุภาลัย การ์เด้นวิลล์ รังสิต คลอง 2 ซึ่งมีลูกบ้านเข้าอยู่แล้วเป็นจำนวนมาก และคาดว่าจะได้รับความสนใจจากลูกบ้านเป็นอย่างดี
ขณะที่บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด จะมาช่วยบริหารจัดการซื้อขายไฟฟ้าผ่านแพลตฟอร์ม Peer-to-Peer Energy Trading และสนับสนุนการเข้าถึงพลังงานสะอาด โดยจะให้บริการขึ้นทะเบียนอุปกรณ์ของโครงการพลังงานหมุนเวียน การซื้อขายใบรับรอง หรือ Renewable Energy Certificate (REC)
เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการภาคธุรกิจสามารถบรรลุเป้าหมายการใช้พลังงานสะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทีนี้เราลองมาดูว่าโครงการ SolarPlus จะส่งผลดีต่อโลกของเรามากแค่ไหน ?
- ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้กว่า 2.3 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ (tCO2eq) ต่อปี
- ผลิตพลังงานสะอาดได้ประมาณ 4.5 ล้านเมกะวัตต์ต่อชั่วโมง (MWh)
- เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 240 ล้านต้นต่อปี
- ผลิตพลังงานสะอาดได้ประมาณ 4.5 ล้านเมกะวัตต์ต่อชั่วโมง (MWh)
- เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 240 ล้านต้นต่อปี
ในอนาคตโครงการ SolarPlus มีแผนขยายไปยังบ้านเรือนประชาชนทั่วประเทศได้มีโอกาสเข้าร่วม ดังนั้นหากใครสนใจต้องติดตามความคืบหน้าของโครงการให้ดี
ถึงตรงนี้ เราคงพอสรุปได้ว่า SolarPlus คืออีกหนึ่งโครงการชั้นดีของ KBank
ที่ไม่เพียงแต่จะช่วยลดค่าครองชีพให้กับคนไทย ยังเป็นการสนับสนุนให้คนไทยเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด เพื่อก้าวสู่การเป็น Net Zero ตามเป้าหมายของประเทศ นั่นเอง..
ถึงตรงนี้ เราคงพอสรุปได้ว่า SolarPlus คืออีกหนึ่งโครงการชั้นดีของ KBank
ที่ไม่เพียงแต่จะช่วยลดค่าครองชีพให้กับคนไทย ยังเป็นการสนับสนุนให้คนไทยเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด เพื่อก้าวสู่การเป็น Net Zero ตามเป้าหมายของประเทศ นั่นเอง..