
สรุป M.I.T.R กลยุทธ์เบื้องหลัง โครงการ “มิตรให้โลหิต ต่อชีวิตให้กัน” ของ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย ที่ดึงดูดคนได้มากถึง 1,300 คนต่อครั้ง
7 ก.ค. 2025
ประชากรไทยมีทั้งหมด 65 ล้านคน หากอ้างอิงจากสถิติการบริจาคโลหิตทั่วประเทศ ปี พ.ศ. 2566 จะพบว่าในแต่ละปีจะมีคนไปบริจาคเลือดเพียง 1.6 ล้านคน หรือคิดเป็น 2.46% ของประชากรเท่านั้น
ด้วยจำนวนคนบริจาคที่น้อยกว่าจำนวนประชากรขนาดนี้เอง ทำให้ “การขาดแคลนโลหิตสำรอง”
กลายเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยมาหลายปี และยังไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้น
กลายเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยมาหลายปี และยังไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ มีโครงการบริจาคเลือดชื่อว่า “มิตรให้โลหิต ต่อชีวิตให้กัน” ที่น่าสนใจมาก ๆ
เพราะในแต่ละครั้งที่จัดโครงการ จะสามารถดึงดูดให้คนมาบริจาคเลือดได้เฉลี่ยสูงถึงกว่า 1,300 คน
โดยตอนนี้มียอดบริจาคเลือดรวมกันกว่า 10,128,400 ซีซี เข้าไปแล้ว ตั้งแต่เปิดตัวโครงการ
โดยตอนนี้มียอดบริจาคเลือดรวมกันกว่า 10,128,400 ซีซี เข้าไปแล้ว ตั้งแต่เปิดตัวโครงการ
ที่เจ๋งก็คือ นี่คือโครงการของแบรนด์อสังหาฯ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย” เจ้าของ สามย่านมิตรทาวน์, โครงการบ้านหรูเดอะแกรนด์ และผู้ให้บริการคลังสินค้าครบวงจร
แล้ว เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย ที่เป็นแบรนด์อสังหาฯ ทำอย่างไรให้โครงการบริจาคเลือดประสบความสำเร็จขนาดนี้ ? MarketThink ชวนมาวิเคราะห์ด้วยกัน
โครงการ “มิตรให้โลหิต ต่อชีวิตให้กัน” คือ โครงการที่ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย ร่วมมือกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มาสร้างจุดบริการบริจาคเลือด ณ โครงการต่าง ๆ ของบริษัท
โดยตัวโครงการได้เริ่มจัดเป็นครั้งแรกที่สามย่านมิตรทาวน์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563
ซึ่งเป็นช่วงที่มีความต้องการใช้เลือดสูงมาก เพราะเกิดวิกฤติโรคระบาด COVID-19 พอดี
ทำให้โครงการกระแสตอบรับค่อนข้างดีตั้งแต่ช่วงแรก
ซึ่งเป็นช่วงที่มีความต้องการใช้เลือดสูงมาก เพราะเกิดวิกฤติโรคระบาด COVID-19 พอดี
ทำให้โครงการกระแสตอบรับค่อนข้างดีตั้งแต่ช่วงแรก
จึงมีการต่อยอดความสำเร็จของโครงการ ด้วยการจัดโครงการต่อเนื่องทุก ๆ 3 เดือน
และขยายพื้นที่รับบริจาคเลือดไปยังอาคารสำนักงานอื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัทด้วย ได้แก่
และขยายพื้นที่รับบริจาคเลือดไปยังอาคารสำนักงานอื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัทด้วย ได้แก่
- สาทรสแควร์ (Sathorn Square)
- ปาร์คเวนเชอร์ (Park Ventures)
- เอฟวายไอ เซ็นเตอร์ (FYI Center)
- ปาร์คเวนเชอร์ (Park Ventures)
- เอฟวายไอ เซ็นเตอร์ (FYI Center)
จนถึงวันนี้ โครงการ มิตรให้โลหิต ต่อชีวิตให้กัน ได้ดำเนินการต่อเนื่องมา 5 ปีแล้ว
และยังได้รับการตอบรับที่ดีอย่างต่อเนื่อง จนมียอดบริจาคเลือดรวมกันแล้วกว่า 10,128,400 ซีซี
และยังได้รับการตอบรับที่ดีอย่างต่อเนื่อง จนมียอดบริจาคเลือดรวมกันแล้วกว่า 10,128,400 ซีซี
ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการถึง 80% เลยทีเดียว..
รู้ไหมว่าสาเหตุที่โครงการประสบความสำเร็จได้ขนาดนี้ มีส่วนสำคัญมาจาก “มิตร” หรือ “M.I.T.R”
เฟรมเวิร์กอย่างหนึ่ง ที่ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย ใช้ในการดำเนินโครงการมาตลอด
เฟรมเวิร์กอย่างหนึ่ง ที่ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย ใช้ในการดำเนินโครงการมาตลอด
แล้ว “M.I.T.R” คืออะไร ? เรามาดูรายละเอียดกันทีละข้อ
1. Multi-stakeholders Partnership หรือ การร่วมมือกันของหลายหน่วยงาน
ความสำเร็จของโครงการ มิตรให้โลหิต ต่อชีวิตให้กัน มีส่วนมาจากการร่วมมือกันของหลายหน่วยงาน เริ่มตั้งแต่
- เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย รันโครงการทั้งหมดด้วยทีมพนักงานภายในบริษัทฯ พร้อมรับหน้าที่จัดการสถานที่ โดยใช้อสังหาฯ ในเครือของตัวเองบางส่วน มาเปลี่ยนเป็นพื้นที่รับบริจาคเลือด
- ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย รับหน้าที่ดำเนินการรับบริจาคเลือด
พร้อมให้คำแนะนำในเรื่องต่าง ๆ แก่บุคลากรและผู้เข้าร่วมโครงการ
พร้อมให้คำแนะนำในเรื่องต่าง ๆ แก่บุคลากรและผู้เข้าร่วมโครงการ
โดยเฉพาะเรื่องวิธีการดูแลตัวเองทั้งก่อนและหลังบริจาคเลือด
เพื่อสร้างความปลอดภัย และความมั่นใจให้ทุกฝ่าย
เพื่อสร้างความปลอดภัย และความมั่นใจให้ทุกฝ่าย
นอกจากนี้ตัวโครงการยังได้ความร่วมมือจากศิลปินชั้นนำ ที่เคยสร้างสรรค์ผลงานในโครงการ “SAMYAN MITRTOWN Artist Collaboration” (โครงการเกี่ยวกับศิลปะของ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย)
ไม่ว่าจะเป็น AnOfficerDies, Pomme Chan, FAHFAHS, Memiann Studio และ Dogplease
ที่ได้มาร่วมกันออกแบบ “เสื้อที่ระลึก” สำหรับแจกให้ผู้ที่ร่วมโครงการมาตลอด 5 ปี อีกด้วย
ที่ได้มาร่วมกันออกแบบ “เสื้อที่ระลึก” สำหรับแจกให้ผู้ที่ร่วมโครงการมาตลอด 5 ปี อีกด้วย
2. Insight Driven หรือ การใช้ “อินไซต์” ขับเคลื่อนโครงการ
ทุก ๆ ครั้งที่มีการจัดโครงการ มิตรให้โลหิต ต่อชีวิตให้กัน ทางบริษัทจะมีการเก็บข้อมูลต่าง ๆ จากผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเอาไปพัฒนาโครงการให้ดีขึ้นในครั้งต่อ ๆ ไป
โดยมีเคสหนึ่งน่าสนใจมากคือ มีการตั้งกลุ่ม “New Blood” ซึ่งรวมคนที่เจอปัญหาไม่สามารถบริจาคเลือดได้ จากปัจจัยชั่วคราว เช่น
ภาวะโลหิตจาง การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือการเจ็บป่วยระยะสั้น ซึ่งเป็นปัญหา
ที่ทำให้คนที่อยากบริจาคเลือดส่วนใหญ่ ไม่สามารถบริจาคเลือดได้..
ที่ทำให้คนที่อยากบริจาคเลือดส่วนใหญ่ ไม่สามารถบริจาคเลือดได้..
มาเข้ารับการอบรมและฟื้นฟูสุขภาพแบบจัดเต็มเป็นระยะเวลา 1 เดือน
ผลคือกว่า 70% ของคนในกลุ่มนี้สามารถบริจาคโลหิตได้ในครั้งถัดไป
ผลคือกว่า 70% ของคนในกลุ่มนี้สามารถบริจาคโลหิตได้ในครั้งถัดไป
แถมโครงการเองก็มีการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพให้กับผู้ที่สนใจบริจาคเลือดอยู่เสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าจะช่วยลดยอดคนที่ไม่สามารถบริจาคเลือดได้จากปัญหาข้างต้นอีกด้วย
3. Teamwork ความร่วมมือของพนักงานเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ
รู้ไหมว่าความสำเร็จของโครงการ “มิตรให้โลหิต ต่อชีวิตให้กัน” มีส่วนมาจากความ
ร่วมมือกันของพี่ ๆ พนักงาน เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย เยอะมาก
ร่วมมือกันของพี่ ๆ พนักงาน เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย เยอะมาก
เพราะโครงการนี้ จะมีทีมงานที่ต้องทำงานด้วยกันหลายส่วน ทั้งทีมงานหลักที่ดูแลภาพรวมของโครงการ
และทีมงานอาสาสมัคร ที่มีเป้าหมายว่าจะต้องรับบริจาคเลือดที่มีคุณภาพมาเพื่อช่วยคนให้ได้เยอะที่สุด
และทีมงานอาสาสมัคร ที่มีเป้าหมายว่าจะต้องรับบริจาคเลือดที่มีคุณภาพมาเพื่อช่วยคนให้ได้เยอะที่สุด
โดยทีมงานทั้งสองกลุ่มนี้ จะต้องผ่านการอบรมข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการคัดกรองผู้บริจาค
และทุกคนจะต้องสามารถให้คำแนะนำผู้บริจาคในเรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนการบริจาคได้
และทุกคนจะต้องสามารถให้คำแนะนำผู้บริจาคในเรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนการบริจาคได้
แม้งานจะหนัก แถมเรื่องนี้ก็ดูไกลกับความเป็นบริษัทอสังหาฯ มาก ๆ แต่ทีมงานทุกคนก็มีความพร้อมให้บริการ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่มาบริจาคอย่างเต็มที่
จนทำให้ภาพรวมของโครงการประสบความสำเร็จระดับนี้ได้นั่นเอง
จนทำให้ภาพรวมของโครงการประสบความสำเร็จระดับนี้ได้นั่นเอง
4. Retention จัดโครงการอย่างต่อเนื่องทุก 3 เดือน กระตุ้นให้เกิดการบริจาคซ้ำ
ตามข้อมูลจากสถิติการบริจาคโลหิตทั่วประเทศ ปี พ.ศ. 2566 จะพบว่า มีจำนวนผู้บริจาคเลือดทั้งหมด 1,606,743 คน ซึ่งถือว่าน้อยมาก ๆ ถ้าเทียบกับจำนวนประชากร
แต่รู้ไหมว่า จากจำนวนคนบริจาคเลือดทั้งหมดข้างต้นจะมีคนที่
“บริจาคเลือดมากกว่า 1 ครั้ง” อยู่แค่ 313,029 คนเท่านั้น ซึ่งน้อยลงไปอีก..
“บริจาคเลือดมากกว่า 1 ครั้ง” อยู่แค่ 313,029 คนเท่านั้น ซึ่งน้อยลงไปอีก..
ทำให้เป้าหมายของโครงการ มิตรให้โลหิต ต่อชีวิตให้กัน จะเน้นไปที่การเพิ่มจำนวนผู้บริจาคใหม่ และกระตุ้นให้เกิดการบริจาคซ้ำให้ได้มากที่สุด
และด้วยแนวทางดำเนินโครงการที่เน้นการให้ข้อมูล รวมถึงเทคนิคต่าง ๆ ให้ผู้บริจาค
สามารถดูแลตัวเอง ทั้งก่อนและหลังบริจาคเลือดได้อย่างถูกวิธี
สามารถดูแลตัวเอง ทั้งก่อนและหลังบริจาคเลือดได้อย่างถูกวิธี
ก็ช่วยให้โครงการ มิตรให้โลหิต ต่อชีวิตให้กัน มีผู้บริจาคที่กลับมาบริจาคซ้ำ
หรือ “แฟนคลับ” ของโครงการสูงถึง 60% จากจำนวนผู้บริจาคทั้งหมด
หรือ “แฟนคลับ” ของโครงการสูงถึง 60% จากจำนวนผู้บริจาคทั้งหมด
ซึ่งถ้าเทียบกับอัตราของคนที่มาบริจาคเลือดมากกว่า 1 ครั้งของประเทศไทย
ต้องบอกเลยว่าโครงการนี้ของ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย
สามารถทำให้คนมั่นใจ และทำให้คนผูกพันกับโครงการได้ดีมากจริง ๆ
ต้องบอกเลยว่าโครงการนี้ของ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย
สามารถทำให้คนมั่นใจ และทำให้คนผูกพันกับโครงการได้ดีมากจริง ๆ
สุดท้ายนี้พี่วู้ดดี้ หรือ คุณธนพล ศิริธนชัย Country CEO ของ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย ได้เผยว่า ภูมิใจที่ตอนนี้โครงการ มิตรให้โลหิต
ต่อชีวิตให้กัน ได้กลายเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มปริมาณโลหิตสำรองของประเทศไทย
ได้อย่างดีมาตลอด 5 ปีแล้ว และยังยืนยันว่าจะจัดโครงการดี ๆ แบบนี้ต่อไปอีกแน่นอน..
ต่อชีวิตให้กัน ได้กลายเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มปริมาณโลหิตสำรองของประเทศไทย
ได้อย่างดีมาตลอด 5 ปีแล้ว และยังยืนยันว่าจะจัดโครงการดี ๆ แบบนี้ต่อไปอีกแน่นอน..
สำหรับผู้ที่สนใจร่วมบริจาคโลหิตในโครงการ “มิตรให้โลหิต ต่อชีวิตให้กัน” สามารถติดตามรายละเอียดโครงการ และรอบการรับบริจาคโลหิตเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: Samyan Mitrtown
#FrasersPropertyThailand
#เฟรเซอร์สพร็อพเพอร์ตี้ประเทศไทย
#MITR
#มิตรให้โลหิตต่อชีวิตให้กัน
#เฟรเซอร์สพร็อพเพอร์ตี้ประเทศไทย
#MITR
#มิตรให้โลหิตต่อชีวิตให้กัน
อ้างอิง :
- https://www.hfocus.org/content/2024/01/29595
- https://www.hfocus.org/content/2024/01/29595