เปิดเบื้องหลัง การออกแบบ โลโกเสียง “ทาดัม” ของ Netflix ที่คนนับล้านฟัง มีเด็ก 10 ขวบ เป็นคนเลือก
7 ก.พ. 2023
ถ้าพูดถึง Netflix ภาพจำของใครหลาย ๆ คนคงจะเป็น..
แพลตฟอร์มสตรีมมิง ที่มีภาพยนตร์หรือซีรีส์สนุก ๆ ชวนอดหลับอดนอน
แนวคิดการบริหารองค์กร ที่เป็นกรณีศึกษาให้กับธุรกิจทั่วโลก
หรือว่าจะเป็น โลโกสีแดงเรียบง่าย แต่มีเอกลักษณ์
แพลตฟอร์มสตรีมมิง ที่มีภาพยนตร์หรือซีรีส์สนุก ๆ ชวนอดหลับอดนอน
แนวคิดการบริหารองค์กร ที่เป็นกรณีศึกษาให้กับธุรกิจทั่วโลก
หรือว่าจะเป็น โลโกสีแดงเรียบง่าย แต่มีเอกลักษณ์
แต่เชื่อว่า อีกหนึ่งภาพจำ ที่ทุกคนคงจำได้เป็นอย่างดีไม่แพ้กัน
นั่นก็คือ เสียง “ทาดัม” เสียงสั้น ๆ ที่ปรากฏพร้อมกับโลโกรูปตัว N ตอนที่เรากดเล่นภาพยนตร์สักเรื่อง หรือซีรีส์สักตอน นั่นเอง
นั่นก็คือ เสียง “ทาดัม” เสียงสั้น ๆ ที่ปรากฏพร้อมกับโลโกรูปตัว N ตอนที่เรากดเล่นภาพยนตร์สักเรื่อง หรือซีรีส์สักตอน นั่นเอง
แล้วรู้หรือไม่ว่า เบื้องหลังเสียงเปิดสั้น ๆ แค่ 4 วินาทีนี้ ใช้เวลาในการออกแบบ “เกือบหนึ่งปี”
ที่สำคัญ ยังมี “เด็ก 10 ขวบ” เป็นคนช่วยเลือก..
ที่สำคัญ ยังมี “เด็ก 10 ขวบ” เป็นคนช่วยเลือก..
ถ้าอยากรู้ว่าเบื้องหลังของเรื่องนี้เป็นมาอย่างไร ? เราไปหาคำตอบกัน
ก่อนอื่นเสียงเปิด Netflix ที่เราคุ้นหูกัน มีชื่อเรียกว่า Sonic Logo หรือโลโกเสียง
ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ที่ช่วยให้ลูกค้าหรือผู้ใช้งาน จดจำแบรนด์ของเราได้ดียิ่งขึ้น
ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ที่ช่วยให้ลูกค้าหรือผู้ใช้งาน จดจำแบรนด์ของเราได้ดียิ่งขึ้น
นอกจาก Netflix แล้ว ก็ยังมีโลโกเสียงของแบรนด์อื่น ๆ ที่หลายคนน่าจะคุ้นหู เช่น
- เสียงเปิด-ปิด Mac ของ Apple
- เสียงเปิด-ปิดคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows
- เสียงเปิด-ปิด Mac ของ Apple
- เสียงเปิด-ปิดคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows
สำหรับโลโกเสียงของ Netflix เปิดตัวครั้งแรกในปี 2015 หรือราว 8 ปีก่อน
จุดเริ่มต้นเกิดจากคุณท็อดด์ เยลลิน (Todd Yellin) รองประธานฝ่ายนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ของ Netflix ที่อดีตเคยอยู่ในวงการผลิตภาพยนตร์ และชื่นชอบในการออกแบบเสียงเป็นพิเศษ
จุดเริ่มต้นเกิดจากคุณท็อดด์ เยลลิน (Todd Yellin) รองประธานฝ่ายนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ของ Netflix ที่อดีตเคยอยู่ในวงการผลิตภาพยนตร์ และชื่นชอบในการออกแบบเสียงเป็นพิเศษ
คุณเยลลิน เลยมีความคิดอยากให้ Netflix มีโลโกเสียงเป็นของตัวเอง จึงเป็นผู้ริเริ่มโปรเจกต์ขึ้นมา
แต่เส้นทางกว่าที่จะออกมาเป็นเสียงสั้น ๆ แค่ 4 วินาที ที่คนทั้งโลกรู้จัก
หรือที่ภายในบริษัทเรียกกันว่า เสียง “ทา-ดัม (Ta-dum)” ก็ไม่ง่าย เพราะใช้เวลาในการออกแบบเกือบหนึ่งปี
แต่เส้นทางกว่าที่จะออกมาเป็นเสียงสั้น ๆ แค่ 4 วินาที ที่คนทั้งโลกรู้จัก
หรือที่ภายในบริษัทเรียกกันว่า เสียง “ทา-ดัม (Ta-dum)” ก็ไม่ง่าย เพราะใช้เวลาในการออกแบบเกือบหนึ่งปี
โดยคุณเยลลิน เริ่มจากการตั้งต้นว่า อยากให้ผู้ใช้งานที่ได้ฟังเสียงนี้ แล้วรู้สึกทันทีว่า กำลังจะรับชมเรื่องราวหรือภาพยนตร์ดี ๆ สนุก ๆ ได้ที่บ้าน
และคุณเยลลินได้วางเงื่อนไขการออกแบบโลโกเสียงไว้ว่า
1. ต้องสั้น กระชับ ไม่เหมือนกับโลโกเสียงของ 20th Century Fox
หรือเสียงสิงโต Leo the Lion ของ MGM
หรือเสียงสิงโต Leo the Lion ของ MGM
เพราะปัจจุบันคือ ยุค Click & Play ที่ผู้ใช้งานไม่สามารถอดทนรออะไรนาน ๆ ได้
ไม่เหมือนกับการฉายหนังในโรงภาพยนตร์ ที่สามารถบังคับให้ผู้ชมรอได้
ไม่เหมือนกับการฉายหนังในโรงภาพยนตร์ ที่สามารถบังคับให้ผู้ชมรอได้
2. ไม่ใช่เสียงอิเล็กทรอนิกส์
ไม่เหมือนอย่างโลโกเสียงเปิด-ปิด Mac ของ Apple
เพราะ Netflix เป็นธุรกิจด้านเอนเทอร์เทนเมนต์ ประกอบกับเทคโนโลยี
ซึ่งก็ควรเป็นเสียงที่ให้อารมณ์เหมือนดูภาพยนตร์ (Cinematic) มากกว่าเสียงอิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง
ไม่เหมือนอย่างโลโกเสียงเปิด-ปิด Mac ของ Apple
เพราะ Netflix เป็นธุรกิจด้านเอนเทอร์เทนเมนต์ ประกอบกับเทคโนโลยี
ซึ่งก็ควรเป็นเสียงที่ให้อารมณ์เหมือนดูภาพยนตร์ (Cinematic) มากกว่าเสียงอิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง
3. ไม่มีคำว่า Netflix ในโลโกเสียง
แต่คุณเยลลิน อยากได้เสียงที่ได้ยินแล้ว จะจำได้ทันทีว่า นี่คือเสียงของ Netflix
แต่คุณเยลลิน อยากได้เสียงที่ได้ยินแล้ว จะจำได้ทันทีว่า นี่คือเสียงของ Netflix
อีกทั้งเสียงที่คุณเยลลินอยากได้ก็คือ เสียงที่สามารถสื่อความหมายได้ถึงความตึงเครียดและคลี่คลาย ภายในระยะเวลาสั้น ๆ
ซึ่งก็เปรียบเสมือนภาพยนตร์หรือซีรีส์ ที่มักจะต้องมีปมของเรื่อง แล้วคลี่คลายในภายหลังนั่นเอง
ซึ่งก็เปรียบเสมือนภาพยนตร์หรือซีรีส์ ที่มักจะต้องมีปมของเรื่อง แล้วคลี่คลายในภายหลังนั่นเอง
ที่สำคัญ คุณเยลลิน ยังให้อีกหนึ่งแนวทางในการออกแบบไว้ว่า
อย่ากลัวที่จะสร้างสรรค์และออกแบบเสียงแปลก ๆ หรือเสียงที่แตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน
อย่ากลัวที่จะสร้างสรรค์และออกแบบเสียงแปลก ๆ หรือเสียงที่แตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี หลังจากที่คุณเยลลิน ได้ทดลองให้นักออกแบบเสียงดิไซน์มาหลายต่อหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่ถูกใจ
จึงตัดสินใจชวนคุณลอน เบนเดอร์ (Lon Bender) นักออกแบบเสียงที่มีรางวัลการันตีมากมาย และยังเคยร่วมงานด้วยในอดีต มาร่วมออกแบบ
จึงตัดสินใจชวนคุณลอน เบนเดอร์ (Lon Bender) นักออกแบบเสียงที่มีรางวัลการันตีมากมาย และยังเคยร่วมงานด้วยในอดีต มาร่วมออกแบบ
ถึงแม้คุณเบนเดอร์ จะมีประสบการณ์มากมาย
แต่งานออกแบบโลโกเสียงในครั้งนี้ ก็ถือได้ว่าเป็นงานหินพอสมควร..
แต่งานออกแบบโลโกเสียงในครั้งนี้ ก็ถือได้ว่าเป็นงานหินพอสมควร..
คุณเบนเดอร์เล่าว่า เขาได้ทดลองออกแบบเสียง จนมีมากกว่า 30 ตัวเลือก
ซึ่งก็มีทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น เสียงออกแนวตลก ๆ, เสียงเปิดประตู ไปจนถึง เสียงเครื่องดนตรีแปลก ๆ
ซึ่งก็มีทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น เสียงออกแนวตลก ๆ, เสียงเปิดประตู ไปจนถึง เสียงเครื่องดนตรีแปลก ๆ
จนสุดท้าย คุณเยลลิน ก็ได้คัดเลือกจนเหลือเข้ารอบสุดท้ายเพียงไม่กี่เสียงที่โดดเด่น เช่น
- เสียงทาดัม ที่ใช้ในปัจจุบัน แต่มีเสียงแพะร้องปิดท้าย..
- เสียงฟองน้ำใต้มหาสมุทร
ซึ่งคุณเยลลินเล่าว่า จริง ๆ แล้วเขาชอบเสียงทาดัมที่มีแพะร้องตอนท้าย
เพราะนอกจากจะเป็นเสียงที่ตรงตามโจทย์แล้ว
ยังรู้สึกว่าเป็นเสียงที่น่าดึงดูด ที่สำคัญก็ยังตลกและแปลกใหม่อีกด้วย
- เสียงทาดัม ที่ใช้ในปัจจุบัน แต่มีเสียงแพะร้องปิดท้าย..
- เสียงฟองน้ำใต้มหาสมุทร
ซึ่งคุณเยลลินเล่าว่า จริง ๆ แล้วเขาชอบเสียงทาดัมที่มีแพะร้องตอนท้าย
เพราะนอกจากจะเป็นเสียงที่ตรงตามโจทย์แล้ว
ยังรู้สึกว่าเป็นเสียงที่น่าดึงดูด ที่สำคัญก็ยังตลกและแปลกใหม่อีกด้วย
แต่ในตอนหลัง คุณเยลลิน เกิดเปลี่ยนใจ คิดว่าเสียงแพะไม่น่าจะเวิร์ก
จึงตัดออก เหลือไว้เพียงแค่เสียงทาดัมเท่านั้น
จึงตัดออก เหลือไว้เพียงแค่เสียงทาดัมเท่านั้น
อย่างไรก็ดี คุณเยลลินและทีมออกแบบ ก็ยังเลือกไม่ได้ว่าจะใช้เสียงอะไรดี
จึงเริ่มทำการสำรวจความคิดเห็นของคนหลายพันคน โดยให้แต่ละคนฟังเสียง แล้วบอกว่าแต่ละเสียงรู้สึกอย่างไร
จึงเริ่มทำการสำรวจความคิดเห็นของคนหลายพันคน โดยให้แต่ละคนฟังเสียง แล้วบอกว่าแต่ละเสียงรู้สึกอย่างไร
ซึ่งผลปรากฏว่า เสียงทาดัมได้รับการตอบรับดีที่สุด
เพราะหลาย ๆ คนบอกตรงกันว่า เป็นเสียงที่น่าสนใจ สั้นกระชับ ที่สำคัญบางคนยังอธิบายว่า เป็นเสียงที่สะท้อนถึงภาพยนตร์ ทั้งที่ไม่รู้ว่า เสียงนี้จะนำมาใช้กับ Netflix อีกด้วย
เพราะหลาย ๆ คนบอกตรงกันว่า เป็นเสียงที่น่าสนใจ สั้นกระชับ ที่สำคัญบางคนยังอธิบายว่า เป็นเสียงที่สะท้อนถึงภาพยนตร์ ทั้งที่ไม่รู้ว่า เสียงนี้จะนำมาใช้กับ Netflix อีกด้วย
หลังจากออกแบบมาเนิ่นนาน จนเข้าใกล้ความจริงที่จะได้นำโลโกเสียงมาใช้
แต่ด้วยความกดดันที่ว่า เมื่อเสียงถูกนำไปใช้ แล้วจะมีคนเป็นล้าน ๆ คนได้ยิน
แต่ด้วยความกดดันที่ว่า เมื่อเสียงถูกนำไปใช้ แล้วจะมีคนเป็นล้าน ๆ คนได้ยิน
คุณเยลลิน จึงอยากได้ “ผู้ชี้ขาด” คนสุดท้ายมาช่วยยืนยัน
ซึ่งคนคนนั้นก็คือ “ลูกสาววัย 10 ขวบ” ของเขา
ซึ่งคนคนนั้นก็คือ “ลูกสาววัย 10 ขวบ” ของเขา
โดยเขาได้เปิดเสียงต่าง ๆ ให้ลูกสาวฟัง ซึ่งลูกสาวของเขาก็ตัดสินใจเลือกเสียงทาดัมในทันที
มาถึงตรงนี้ หลายคนก็คงได้รู้แล้วว่า
เบื้องหลังการออกแบบเสียงทาดัมของ Netflix มีที่มาอย่างไร
แล้วรู้หรือไม่ว่า เสียงทาดัม เกิดจากเสียงอะไรบ้าง ?
เบื้องหลังการออกแบบเสียงทาดัมของ Netflix มีที่มาอย่างไร
แล้วรู้หรือไม่ว่า เสียงทาดัม เกิดจากเสียงอะไรบ้าง ?
คุณเบนเดอร์เล่าว่า ตอนออกแบบ เขาพยายามตามหาเสียงแปลก ๆ
จนบังเอิญได้ยินเสียง “แหวนแต่งงาน” ของเขาเอง กระทบกับตู้ในห้องนอน แล้วรู้สึกชอบ จึงบันทึกเก็บไว้
จนบังเอิญได้ยินเสียง “แหวนแต่งงาน” ของเขาเอง กระทบกับตู้ในห้องนอน แล้วรู้สึกชอบ จึงบันทึกเก็บไว้
ต่อมาคุณเบนเดอร์อยากเพิ่มความแปลกขึ้นอีกเล็กน้อย
เลยเลือกหยิบเสียงอื่น ๆ อีก 3 เสียงมาผสม ไม่ว่าจะเป็น เสียงเหล็ก, เสียงตี และปิดท้ายด้วยเสียงกีตาร์ไฟฟ้า
เลยเลือกหยิบเสียงอื่น ๆ อีก 3 เสียงมาผสม ไม่ว่าจะเป็น เสียงเหล็ก, เสียงตี และปิดท้ายด้วยเสียงกีตาร์ไฟฟ้า
ทั้งหมดนี้ จึงเป็นที่มาของโลโกเสียงของ Netflix ที่เราได้ยินกันทุกวันนี้นั่นเอง
จากเรื่องนี้ ก็สะท้อนให้เห็นว่า การสร้างแบรนด์ เพื่อให้คนจดจำไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ
แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป ถ้าเกิดว่า เราคิดและวางแผนมาเป็นอย่างดี เหมือนอย่างที่ Netflix ทำ ถึงแม้ว่าจะแลกกับการใช้เวลาสักเล็กน้อยก็ตาม
แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป ถ้าเกิดว่า เราคิดและวางแผนมาเป็นอย่างดี เหมือนอย่างที่ Netflix ทำ ถึงแม้ว่าจะแลกกับการใช้เวลาสักเล็กน้อยก็ตาม
อีกทั้งการทดลองอะไรแปลก ๆ ใหม่ ๆ ก็อาจได้ผลลัพธ์ที่ดี ที่สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้
แต่ที่สำคัญคือ ไม่ควรแปลกจนเกินไป
แต่ที่สำคัญคือ ไม่ควรแปลกจนเกินไป
เหมือนกรณีเสียงเปิดของ Netflix ที่ตอนแรกเกือบเป็นเสียงแพะร้อง
คุณเยลลินเองก็ยังบอกว่า ขอบคุณพระเจ้า ที่เขาไม่เลือกเสียงแพะ
ไม่เช่นนั้น โลโกเสียงของ Netflix อาจไม่ประสบความสำเร็จเท่าทุกวันนี้ก็ได้..
คุณเยลลินเองก็ยังบอกว่า ขอบคุณพระเจ้า ที่เขาไม่เลือกเสียงแพะ
ไม่เช่นนั้น โลโกเสียงของ Netflix อาจไม่ประสบความสำเร็จเท่าทุกวันนี้ก็ได้..