5 ค่ายรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น รั้งท้ายตาราง บริษัทที่พร้อมเปลี่ยนผ่าน สู่ยุครถยนต์ที่ไม่ปล่อยมลพิษ
1 มิ.ย. 2023
สภาระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องการขนส่งด้วยพลังงานสะอาด (The International Council on Clean Transportation หรือ ICCT) ซึ่งเป็นหน่วยงานไม่แสวงหากำไร ได้ทำการจัดอันดับค่ายรถยนต์ ที่เป็น “ผู้นำ” ในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุครถยนต์ที่ไม่ปล่อยมลพิษ (Zero Emission Vehicle)
ซึ่งค่ายรถยนต์ที่ได้คะแนนสูงสุด 2 อันดับแรก และจัดเป็น “ผู้นำ” ในตลาด ก็คือ Tesla และ BYD
ทั้งนี้ การจัดอันดับ จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มตามคะแนน คือ ผู้นำ (Leaders), ผู้กำลังเปลี่ยนผ่าน (Transitioners) และผู้ล้าหลัง (Laggards)
โดยการจัดอันดับนี้ ICCT ใช้เกณฑ์การให้คะแนนใน 3 ด้านหลัก ได้แก่
1. ความสามารถในการครองตลาด
ซึ่งพิจารณาจากทั้งส่วนแบ่งการตลาดรวม และความหลากหลายของประเภทรถยนต์ ที่เป็นตัวเลือกให้กับผู้บริโภค
ซึ่งพิจารณาจากทั้งส่วนแบ่งการตลาดรวม และความหลากหลายของประเภทรถยนต์ ที่เป็นตัวเลือกให้กับผู้บริโภค
2. เทคโนโลยี
ซึ่งพิจารณาจาก อัตราการสิ้นเปลือง ความเร็วในการชาร์จ ระยะทางที่วิ่งได้ การใช้พลังงานหมุนเวียน และการรีไซเคิลแบตเตอรี่
ซึ่งพิจารณาจาก อัตราการสิ้นเปลือง ความเร็วในการชาร์จ ระยะทางที่วิ่งได้ การใช้พลังงานหมุนเวียน และการรีไซเคิลแบตเตอรี่
3. วิสัยทัศน์ของแบรนด์
ซึ่งพิจารณาจากการลงทุน รวมถึงเป้าหมายของรถยนต์ที่ไม่ปล่อยมลพิษ
ซึ่งพิจารณาจากการลงทุน รวมถึงเป้าหมายของรถยนต์ที่ไม่ปล่อยมลพิษ
โดยทั้ง Tesla และ BYD ได้คะแนนเฉลี่ยจากเกณฑ์ทั้ง 3 ด้าน ที่ 83 และ 73 คะแนน ตามลำดับ
และนับว่าเป็น “ผู้นำ” ของรถยนต์ที่ไม่ปล่อยมลพิษ เพียง 2 จาก 20 แบรนด์ ที่ได้รับการจัดอันดับในครั้งนี้
และนับว่าเป็น “ผู้นำ” ของรถยนต์ที่ไม่ปล่อยมลพิษ เพียง 2 จาก 20 แบรนด์ ที่ได้รับการจัดอันดับในครั้งนี้
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ค่ายรถยนต์อื่น ๆ ส่วนใหญ่ ได้รับการจัดอันดับ ให้อยู่ในช่วง “ผู้กำลังเปลี่ยนผ่าน” แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น
BMW, Volkswagen, Mercedes-Benz, GM, Ford, Hyundai และ Kia เป็นต้น
เช่นเดียวกันกับค่ายรถยนต์จากจีน อย่าง SAIC และ Great Wall Motor ก็ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในช่วงกำลังเปลี่ยนผ่านเช่นเดียวกัน
แต่สิ่งที่น่าสนใจที่สุด กลับกลายเป็นค่ายรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น ที่อยู่ท้ายตาราง และได้รับการจัดอันดับให้เป็นค่ายรถยนต์ที่ “ล้าหลัง” ในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุครถยนต์ที่ไม่ปล่อยมลพิษ
ไม่ว่าจะเป็น Toyota, Honda, Nissan, Mazda และ Suzuki รวมถึง Tata ค่ายรถยนต์จากอินเดีย อีกด้วย
โดยในกรณีของ Toyota แม้ในด้านเทคโนโลยี จะได้คะแนนอยู่ที่ 43 คะแนน ซึ่งนับว่ามากกว่าค่ายรถยนต์บางค่าย ที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในช่วง ผู้กำลังเปลี่ยนผ่าน
แต่สิ่งที่ทำให้ Toyota ได้รับการจัดอันดับ ให้อยู่ในกลุ่มผู้ล้าหลังนั้น ก็เป็นเพราะส่วนแบ่งการตลาดโดยรวมที่น้อย รวมถึงวิสัยทัศน์ และการตั้งเป้าหมาย และการลงทุน ที่ยังสู้ค่ายรถยนต์อื่น ๆ ไม่ได้
นอกจากนี้ อีกค่ายรถยนต์ที่น่าสนใจก็คือ Nissan ที่ต้องยอมรับว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา Nissan เคยมีชื่อชั้น ในการแข่งขันด้านรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ไม่น้อย
จากการทำตลาดของ Nissan Leaf ที่ได้รับความนิยมในระดับหนึ่ง แต่ในปัจจุบัน Nissan กลับได้รับการจัดอันดับ ให้อยู่ในกลุ่ม “ล้าหลัง” ไม่ต่างจากค่ายรถยนต์สัญชาติเดียวกัน..