Google เผยเทรนด์การค้นหาเกี่ยวกับความหลากหลายในช่วง Pride Month พร้อมจับมือ UNDP Thailand และวู้ดดี้ มิลินทจินดา สนับสนุนชุมชน LGBTQ+ เปิดรับสมัครหลักสูตรเรียนเพิ่มทักษะฟรี 1,000 ทุน 

Google เผยเทรนด์การค้นหาเกี่ยวกับความหลากหลายในช่วง Pride Month พร้อมจับมือ UNDP Thailand และวู้ดดี้ มิลินทจินดา สนับสนุนชุมชน LGBTQ+ เปิดรับสมัครหลักสูตรเรียนเพิ่มทักษะฟรี 1,000 ทุน 

12 มิ.ย. 2023
Google ประเทศไทย ร่วมฉลอง “Pride Month” มุ่งเน้นการให้ความสำคัญด้านความหลากหลาย ความเท่าเทียมอย่างสม่ำเสมอ โดยในช่วงปีที่ผ่านมาคนไทยให้ความสนใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศในหัวข้อต่างๆ มากขึ้น โดยจากรายงาน Year in Search ของประเทศไทย ในปี 2022 มีการค้นหา “LGBTQ” เพิ่มขึ้น 110% ซึ่งแตะระดับสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา และการค้นหา “สมรสเท่าเทียม” เพิ่มขึ้น 800%
ข้อมูลจาก Google Trends ยังเผยว่า คนไทยให้ความสนใจในเดือนแห่งการเฉลิมฉลอง Pride Month ซึ่งส่งผลให้การค้นหาเกี่ยวกับ LGBT, LGBT Pride และ Rainbow Flag พุ่งสูงขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี
นอกจากนี้ Google ยังได้รวบรวมเทรนด์การค้นหาที่น่าสนใจอื่นๆ เกี่ยวกับ Pride ในประเทศไทย เช่น 
ความสนใจในการค้นหาเกี่ยวกับ non-binary gender, queer, pansexuality, LGBT, rainbow flag, LGBT pride, sexual orientation และ homophobia พุ่งสูงสุดในรอบ 15 ปี ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
ในช่วง 3 ปีจนถึงปี 2566 ความสนใจในการค้นหาที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ได้แก่ “rainbow flag” เพิ่มขึ้น 180% ความสนใจในเรื่อง “gender fluidity” เพิ่มขึ้น 140% ความสนใจเรื่อง “homophobia” เพิ่มขึ้น 130% และ “non-binary gender” เพิ่มขึ้น 110%
มีคำค้นหายอดนิยมเกี่ยวกับ Pride ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา อาทิ “Pride month คือเดือนอะไร”, “Pride คืออะไร”, “ธงสีรุ้งมีกี่สี มีความหมายว่าอะไร” และ “Pride month จัดที่ไหนในไทย”
นอกจากนี้ ผู้คนเริ่มตระหนักถึงความหลากหลาย และใส่ใจเรื่องสิทธิความเท่าเทียมในสังคมมากขึ้น ควบคู่กับการที่ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสมรสเท่าเทียมผ่านการพิจารณาวาระแรกของสภาผู้แทนราษฎร อีกทั้งหลายๆ พรรคการเมืองได้เสนอนโยบายด้านความเท่าเทียมในช่วงการเลือกตั้งที่ผ่านมา พบว่าคำถามยอดนิยมที่คนไทยค้นหาเกี่ยวกับสมรสเท่าเทียมในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ได้แก่
What is the Marriage Equality Act? (พรบ.สมรสเท่าเทียมคืออะไร)
ทำไมรัฐถึงต่อต้านการแต่งงานแบบเพศเดียวกัน (Why does the government oppose same-sex marriage?)
-Why same-sex marriage should be legalized? (ทำไมการแต่งงานเพศเดียวกันจึงควรถูกกฎหมาย)
จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง 66 (What are the required documents for marriage registration 2023?)
-Why we should respect same sex marriage? (ทำไมเราควรเคารพการแต่งงานของเพศเดียวกัน)
ทำไมเพศเดียวกันควรแต่งงานกันได้ (Why do the same-sex couples should have the right to marry?)
รัฐบาลสหรัฐอเมริกามีนโยบายอย่างไรกับการแต่งงานเพศเดียวกัน  (How does the US policy toward same-sex marriage work?)
Same-sex family คืออะไร (What is same-sex family?)
Is gay marriage legal in Thailand? (การแต่งงานของเกย์ในประเทศไทยถูกกฎหมายหรือไม่)
Is same sex marriage morally right? (การแต่งงานเพศเดียวกันผิดศีลธรรมหรือไม่)
โดยในประเทศไทย แม่ฮ่องสอน อ่างทอง พะเยา สมุทรสงคราม และเชียงใหม่ เป็นจังหวัดที่มีการค้นหาเกี่ยวกับ LGBT มากที่สุดในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
ถึงแม้คนไทยจะตื่นตัวและให้ความสนใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน Google ยังเล็งเห็นถึงการเข้าถึงการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกันในสังคมไทย เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสด้านการศึกษาไม่เพียงแต่สำหรับชุมชน LGBTQ+ แต่ยังรวมถึงนักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่ต้องการเพิ่มทักษะด้านต่างๆ
Google จึงเห็นว่าการเปิดโอกาสในการสมัครคอร์สอบรมพัฒนาทักษะผ่านคอร์สที่สามารถได้รับใบรับรองโดยไม่คำนึงถึงภูมิหลังต่างๆและไม่ต้องมีประสบการณ์เพื่อสมัครหลักสูตรที่ช่วยในการปิดช่องว่างนี้
ในเดือนแห่งการเฉลิมฉลองความเท่าเทียมนี้ Google จึงมีเป้าหมายในการนำเสนอหลักสูตร Samart Skills หรือ Google Career Certificates จำนวน 9 หลักสูตรให้กับชุมชน LGBTQ+ และกลุ่มผู้สนับสนุน Pride โดยได้ร่วมกับ  “วู้ดดี้ มิลินทจินดา” พิธีกรชื่อดังของเมืองไทย และ UNDP Thailand ที่จะช่วยประชาสัมพันธ์กิจกรรมให้เข้าถึงชุมชน LGBTQ+ และกลุ่มผู้สนับสนุน Pride ทั่วประเทศที่ต้องการความช่วยเหลือจริงๆ ได้สมัครเพื่อรับทุนการศึกษาดังกล่าวจำนวน 1,000 ทุน
เรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) กล่าวว่า “UNDP มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับ Google และคุณวู้ดดี้ ในแคมเปญนี้ เพื่อช่วยสร้างโอกาสในการเรียนรู้ พัฒนาทักษะความสามารถและเพิ่มโอกาสในการจ้างงานสำหรับกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTI) ผู้พิการ และกลุ่มชาติพันธุ์
UNDP หวังว่ากลุ่มคนเหล่านี้จากทั่วประเทศไทยจะให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการนี้ ซึ่งมุ่งเน้นการลดช่องว่างในการเข้าถึงการฝึกอบรมและการศึกษา ยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยและลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม”
วู้ดดี้ มิลินทจินดา พิธีกรชื่อดัง กล่าวว่า“ดีใจที่ได้ร่วมกับ Google เป็นส่วนหนึ่งในการทำกิจกรรมดีๆ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับชุมชน LGBTQ+ และกลุ่มผู้สนับสนุน Pride ที่ผ่านมาผมเองก็ได้มีโอกาสทำแคมเปญสำหรับชาว LGBTQ+ และในครั้งนี้ได้ร่วมประชาสัมพันธ์โครงการดีๆ ด้านการศึกษาที่จะช่วยสร้างโอกาสให้กับคนทุกๆ กลุ่มได้อย่างเท่าเทียม เพราะผมเชื่อว่าการศึกษาคือปัจจัยพื้นฐานที่สามารถสร้างโอกาสได้อีกมากมาย
และยิ่งหลักสูตร Samart Skills ของ Google ที่สามารถเรียนที่ไหนก็ได้ จบหลักสูตรแล้วยังได้ใบรับรองเพื่อต่อยอดสมัครงานหรือพัฒนาทักษะเพื่อสร้างความก้าวหน้าในอาชีพได้ ผมหวังว่า 1,000 ทุนนี้จะสามารถส่งต่อถึงกลุ่มคนที่ต้องการได้อย่างทั่วถึง”
โดยหลักสูตร Samart Skills สอนโดยพนักงานผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์หลายสิบปีของ Google พร้อมภาคปฏิบัติ ทำให้สามารถใช้งานได้จริง ผู้เรียนสามารถรับใบรับรองได้ภายใน 3 - 6 เดือน ซึ่งช่วยให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมสามารถเข้าถึงทักษะที่ต้องการผ่านหลักสูตรนี้
โดยหลักสูตรนี้ประกอบไปด้วย 6 หลักสูตรเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล, การตลาดดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซ, การสนับสนุนด้านไอที, ระบบอัตโนมัติด้านไอที, การจัดการโครงการ, การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (UX) และอีก 3 หลักสูตรใหม่ล่าสุด ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง, ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และธุรกิจอัจฉริยะ
สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครหลักสูตร Samart Skills ไม่จําเป็นต้องมีประสบการณ์มาก่อน สามารถเรียนที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ เมื่อเรียนจบหลักสูตรแล้วสามารถต่อยอดไปสู่การสมัครงานได้ และ Google มีแพลตฟอร์มการรับสมัครงานสําหรับผู้ที่เรียนจบหลักสูตร Samart Skills กับองค์กรชั้นนำในกลุ่มพันธมิตรผู้ว่าจ้างในโครงการนี้อีกด้วย
โดยสำหรับผู้ที่สนใจสามารถสมัครได้ที่ https://goo.gle/SamartSkillsPrideWithGoogle ตั้งแต่วันนี้ - 30 มิถุนายน 2566 และจะประกาศผลให้ทราบในวันที่ 10 กรกฎาคมนี้ ผ่านทางอีเมลของผู้สมัคร
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.