ถอดกลยุทธ์ Medyceles สร้างความโดดเด่น ท่ามกลางตลาดเลือด ของธุรกิจเสริมความงาม อย่างไร ?

ถอดกลยุทธ์ Medyceles สร้างความโดดเด่น ท่ามกลางตลาดเลือด ของธุรกิจเสริมความงาม อย่างไร ?

25 ส.ค. 2023
Medyceles x MarketThink
รู้หรือไม่ ? ประเทศไทย นิยมเสริมความงามมากเป็นอันดับที่ 14 ของโลก
Grand View Research คาดว่า ในปี 2027 มูลค่าตลาดเสริมความงามของไทย จะสูงถึง 2.5 แสนล้านบาท
ซึ่งเติบโตขึ้นจากปี 2020 เกือบ 3 เท่า
หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 16.6% ต่อปี เลยทีเดียว
จะเห็นได้ว่า ตลาดเสริมความงามของไทย กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งนอกจากจะได้รับความนิยมในกลุ่มชาวไทยแล้ว กลุ่มชาวต่างชาติ ก็นิยมมาใช้บริการเสริมความงามที่ประเทศไทยด้วยเช่นกัน
แล้วอะไรที่ทำให้ธุรกิจเสริมความงามของไทย เป็นที่นิยม และเติบโตอย่างต่อเนื่อง ?
ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ก็มักจะเห็นคลินิกเสริมความงามที่เรียงรายขึ้นเป็นดอกเห็ด
ดังนั้น คงจะไม่ผิดนัก หากจะบอกว่า ธุรกิจเสริมความงามของไทย เป็นตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด ท่ามกลางทะเลสีเลือด (Red Ocean)
โดยผู้เข้าลงแข่งขันก็มีทั้ง ผู้เล่นหน้าเก่าที่เป็นเชนขนาดใหญ่
และผู้เล่นหน้าใหม่ที่เป็นรายเล็ก ๆ ซึ่งพร้อมที่จะเข้ามาลงทำการแข่งขันทุกเมื่อ
ที่น่าสนใจ ถ้าวางกลยุทธ์การตลาดมาอย่างดี และปั้นแบรนด์จนติดตลาด
ธุรกิจเสริมความงาม ไม่ว่าจะเป็น คลินิกเสริมความงาม หรือแบรนด์ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ก็จะเป็นธุรกิจที่สามารถรักษาฐานลูกค้าเก่า ให้กลับเข้ามาใช้บริการซ้ำ ๆ ได้เป็นอย่างดี (Customer Retention)
ซึ่งกลยุทธ์การตลาด และการปั้นแบรนด์ให้ติดตลาด ก็มีหลากหลายวิธี
ในบทความนี้ จะยกตัวอย่างกลยุทธ์ที่ Medyceles บริษัทผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์เสริมความงามจากประเทศเกาหลีใต้นิยมใช้
1. การชู “คุณภาพ” ของสินค้า เทียบเท่ากับแบรนด์ต้นแบบ แต่มีราคาคุ้มค่ากว่าเท่าตัว
ถ้าพูดถึงเรื่องผลิตภัณฑ์เสริมความงาม สิ่งสำคัญที่ต้องมีควบคู่กันก็คือ “คุณภาพ”
ซึ่งปัจจุบัน การทำการตลาดโดยบอกเพียงว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก อย. รวมถึงมีฉลากกำกับข้อมูลความปลอดภัย อาจยังไม่เพียงพอ
พอเป็นแบบนี้ Medyceles จึงนำเข้าผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่มีคุณภาพ ที่เหมือนกับสินค้าต้นแบบจากฝั่งสหรัฐอเมริกา แต่มาในราคาที่คุ้มค่ากว่ามาก
รวมถึง มีการออกแบบให้กล่องบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในเครือ สามารถสแกน QR Code เพื่อแสดงข้อมูลผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ให้ลูกค้าทราบได้ ทั้งรุ่นผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ
และมีข้อความยืนยันว่า เป็นสินค้าของ Medyceles ที่นำเข้าและจัดจำหน่ายในประเทศอย่างถูกต้อง
อีกทั้งยังมี Security Sticker บนกล่องบรรจุภัณฑ์ เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ลูกค้าว่าเป็นสินค้าใหม่ ยังไม่ผ่านการเปิดใช้ และยังป้องกันการปลอมแปลงสินค้าโดยใช้กล่องเดิมได้อีกด้วย
2. การเป็นแบรนด์เกาหลีใต้แบรนด์แรก ที่ตีตลาดในประเทศไทย
ข้อดีของการเป็นผู้เล่นรายแรก ๆ ในตลาด (First Mover) คือ เป็นแบรนด์ที่สามารถเข้าถึงลูกค้า ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก และเป็นที่จดจำได้ก่อนแบรนด์อื่น ๆ
เช่นเดียวกับ Medyceles ที่เป็นผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์เสริมความงามจากประเทศเกาหลีใต้ เป็นแบรนด์แรก ๆ ในประเทศไทย
โดยคุณสุรวุฒิ วูวงศ์ ผู้บริหารสูงสุด บริษัท เซเลส (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้เดินทางไปติดต่อสำนักงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนเกาหลีใต้ (KOTRA) ด้วยตัวเองเป็นเวลาหลายปี
เพื่อไปติดต่อว่า สนใจในการนำเข้าผลิตภัณฑ์เสริมความงามจากเกาหลีใต้มาวางขายในไทย
เนื่องจากย้อนไปเมื่อ 10 กว่าปีก่อน ผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่ดี และมีคุณภาพ มักมาจากทวีปยุโรป และสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีราคาสูง ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกไม่มากนัก
หลังจากที่คุณสุรวุฒิปิดดีลได้สำเร็จ สามารถนำเข้าผลิตภัณฑ์เสริมความงามจากเกาหลีใต้มาวางขายในไทยได้ ผลปรากฏว่า ก็ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี
จนภายหลัง เจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์เสริมความงามจากเกาหลีใต้ เสนอขอจับมือร่วมทุน กลายมาเป็น Medyceles ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่หลาย ๆ คนในวงการรู้จักกันดีในปัจจุบัน
ซึ่งกลยุทธ์การจับมือกับพาร์ตเนอร์ก็นับว่า มีแต่ข้อดี..
เพราะนอกจากจะสามารถเข้าถึงสินค้าใหม่ ๆ สามารถนำมาวางขายที่ไทยได้อย่างรวดเร็วแล้ว
ประเทศเกาหลีใต้ที่ขึ้นชื่อเรื่องการเสริมความงาม ยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของ Medyceles ในการเป็นผู้นำตลาดเสริมความงาม
และสร้างข้อได้เปรียบในเรื่องต้นทุน ซึ่งทำให้ Medyceles สามารถนำเข้าผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่มีคุณภาพ ในราคาที่ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ สามารถตีตลาดได้อย่างรวดเร็ว
3. การใช้พรีเซนเตอร์ และโซเชียลมีเดีย ในการสร้างการรับรู้ให้แบรนด์ (Brand Awareness)
การสร้างการรับรู้ในแบรนด์ สามารถทำได้หลากหลายวิธี
ยกตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ของ Medyceles มีการเลือกใช้พรีเซนเตอร์ชื่อดังมาช่วยในการโปรโมต
ไม่ว่าจะเป็น คุณซน เย-จิน นักแสดงชื่อดังชาวเกาหลีใต้ ที่แม้จะอยู่ในวัย 41 ปีแล้ว แต่ยังมีใบหน้าอ่อนเยาว์ ซึ่งสะท้อนถึงคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์เสริมความงามจาก Medyceles ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ Medyceles ยังมีการทำการตลาดแบบ Collaboration กับแบรนด์อื่น ๆ เช่น แบรนด์ไอศกรีม Guss Damn Good ซึ่งสร้างความแปลกใหม่ให้วงการเสริมความงามไม่น้อย
ซึ่งถ้าถามว่า ทำไม Medyceles ต้องจับมือกับแบรนด์ไอศกรีม ?
นั่นก็เพราะ การทำโฆษณาเกี่ยวกับยาหรือเครื่องมือแพทย์ค่อนข้างทำได้ยากในตลาดประเทศไทย
Medyceles จึงเลือกใช้สื่อการตลาดทางอ้อม ที่ทำให้การรับรู้ของแบรนด์เข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้ง่ายขึ้น นั่นเอง
รวมถึง มีการทำการตลาดออนไลน์ผ่านอินฟลูเอนเซอร์ และรถไฟฟ้าบีทีเอส เพื่อเข้าถึงวัยทำงานได้มากขึ้น
อีกทั้งยังมีการให้ความรู้บนโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นให้กับแบรนด์
ทั้งหมดนี้คือ กลยุทธ์การตลาด เบื้องหลังที่นำพาให้ Medyceles เป็นผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่หลายคนรู้จักกันดี และช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ จนหลาย ๆ คนกลับมาซื้อใช้ซ้ำ ๆ
จนทำให้ Medyceles เติบโตขึ้นทุกปี ๆ
โดยในปี 2022 ที่ผ่านมา Medyceles สามารถสร้างยอดขายได้กว่า 400 ล้านบาท และมีอัตราการเติบโตกว่า 83% ต่อปีเลยทีเดียว..
อ้างอิง:
-ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS
-เอกสารประชาสัมพันธ์ Medyceles
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.