ฟูจิฟิล์มผู้นำทางด้านเครื่องมือแพทย์ สนับสนุนวงการแพทย์ ช่วยวิเคราะห์และตรวจรอยโรค ของผู้ป่วย COVID-19 ได้รวดเร็วขึ้น

ฟูจิฟิล์มผู้นำทางด้านเครื่องมือแพทย์ สนับสนุนวงการแพทย์ ช่วยวิเคราะห์และตรวจรอยโรค ของผู้ป่วย COVID-19 ได้รวดเร็วขึ้น

24 เม.ย. 2020
รู้หรือไม่ว่าผู้ป่วย COVID -19 หากเนื้อปอดถูกไวรัสทำลายไม่ถึง 50% 
เมื่อหายจากการติดเชื้อ ร่างกายจะสามารถฟื้นฟูตัวเองได้
ซึ่งจะใช้เวลาช้าหรือเร็วขึ้นอยู่สุขภาพร่างกายของแต่ละคน
กลับกันหากเนื้อปอดถูกไวรัสร้ายนี้ทำลายไปมากกว่า 50%  
ร่างกายอาจฟื้นตัวไม่ไหวจนผู้ป่วยอาจเสียชีวิตในที่สุด
นั่นหมายความว่าหากเราต้องการลดอัตราการเสียชีวิตของคนไทยจากไวรัสร้ายตัวนี้
แพทย์จำเป็นต้องรู้สถานะปอดของผู้ติดเชื้อ COVID - 19 ให้เร็วที่สุด
เพื่อจะได้ทำการรักษาได้ทันท่วงที 
เมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ ทำให้ บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จำกัด ไม่อาจนิ่งเฉยได้ 
ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่า ฟูจิฟิล์ม เกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องนี้
เพราะสินค้าของฟูจิฟิล์มที่คนไทยรู้จักกันดีคือ กล้องถ่ายรูป 
แต่รู้หรือไม่ว่าหากมองไปที่รายได้บริษัทแม่ FUJIFILM Holdings Corporation ในประเทศญี่ปุ่นเราจะพบว่า
อุปกรณ์การแพทย์และผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพมีรายได้คิดเป็น 20%
ธุรกิจอุปกรณ์ถ่ายภาพมีรายได้คิดเป็น 11%  
เป็นตัวเลขที่กำลังบอกเราว่านอกจากบริษัทนี้จะเชี่ยวชาญในธุรกิจกล้องถ่ายภาพ
อุปกรณ์การแพทย์ ก็ยังยืนอยู่ตำแหน่งแถวหน้าของโลก
โดยหนึ่งในสินค้าของฟูจิฟิล์มที่ได้รับการยอมรับว่ามียอดขายสูงเป็นอันดับต้นๆ 
ก็คือ เครื่องเอกซเรย์ดิจิตอล หรือ Digital Portable X-Ray
จึงเป็นที่มาให้ บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จำกัด 
ในฐานะผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ ในประเทศไทย
มองว่าตัวเองก็สามารถเป็นอีกหนึ่งพลังเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่
ในการช่วยเหลือแพทย์ไทยต่อสู้กับศึก COVID-19 ในครั้งนี้
โดยหนึ่งในอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่ถูกทีมแพทย์ร้องขอมากที่สุดในตอนนี้ 
ก็คือเครื่องเอกซเรย์แบบเคลื่อนที่
ฟูจิฟิล์มจึงสนับสนุนเครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลเคลื่อนที่ FDR Nano ไปให้โรงพยาบาลต่างๆ ได้ใช้งาน
โดยหนึ่งในโรงพยาบาลที่ได้ใช้เครื่องนี้ก็คือ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 
ซึ่ง รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาล  
ได้เล่าให้ MarketThink ฟังอย่างน่าสนใจ 
“เครื่องมือเอกซเรย์เคลื่อนที่ FDR Nano ที่ใช้เทคโนโลยี AI
ถือเป็นเครื่องแรกของประเทศไทย ที่นำมาใช้ปฏิบัติงานในสาขารังสี ของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 
ซึ่งถือว่าช่วยแบ่งเบาการทำงานและลดความเสี่ยงของแพทย์ได้เป็นอย่างดี”
แล้วเครื่องเอกซเรย์นี้ มีประสิทธิภาพการทำงานอย่างไร?
รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ก็สรุปสั้นๆ ให้เราเข้าใจง่ายๆว่า
เครื่องนี้เป็นเครื่องเอกซเรย์แบบเคลื่อนที่ระบบดิจิตอล ที่ใช้เทคโนโลยี AI หรือปัญญาประดิษฐ์ โดยจะส่งข้อมูลผ่านสัญญาณ 4G
ซึ่งจะทำให้ทีมแพทย์หาร่องรอยของ COVID-19 ในปอดคนไข้ผ่านจอมอนิเตอร์ 
โดยตัวเครื่องจะแสดงตำแหน่งที่พบความผิดปกติด้วยจุด Detection ในปอดคนไข้ ที่มีความแม่นยำและรวดเร็วมากกว่าการตรวจแบบปกติ 
ด้านคุณ มาโมรุ โมโรตะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จำกัด
บอกถึงการช่วยเหลือครั้งนี้ว่า
“เราหวังว่าการสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อทีมแพทย์ที่ทำการรักษา 
เป้าหมายก็เพื่อช่วยให้คนไทยผ่านพันวิกฤติครั้งนี้ไปได้อย่างรวดเร็วที่สุด”
ขณะเดียวกันเวลานี้ทางบริษัท ฟูจิฟิล์ม โตยามา เคมิคอล ในประเทศญี่ปุ่น
ก็ยังลงทุนวิจัยยาอาวีแกน (Avigan) ซึ่งเป็นยาต้านไวรัส COVID-19 ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอยู่ในขนาดนี้  
โดยถือเป็นยาควบคุมพิเศษระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่นและรัฐบาลไทยเท่านั้น
ถึงตรงนี้เราจะเห็นได้ว่า ฟูจิฟิล์ม กำลังทำธุรกิจอุปกรณ์การแพทย์และด้านการดูแลสุขภาพ (Healthcare solution) ในรูปแบบยั่งยืน 
เพราะในช่วงเวลาเช่นนี้ สิ่งที่จำเป็นที่สุด อาจไม่ใช่การหารายได้เข้าบริษัท 
แต่ภารกิจเร่งด่วนคือการทำให้สังคมไทยรอดพ้นจากวิฤตินี้ให้เร็วที่สุด
แล้วเมื่อสถานการณ์กลับมาปกติ วงการแพทย์และคนไทย จะจดจำว่า
ฟูจิฟิล์ม ก็เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ไม่เคยทอดทิ้งยามประเทศต้องเจอกับปัญหาและความท้าทาย
ทั้งหมดนี้เป็นการตอกย้ำแนวคิด “NEVER STOP” (Improving The Future)
ให้โรงพยาบาลทั่วประเทศและคนไทยได้รับรู้ผ่านการช่วยเหลือครั้งนี้
ว่า ฟูจิฟิล์ม เป็นบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์การแพทย์ และการดูแลสุขภาพ (Healthcare) ที่มีเทคโนโลยีทันสมัย และพร้อมยกระดับการช่วยคุณหมอในการรักษาโรคให้ดียิ่งขึ้นอยู่ตลอดเวลา
Reference
https://www.mcot.net/viewtna/5e5e6298e3f8e40af141c7fe            https://ir.fujifilm.com/en/investors/ir-materials/integrated-report/main/00/teaserItems1/01/linkList/0/link/ff_ir_2019_all_a4.pdf
ข่าวประชาสัมพันธ์ บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จำกัด
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.