
สรุปโอกาสลงทุนใน หุ้น ทองคำ บิตคอยน์ ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก จากงาน THE WISDOM Investment Forum : Wealth in Challenging World
16 พ.ย. 2022
สถานการณ์เศรษฐกิจเริ่มต้นปีด้วยสัญญาณบวก แต่ก็ตามมาด้วยสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง และวิกฤติเงินเฟ้อ ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกมีความผันผวน ส่งผลต่อการลงทุนอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง นำมาซึ่งคำถามใหญ่ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร ?
ที่สำคัญ นักลงทุนจะวางกลยุทธ์ในการลงทุน เพื่อปรับพอร์ตอย่างไร ?
เพื่ออัปเดตข้อมูลการลงทุนที่น่าสนใจ เดอะวิสดอมกสิกรไทย จึงได้จัดงานสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “Wealth in Challenging World เดินหน้าฝ่ามรสุม คว้าความมั่งคั่ง”
เชิญผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์ และแชร์มุมมองการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ทองคำ หรือบิตคอยน์
เพื่อเป็นไอเดียในการจัดพอร์ตให้นักลงทุน คว้าความมั่งคั่ง ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่ผันผวน
เพื่อเป็นไอเดียในการจัดพอร์ตให้นักลงทุน คว้าความมั่งคั่ง ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่ผันผวน
เริ่มต้นด้วยภาพรวมของแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ในปี 2023 ผ่านมุมมองของ ดร.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายองค์กรสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีมุมมองว่า เศรษฐกิจโลก กำลังเข้าสู่ “ภาวะอึมครึม” และความอึมครึมของเศรษฐกิจโลกในปี 2023 จะรุนแรงยิ่งกว่าปีนี้
เนื่องจาก กลุ่มเศรษฐกิจหลัก อย่าง สหรัฐฯ ยุโรป และจีน ที่เป็นตัวเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ไม่สามารถเติบโตได้อย่างที่คาดการณ์
ที่ผ่านมากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2023 จากเดิมที่ระดับ 2.9% มาอยู่ที่ 2.7%
เนื่องจากเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และยุโรป กลับมาฟื้นตัวอย่างร้อนแรง หลังโควิด 19
แต่พอมาเจอกับวิกฤติราคาพลังงานที่สูง จากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน นำไปสู่วิกฤติเงินเฟ้อ
ส่งผลให้ธนาคารกลางของทั้งสองภูมิภาค ต้องรับมือด้วยการขึ้นดอกเบี้ย
ขณะที่จีน ซึ่งได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว บวกกับยังเดินหน้านโยบาย Zero Covid ต่อ และเจอกับวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหดตัวลง
คาดว่า GDP ของจีนในปี 2022 อาจจะไม่ถึงเป้าที่ตั้งไว้ ว่าจะเติบโตอยู่ที่ระดับ 5.5%
แต่พอมาเจอกับวิกฤติราคาพลังงานที่สูง จากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน นำไปสู่วิกฤติเงินเฟ้อ
ส่งผลให้ธนาคารกลางของทั้งสองภูมิภาค ต้องรับมือด้วยการขึ้นดอกเบี้ย
ขณะที่จีน ซึ่งได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว บวกกับยังเดินหน้านโยบาย Zero Covid ต่อ และเจอกับวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหดตัวลง
คาดว่า GDP ของจีนในปี 2022 อาจจะไม่ถึงเป้าที่ตั้งไว้ ว่าจะเติบโตอยู่ที่ระดับ 5.5%
ส่วนประเด็นใหญ่ที่หลายคนจับตามอง อย่างการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ
ธปท. ซึ่งมีบทบาทในการดูแลค่าเงินบาท ไม่ได้มีการกำหนดค่าเงินบาทไว้ตายตัว ว่าต้องอยู่ที่เท่าไรจึงจะเหมาะสม
ธปท. ซึ่งมีบทบาทในการดูแลค่าเงินบาท ไม่ได้มีการกำหนดค่าเงินบาทไว้ตายตัว ว่าต้องอยู่ที่เท่าไรจึงจะเหมาะสม
แต่จะเข้ามาดูแล หากเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนรุนแรง จนอาจกระทบกับภาคธุรกิจและเศรษฐกิจได้
ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบความผิดปกติ และมองว่าการอ่อนค่าของเงินบาท เป็นผลจากการขึ้นดอกเบี้ยของ FED
ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบความผิดปกติ และมองว่าการอ่อนค่าของเงินบาท เป็นผลจากการขึ้นดอกเบี้ยของ FED
ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า ภายในไตรมาส 1 หรือ 2 ของปี 2023 FED น่าจะหยุดขึ้นดอกเบี้ย ทำให้ความร้อนแรงของการผันผวนในตลาดการเงิน อาจจะชะลอลงได้บ้าง
อย่างไรก็ตาม ดร.ชญาวดี มองว่า สำหรับกลุ่มประเทศ Emerging Market ที่เน้นการบริโภคภายในประเทศ, กลุ่มที่ส่งออกพลังงาน และเน้นการท่องเที่ยวอย่างบ้านเรา ในปีนี้ เศรษฐกิจจะยังเติบโตสวนทางกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก
สำหรับคำแนะนำที่อยากฝากถึง ผู้ประกอบการ และนักลงทุน มี 3 ข้อ คือ
1. กระจายความเสี่ยง
2. ประกันความเสี่ยง
3. สร้างกันชน Build Buffer
2. ประกันความเสี่ยง
3. สร้างกันชน Build Buffer
ฉายภาพรวมให้เห็นทิศทางของเศรษฐกิจในปี 2023 ไปแล้ว
มาถึงอีกหนึ่งโจทย์สำหรับนักลงทุน นั่นคือ ทิศทางการลงทุนให้งอกเงย ในยุคเศรษฐกิจผันผวน
มาถึงอีกหนึ่งโจทย์สำหรับนักลงทุน นั่นคือ ทิศทางการลงทุนให้งอกเงย ในยุคเศรษฐกิจผันผวน
เริ่มจากหุ้น..
คุณสรพล วีระเมธีกุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์ บมจ.หลักทรัพย์กสิกรไทย มองว่า ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจโลกเจอกับวิกฤติใหญ่มา 3-4 ครั้ง ส่งผลให้เศรษฐกิจที่ชะลอตัว
ซึ่งต้องใช้เวลา 4-5 ปี กว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวกลับมา
ซึ่งต้องใช้เวลา 4-5 ปี กว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวกลับมา
แต่รอบนี้ ใช้เวลาแค่ 2 ปี เศรษฐกิจเกือบทุกประเทศ สามารถกลับมาสู่ช่วงก่อนเกิดโควิด 19
เพราะมีการอัดฉีดเงิน เข้าไปในระบบมากกว่า 30 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งสูงกว่า GDP ของสหรัฐฯ และจีน
เพราะมีการอัดฉีดเงิน เข้าไปในระบบมากกว่า 30 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งสูงกว่า GDP ของสหรัฐฯ และจีน
แม้การอัดฉีดเงินจะส่งผลให้เศรษฐกิจพองกลับมาเร็ว แต่ก็นำไปสู่การเกิดเงินเฟ้อสูงขึ้นทั่วโลก จนต้องมีการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งส่งผลกระทบกับสินทรัพย์เสี่ยง
โดยคุณสรพลเชื่อว่าเดือนพฤศจิกายนนี้ จะเป็นจุดที่ CPI และ CORE CPI ผ่านจุดพีกที่ 9.1% กับ 6.6% ลงมา ทำให้เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว และ FED มีแนวโน้มจะกลับลำ ไม่ขึ้นดอกเบี้ย
ขณะที่ในฝั่งจีน ซึ่งเพิ่งมีการประชุมสมัชชาใหญ่ มีการเดินหน้านโยบาย Zero Covid ต่อ ทำให้เศรษฐกิจอาจจะยังไม่ได้กลับมาเติบโตอย่างร้อนแรง
แต่หากจีนกลับมาเปิดประเทศ เศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัว
เพราะจีนไม่ได้มีปัญหาเงินเฟ้อเหมือนสหรัฐฯ และยุโรป จึงใช้ทั้งนโยบายการเงินและการคลังได้เต็มที่
เพราะจีนไม่ได้มีปัญหาเงินเฟ้อเหมือนสหรัฐฯ และยุโรป จึงใช้ทั้งนโยบายการเงินและการคลังได้เต็มที่
สำหรับทิศทางเศรษฐกิจไทยในปีหน้า คุณสุรพลวิเคราะห์ว่า Q2 ปีหน้าคาดว่า เงินเฟ้อบ้านเราจะลงไปถึงเป้าที่ 2.5% เป็นประเทศแรก ๆ ของโลก
คำแนะนำสำหรับนักลงทุนในการจัดพอร์ตหุ้น คือ ลงทุนในประเทศที่ยังมีแนวโน้มเติบโต
ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น เนื่องจากยังมี Pent Up Demand จากการเปิดประเทศช้า
ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น เนื่องจากยังมี Pent Up Demand จากการเปิดประเทศช้า
แต่ถ้าอยากลงทุนในหุ้นต่างประเทศ หากพอร์ตการลงทุนหุ้นอยู่ที่ 60%
แนะนำว่า ในช่วง 6 เดือนข้างหน้าให้ลงทุนในหุ้นไทย 30% หุ้น Tech ของสหรัฐฯ 15% และหุ้นกลุ่ม A-share ของจีน 15%
แนะนำว่า ในช่วง 6 เดือนข้างหน้าให้ลงทุนในหุ้นไทย 30% หุ้น Tech ของสหรัฐฯ 15% และหุ้นกลุ่ม A-share ของจีน 15%
มาถึงฝั่งทองคำ..
คุณธนรัชต์ พสวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มฮั่วเซ่งเฮง เผยถึงภาพรวมทิศทางราคาทองคำว่า ช่วงที่เพิ่งเกิดวิกฤติโควิด 19 ราคาทองคำขึ้นไปทำ All Time High
มาถึงปีนี้ ทองคำถูกกดดันอย่างหนัก จากการขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว และรุนแรงของสหรัฐฯ ทำให้ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ตรงข้ามกับทองคำแข็งค่า กดดันราคาทองคำ
สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงทุนทองคำ ที่ต้องจับตาต่อจากนี้ ได้แก่
- นโยบายการเงินของ FED
- เศรษฐกิจสหรัฐฯ และทั่วโลก เผชิญความเสี่ยงภาวะถดถอย
- ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์
- แรงซื้อขายของกองทุน ETF
- เศรษฐกิจสหรัฐฯ และทั่วโลก เผชิญความเสี่ยงภาวะถดถอย
- ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์
- แรงซื้อขายของกองทุน ETF
โดยคุณธนรัชต์ จับสัญญาณจากผลการประชุมสมัชชาใหญ่ของจีนว่า จะส่งผลต่อแนวโน้มราคาทองคำ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
เริ่มจากนโยบาย Zero Covid ที่ยังคงเดินหน้าต่อ ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจจีนอาจจะชะลอตัว
ซึ่งจะส่งผลในเชิงลบต่อราคาทองคำในระยะสั้น
ซึ่งจะส่งผลในเชิงลบต่อราคาทองคำในระยะสั้น
แต่หาก GDP ของจีนมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลทิศทางบวกต่อการบริโภคทองคำที่ดีขึ้นในระยะถัดไป
ขณะที่ปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ นโยบายจีนเดียวที่มีต่อไต้หวัน และความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน
ซึ่งหลายฝ่ายกำลังจับตาว่า จีนจะเดินเกมอย่างไร หากสถานการณ์บานปลาย อาจจะส่งผลดีต่อราคาทองคำ
ซึ่งหลายฝ่ายกำลังจับตาว่า จีนจะเดินเกมอย่างไร หากสถานการณ์บานปลาย อาจจะส่งผลดีต่อราคาทองคำ
สรุปคือ ทิศทางของนักลงทุนทองคำปีนี้ ควรจะชะลอไว้ก่อน และเริ่มกลับมาสะสมทองคำ เพื่อหวังผลในปีหน้า
แต่คาดว่าการลงทุนทองคำ อาจจะไม่ได้หวือหวามาก แต่หากเมื่อไรที่ราคาหลุด 1,600 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ลงไป ถือว่าเป็นจังหวะที่น่าเข้าซื้อมาก ๆ
แต่คาดว่าการลงทุนทองคำ อาจจะไม่ได้หวือหวามาก แต่หากเมื่อไรที่ราคาหลุด 1,600 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ลงไป ถือว่าเป็นจังหวะที่น่าเข้าซื้อมาก ๆ
ปิดท้ายด้วยบิตคอยน์..
คุณพิริยะ สัมพันธารักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฉลกดอทคอม จำกัด มองว่าบิตคอยน์ หุ้น หรือทองคำ ราคาจะขึ้นหรือลง เป็นไปตามปริมาณเงินที่ถูกอัดเข้ามาในระบบ
โดยทิศทางของสินทรัพย์เหล่านี้ บางครั้งก็เป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม เช่น
ช่วงที่มีการอัดฉีดเงินเข้ามาในตลาดมากขึ้น ธุรกิจก็ดีขึ้น หุ้นก็ขึ้น แต่ทองคำอาจจะร่วง
ช่วงที่มีการอัดฉีดเงินเข้ามาในตลาดมากขึ้น ธุรกิจก็ดีขึ้น หุ้นก็ขึ้น แต่ทองคำอาจจะร่วง
สำหรับทิศทางของบิตคอยน์ ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นมาได้ 13 ปี หลายคนรู้จักในฐานะสินทรัพย์เสี่ยง จึงนำไปเปรียบเทียบกับหุ้น
แต่ถ้ามองในเชิงพื้นฐาน อาจจะคล้ายทองคำ คือเป็น Hard Asset ที่มีจำนวนจำกัด มีต้นทุนในการผลิตสูง และไม่ได้มีผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล
แต่ถ้ามองในเชิงพื้นฐาน อาจจะคล้ายทองคำ คือเป็น Hard Asset ที่มีจำนวนจำกัด มีต้นทุนในการผลิตสูง และไม่ได้มีผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล
โดยทุก 4 ปี บิตคอยน์จะมีวัฏจักรที่เรียกว่า Bitcoin Halving หรือการลดอัตราการผลิตลงครึ่งหนึ่งทุก 4 ปี
เพื่อให้สินทรัพย์มีความแข็งแกร่งมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่า ราคาจะสูงขึ้น
เพื่อให้สินทรัพย์มีความแข็งแกร่งมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่า ราคาจะสูงขึ้น
เพราะราคาของบิตคอยน์ ไม่ได้เพิ่มขึ้นจากอัตราการใช้งานที่มากขึ้น แต่เกิดจากการเข้ามาลงทุน หรือซื้อเพื่อเก็งกำไร หรือพักเงินเพื่อหนีเงินเฟ้อ
ปัจจุบันจะเห็นว่า ราคาของบิตคอยน์ตกลงมา 70% จากจุดสูงสุด
ปีนี้ทั้งปีลงมาประมาณ 40% ถือเป็นการลงที่ค่อนข้างใหญ่ แต่ยังไม่ได้ลงมาถึงจุดต่ำสุด
ปีนี้ทั้งปีลงมาประมาณ 40% ถือเป็นการลงที่ค่อนข้างใหญ่ แต่ยังไม่ได้ลงมาถึงจุดต่ำสุด
ดังนั้น สำหรับใครที่อยากมีสินทรัพย์ดิจิทัลในพอร์ต อาจจะอดใจรออีกนิด แล้วค่อยเริ่มเข้ามาสะสม
ทั้งหมดนี้คือ บทสรุปของงานสัมมนาสุดเข้มข้น ที่เดอะวิสดอมกสิกรไทย ตั้งใจจัดขึ้น เพื่อให้นักลงทุนได้ก้าวข้าม “Wealth in Challenging World เดินหน้าฝ่ามรสุม คว้าความมั่งคั่ง” นั่นเอง..