เบื้องหลังการปรับตัวสู่ผู้นำปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำแห่งอาเซียน ของ SCG ในเวที INTERCEM Asia 2025 เพื่อเติบโตอย่างยั่งยืน

เบื้องหลังการปรับตัวสู่ผู้นำปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำแห่งอาเซียน ของ SCG ในเวที INTERCEM Asia 2025 เพื่อเติบโตอย่างยั่งยืน

9 พ.ค. 2025
ท่ามกลางกระแส “โลกเดือด” ที่ทวีความรุนแรง และไม่ใช่เรื่องไกลตัวทุกคนอีกต่อไป
กำลังสร้างความท้าทายครั้งใหญ่ให้กับอุตสาหกรรมก่อสร้าง ในฐานะหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สร้างภาวะโลกร้อน
ยกตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการก่อสร้าง อย่าง ปูนซีเมนต์
หลายคนอาจไม่รู้ว่า เบื้องหลังการผลิตปูนซีเมนต์นั้น ต้องผ่านกระบวนการเผาหินปูนที่อุณหภูมิสูงประมาณ 1,500 องศาเซลเซียส
ใครที่จินตนาการภาพตามไม่ออกว่า ความร้อนระดับ 1,500 องศาเซลเซียส นั้นร้อนขนาดไหน
เปรียบเทียบง่าย ๆ ว่า ปกติน้ำเดือด ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ก็ทำให้เกิดไอน้ำและลวกผิวหนังได้
ขณะที่ลาวาจากภูเขาไฟ โดยทั่วไปจะมีอุณหภูมิประมาณ 700-1,200 องศาเซลเซียส
นอกจากความร้อนมหาศาล แน่นอนว่าในกระบวนการดังกล่าวทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากตามมาอีกด้วย

ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า การผลิตปูนซีเมนต์ทั่วโลก มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คิดเป็นสัดส่วน 7-8% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก
คำถามคือ เมื่อปูนซีเมนต์ยังเป็นวัสดุที่จำเป็นต่อการก่อสร้าง ในฐานะผู้ผลิตจะทำอย่างไร เพื่อข้ามผ่านความท้าทายดังกล่าว และเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกอบกู้โลกจากภาวะโลกเดือด ?
MarketThink จะพาทุกคนไปหาคำตอบพร้อมกัน..
นาทีนี้วิกฤติโลกเดือด ไม่ใช่แค่ปัญหาเร่งด่วนของชาติใดชาติหนึ่ง แต่เป็นวาระระดับโลก
ที่ทุกฝ่ายต้องหันหน้ามาร่วมด้วยช่วยกัน
จะเห็นว่า ที่ผ่านมา ในเวทีระดับโลกได้มีการเดินเครื่องหลายมาตรการ อาทิ
- มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism - CBAM) ที่สหภาพยุโรป ใช้เพื่อส่งเสริมให้ประเทศคู่ค้านอกสหภาพยุโรปมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และป้องกันปัญหาการรั่วไหลของคาร์บอน (Carbon Leakages)
โดยจะมีการกำหนดราคาคาร์บอนผ่านการเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้นำเข้าสินค้าประเภทที่มีการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตสูง
- การเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) จากปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของผู้ผลิต
โดยประเทศแรกที่มีการประกาศใช้มาตรการภาษีคาร์บอนอย่างเป็นทางการ คือ ฟินแลนด์
ประกาศใช้ตั้งแต่ปี 1990 หลังจากนั้น ประเทศอื่น ๆ ในยุโรปและทั่วโลกก็เริ่มทยอยนำมาตรการนี้มาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ
- ในฝั่งสหรัฐอเมริกา ได้มีการตั้งเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution : NDC) ตามข้อตกลงปารีส โดยตั้งเป้าจะลดก๊าซเรือนกระจก 50-52% ภายในปี 2030 และบรรลุ Net Zero GHG Emissions ภายในปี 2050
นอกจากนี้ยังมีร่างกฎหมาย Clean Competition Act หรือ CCA ซึ่งประกอบด้วยมาตรการกำหนดกลไกราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) สำหรับสินค้าที่ผลิตในประเทศ และมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism : US-CBAM) สำหรับสินค้านำเข้า โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ ผลิตและกลั่นปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ปุ๋ย ไฮโดรเจน กรดอะดิพิก ปูนซีเมนต์ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม กระจก เยื่อกระดาษและกระดาษ และเอทานอล

ถามว่ามาตรการทั้งหมดนี้ จะส่งผลกระทบอย่างไร ?
แน่นอนว่า ถ้ามองในภาพใหญ่ มาตรการจากกลุ่มประเทศยักษ์ใหญ่ ย่อมสร้างแรงกระเพื่อมให้เกิดขึ้น
ขณะเดียวกันยังกระตุ้นให้ผู้เล่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมถึงปูนซีเมนต์ทั่วโลกเองที่ต้องเร่งปรับตัว
เพื่อไม่ให้กระทบกับขีดความสามารถในการแข่งขัน และต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องมีการส่งออกไปขายในตลาดโลก
ปัจจุบัน ประเทศไทยเอง ก็มีการตั้งเป้า NDC ว่าภายในปี 2030 จะลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20-25%
ดังนั้น เพื่อเป็นการตอกย้ำถึงความพร้อมและความมุ่งมั่นของ SCG ในฐานะบริษัทไทยที่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และมีฐานการผลิตระดับภูมิภาค รวมทั้งมีการส่งออกไปยังหลายประเทศทั่วโลก
ล่าสุด SCG ได้เป็นเจ้าภาพร่วมจัดงาน INTERCEM Asia 2025
งานประชุมใหญ่ระดับโลกของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ที่รวมผู้เกี่ยวข้องจากทั่วโลกกว่า 1,000 คน
ซึ่งปีนี้จัดขึ้นภายใต้ธีม การเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไปสู่ปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ (Low Carbon Cement)

ความพิเศษของงานนี้ คือ นอกจากจะแสดงถึงศักยภาพและความพร้อมในการเป็นผู้นำขับเคลื่อนนวัตกรรมปูนคาร์บอนต่ำ ยังสะท้อนถึงวิสัยทัศน์การเป็นผู้นำระดับภูมิภาคด้านนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง โซลูชันที่ยั่งยืน
อีกทั้งยังเป็นการร่วมยกระดับมาตรฐานด้านความยั่งยืนของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในเวทีสากลอีกด้วย
ถ้าถามว่าทำไม SCG ถึงพร้อมเป็นผู้นำขับเคลื่อนนวัตกรรมปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ
เหตุผลก็เพราะด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของ SCG ที่เล็งเห็นแนวโน้มของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์โลกและอนาคตแห่งการอยู่อาศัยที่ยั่งยืน จึงไม่ได้นิ่งดูดาย แต่มีการเตรียมพร้อมและวางรากฐานในเรื่องนี้มาตลอด
โดยมีการลงทุนวิจัยและพัฒนานวัตกรรมปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำมาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำและยกระดับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภูมิภาคอาเซียน
ดังนั้นในงาน INTERCEM Asia 2025 SCG จึงตั้งใจมาแบ่งปันและโชว์ศักยภาพความพร้อมของ SCG ในฐานะผู้นำในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ทั้งในไทยและอาเซียน
โดยนวัตกรรมที่ SCG วิจัยและพัฒนาเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้แก่
- SCG LC3 Structural Cement : ปูนเอสซีจี LC3 ปูนคาร์บอนต่ำ สูตรต้นแบบ
ที่พัฒนาจากองค์ความรู้เฉพาะของ SCG ที่สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) ได้มากถึง 38% เมื่อเทียบกับปูนงานโครงสร้างทั่วไป แต่ยังคงคุณสมบัติด้านความแข็งแรงทนทาน และสามารถประยุกต์ใช้ในงานตกแต่งได้อย่างลงตัว
โดยนวัตกรรมนี้สอดคล้องกับเป้าหมายของ SCG ที่จะลดคาร์บอนให้ได้ถึง 50% ในปี 2025 เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในระดับภูมิภาคอาเซียน
- SCG 3D Printing : เทคโนโลยีการพิมพ์ขึ้นรูปสามมิติด้วยปูนคาร์บอนต่ำ
ที่ปฏิวัติวงการก่อสร้าง ด้วยความสามารถในการสร้างโครงสร้างที่มีความซับซ้อนสูง ตอบโจทย์งานสถาปัตยกรรมล้ำสมัย เสริมศักยภาพการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทยในเวทีโลก
- TORA S-ONE : นวัตกรรมเครื่องพ่นฉาบปูนระบบดีเซลที่ตราเสือพัฒนาร่วมกับคูโบต้า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างก้าวกระโดด เพิ่มความเร็วในการฉาบผนังปูนซีเมนต์ได้ถึง 40% และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้วัสดุให้คุ้มค่าสูงสุด ช่วยยกระดับมาตรฐานงานก่อสร้างไทยสู่ความเป็นเลิศ แก้ปัญหาการขาดแคลนทักษะฝีมือแรงงาน
- SCG International : ผู้นำด้านโซลูชัน Supply Chain แบบครบวงจร ช่วยพันธมิตรลดคาร์บอนและยกระดับศักยภาพการแข่งขัน ด้วยบริการครบวงจร (End-to-End Solutions) ที่ครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การขนส่ง ไปจนถึงการส่งมอบสินค้าถึงมือลูกค้า โดยคำนึงถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่อุปทาน
- Saraburi Sandbox : ต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำที่แสดงให้เห็นถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมกรีน
ของ SCG และจับมือพันธมิตร มาประยุกต์ใช้ในบริบทจริง เป็นแหล่งเรียนรู้และแรงบันดาลใจสำหรับภาคอุตสาหกรรม สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
นอกจากการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์แล้ว SCG ยังมุ่งมั่นลงทุนในกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
โดยได้เพิ่มสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงชีวมวล เช่น แกลบและฟางข้าว แทนเชื้อเพลิงฟอสซิลในสัดส่วนกว่า 45% พร้อมทั้งเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดอย่างพลังงานแสงอาทิตย์สูงถึง 40% และนำลมร้อนเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมาย Net Zero ในปี 2050
มาถึงตรงนี้คงเห็นแล้วว่า แนวทางในการมุ่งสู่อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำของ SCG นั้น ไม่ใช่แค่การปรับตัวเพื่ออยู่รอด แต่ให้ความสำคัญกับการวางรากฐาน พัฒนานวัตกรรม และสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้เป็นที่ยอมรับ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันระยะยาว
ดังนั้น ท่ามกลางสถานการณ์โลก ที่เต็มไปด้วยความท้าทายนี้ SCG เชื่อว่า นี่เป็นทั้งโอกาสและความท้าทาย
ในด้านความท้าทาย SCG ได้วางกลยุทธ์เพื่อรับมือไว้แล้ว
ส่วนในด้านโอกาส นี่คือจุดเปลี่ยนที่จะยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย ไปไกลกว่าระดับภูมิภาค แต่ทะยานไปสู่สากล ควบคู่ไปกับการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวหน้าเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และการก่อสร้างที่ยั่งยืน
อ้างอิง :
- https://www.2bgreen4ever.com
Tag:SCG
© 2025 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.