
สรุป 8 อินไซต์ เทรนด์ใหม่วัยรุ่น Gen Z ใช้ AI ช่วยฝึกทักษะเข้าสังคม-เป็นเพื่อนแก้เหงา
25 ก.ค. 2025
ปฏิเสธไม่ได้ว่า AI ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของใครหลาย ๆ คน เช่น ช่วยทำงาน หาข้อมูล
ล่าสุด Common Sense Media แพลตฟอร์มให้คำแนะนำด้านเทคโนโลยีสำหรับเด็กและครอบครัว ได้มีการสำรวจวัยรุ่นสัญชาติอเมริกัน อายุระหว่าง 13-17 ปี จำนวน 1,060 คน ออกมาเป็นรายงาน “ชื่อว่า Talk, Trust, and Trade-offs : How and Why Teens Use AI Companions”
ซึ่งรายงานนี้มีอินไซต์น่าสนใจหลาย ๆ อย่าง เกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กวัยรุ่นที่เริ่มใช้ “AI Companion” หรือ AI ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเพื่อนกันมากขึ้น และมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับ AI อยู่บ่อย ๆ
ตัวอย่างของ AI Companion ที่เป็นที่นิยม เช่น CHAI AI, character ai, Nomi ai และ Replika
ที่น่าสนใจคือ ถึงเทรนด์นี้จะเพิ่งเริ่มต้น แต่ก็มีแนวโน้มเติบโต และกระจายเป็นวงกว้างไปทั่วโลกอีกด้วย
แล้วเทรนด์การใช้ AI เป็นเพื่อนแก้เหงาของวัยรุ่น มีอะไรน่าสนใจบ้าง ?
1. วัยรุ่นมากกว่า 2 ใน 3 เคยใช้ AI Companion
- 72% ของวัยรุ่นบอกว่า เคยใช้ AI Companion แล้ว
- 52% บอกว่า ใช้เป็นปกติ (มากกว่า 4-5 ครั้งต่อเดือน)
- มีวัยรุ่นถึง 13% ที่ใช้ AI Companion ทุกวัน ในจำนวนนี้มี 8% ที่ใช้วันละหลายครั้ง
- 52% บอกว่า ใช้เป็นปกติ (มากกว่า 4-5 ครั้งต่อเดือน)
- มีวัยรุ่นถึง 13% ที่ใช้ AI Companion ทุกวัน ในจำนวนนี้มี 8% ที่ใช้วันละหลายครั้ง
2. 33% ของวัยรุ่นใช้ AI Companion เพื่อมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
ซึ่งถ้าเจาะลงไปว่า แล้วปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ว่า คืออะไร ?
- 18% ใช้เพื่อพูดคุย หรือฝึกการเข้าสังคม
- 12% ใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาสุขภาพจิต หรืออารมณ์
- 12% ใช้แสดงบทบาทสมมติ หรือสถานการณ์ในจินตนาการ
- 9% ใช้เป็นเพื่อน หรือเพื่อนสนิท
- 8% ใช้เชิงมีปฏิสัมพันธ์แบบโรแมนติก หรือเชิงชู้สาว
- 12% ใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาสุขภาพจิต หรืออารมณ์
- 12% ใช้แสดงบทบาทสมมติ หรือสถานการณ์ในจินตนาการ
- 9% ใช้เป็นเพื่อน หรือเพื่อนสนิท
- 8% ใช้เชิงมีปฏิสัมพันธ์แบบโรแมนติก หรือเชิงชู้สาว
อย่างไรก็ตาม อีก 46% ของวัยรุ่นใช้ AI ในฐานะเป็นเพียงแค่เครื่องมือหรือโปรแกรม ที่เข้ามาช่วยทำงาน สร้างความสะดวกสบาย ไม่ได้ใช้เพื่อมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
3. วัยรุ่นกว่า 30% ใช้ AI Companion เพราะต้องการหาความบันเทิง
นอกจากนี้ วัยรุ่นที่ใช้ก็ใช้เพราะเหตุผลด้านการมีปฏิสัมพันธ์และการเข้าสังคม ได้แก่
- 18% ใช้เพราะอยากได้คำแนะนำ
- 17% ใช้เพราะอยากหาใครสักคนคุยด้วย
- 14% ใช้เพราะ AI ไม่ตัดสินว่าเราเป็นคนอย่างไร
- 12% ใช้เพราะ AI สามารถคุยในเรื่องที่คุยกับครอบครัวหรือเพื่อน ๆ ไม่ได้
- 9% ใช้เพราะ AI คุยด้วยง่ายกว่าคนจริง ๆ
- 7% ใช้เพราะช่วยฝึกทักษะการเข้าสังคม
- 6% ใช้เพราะทำให้รู้สึกเหงาน้อยลง
- 17% ใช้เพราะอยากหาใครสักคนคุยด้วย
- 14% ใช้เพราะ AI ไม่ตัดสินว่าเราเป็นคนอย่างไร
- 12% ใช้เพราะ AI สามารถคุยในเรื่องที่คุยกับครอบครัวหรือเพื่อน ๆ ไม่ได้
- 9% ใช้เพราะ AI คุยด้วยง่ายกว่าคนจริง ๆ
- 7% ใช้เพราะช่วยฝึกทักษะการเข้าสังคม
- 6% ใช้เพราะทำให้รู้สึกเหงาน้อยลง
4. ถึงแม้วัยรุ่นจะใช้ AI เยอะ แต่ก็ไม่ได้เชื่อไปหมดทุกอย่าง
50% ของวัยรุ่นบอกว่า ไม่เชื่อข้อมูลหรือคำแนะนำที่ได้รับจาก AI Companion
ขณะที่อีก 27% บอกว่า เชื่อเป็นบางครั้ง
ส่วนที่เหลืออีก 23% บอกว่า “ค่อนข้างเชื่อ” หรือไม่ก็ “เชื่อ” ข้อมูลจาก AI
โดยวัยรุ่นตอนต้น (อายุ 13-14 ปี) มีอัตราการเชื่อถือ AI มากกว่า วัยรุ่นตอนปลาย (อายุ 15-17 ปี) ที่ 27% และ 20% ตามลำดับ
สะท้อนถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กวัยรุ่นที่ถึงแม้ต้องการที่ปรึกษา แต่ก็ยังใช้วิจารณญาณในการวิเคราะห์ และแยกแยะข้อมูลที่ได้รับมาอยู่
5. วัยรุ่นเกือบ 1 ใน 3 บอกว่า การคุยกับ AI ก็น่าพอใจพอ ๆ กับหรือมากกว่าการพูดคุยกับผู้คน
โดย 21% ของวัยรุ่นบอกว่า จะคุยกับ AI หรือกับคนก็ไม่ต่างกันมาก
ขณะที่อีก 10% บอกว่า การคุยกับ AI น่าพึงพอใจมากกว่าการคุยกับคนจริง ๆ เสียอีก
อย่างไรก็ตาม วัยรุ่นส่วนใหญ่กว่า 67% ก็ยังบอกว่า การได้พูดคุยกับผู้คนจริง ๆ ยังคงดีกว่าการโต้ตอบกับ AI
6. วัยรุ่นที่ใช้ AI Companion กว่า 39% นำทักษะการเข้าสังคมที่ฝึกกับ AI มาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
- 18% เอามาใช้เริ่มการสนทนา
- 14% เอามาให้คำแนะนำคนอื่น
- 13% เอามาใช้เชิงการแสดงออกทางอารมณ์
- 11% เอามาใช้แก้ปัญหาความขัดแย้งหรือขอโทษผู้อื่น
- 11% เอามาใช้ปกป้องสิทธิของตัวเอง
- 8% เอามาใช้เชิงปฏิสัมพันธ์แบบโรแมนติก
- 14% เอามาให้คำแนะนำคนอื่น
- 13% เอามาใช้เชิงการแสดงออกทางอารมณ์
- 11% เอามาใช้แก้ปัญหาความขัดแย้งหรือขอโทษผู้อื่น
- 11% เอามาใช้ปกป้องสิทธิของตัวเอง
- 8% เอามาใช้เชิงปฏิสัมพันธ์แบบโรแมนติก
7. วัยรุ่นส่วนใหญ่ยังใช้เวลากับเพื่อนจริง ๆ ด้วยกันมากกว่าใช้เวลากับ AI
- 80% ใช้เวลากับเพื่อนมนุษย์จริง ๆ มากกว่าใช้เวลากับเพื่อน AI
- 13% ใช้เวลากับเพื่อนมนุษย์จริง ๆ พอ ๆ กับเวลาที่ใช้กับเพื่อน AI
- 6% ใช้เวลากับเพื่อนมนุษย์จริง ๆ น้อยกว่าใช้เวลากับเพื่อน AI
- 13% ใช้เวลากับเพื่อนมนุษย์จริง ๆ พอ ๆ กับเวลาที่ใช้กับเพื่อน AI
- 6% ใช้เวลากับเพื่อนมนุษย์จริง ๆ น้อยกว่าใช้เวลากับเพื่อน AI
8. อินไซต์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ
- 1 ใน 3 ของวัยรุ่นบอกว่า เคยมีประสบการณ์ไม่สบายใจกับคำตอบของ AI
- 1 ใน 3 ของวัยรุ่นบอกว่า เลือกคุยกับ AI มากกว่าคนจริง ๆ เมื่อจะคุยเรื่องสำคัญหรือซีเรียส
- 1 ใน 4 ของวัยรุ่นบอกว่า เคยแชร์ข้อมูลส่วนตัวกับ AI เช่น ชื่อจริง, ที่อยู่ หรือความลับส่วนตัว
อ้างอิง :
- เอกสารรายงาน Talk, Trust, and Trade-offs : How and Why Teens Use AI Companions ของ Common Sense Media
- เอกสารรายงาน Talk, Trust, and Trade-offs : How and Why Teens Use AI Companions ของ Common Sense Media