
กรณีศึกษา น้ำพริกแคบหมูยายน้อย ที่ใช้การตลาดแบบ “บุลลี” ตัวเอง
3 ส.ค. 2021
ใครที่ยังไม่รู้จักแบรนด์ “น้ำพริกแคบหมูยายน้อย” อยากให้ลองกดเปิดเข้าไปที่หน้าเพจ Facebook ชื่อนี้ก่อน เพราะจะได้เห็นคอนเทนต์ขายน้ำพริก ที่เรียก Engagement ได้เยอะสุด ๆ
ซึ่งหลายคนที่ได้ลองเข้าไปไล่อ่านแต่ละโพสต์ในเพจนี้
บางคนก็ต้องมีกดแชร์ต่อให้เพื่อน เพราะความตลก ปนความสร้างสรรค์ของแอดมินเพจนี้
ซึ่งหลายคนที่ได้ลองเข้าไปไล่อ่านแต่ละโพสต์ในเพจนี้
บางคนก็ต้องมีกดแชร์ต่อให้เพื่อน เพราะความตลก ปนความสร้างสรรค์ของแอดมินเพจนี้
โดยทั่วไป เวลาที่เจ้าของแบรนด์ต้องการขายสินค้า ก็มักจะร่ายสรรพคุณต่าง ๆ นานา ว่าดีอย่างไร
หากขายน้ำพริกแคบหมู ก็จะมีสโลแกนไปในทำนองเดียวกันว่า “น้ำพริกแคบหมู เคี้ยวกรุบกรอบ อร่อยหยุดไม่อยู่” หรือ “น้ำพริกแคบหมูของแท้ ต้นตำรับจากภาคเหนือ”
หากขายน้ำพริกแคบหมู ก็จะมีสโลแกนไปในทำนองเดียวกันว่า “น้ำพริกแคบหมู เคี้ยวกรุบกรอบ อร่อยหยุดไม่อยู่” หรือ “น้ำพริกแคบหมูของแท้ ต้นตำรับจากภาคเหนือ”
แต่สำหรับแบรนด์น้ำพริกแคบหมูยายน้อยนั้น มักจะเขียนโปรโมตแบรนด์ตัวเองในรูปแบบที่ฉีกออกไป
โดยจะเน้นไปที่การบุลลี (Bully) สินค้าตัวเองเป็นหลัก
โดยจะเน้นไปที่การบุลลี (Bully) สินค้าตัวเองเป็นหลัก
ตัวอย่างเช่น
- น้ำพริกยายน้อย กินหนึ่งชิ้น สิ้นอายุขัย
- สะอาดปลอดภัย ไปที่อื่น
- น้ำพริกยายน้อย ยืนหนึ่งเรื่องความกรอบ เคี้ยวจนหอบ ก็ยังไม่แตก
- สะอาดปลอดภัย ไปที่อื่น
- น้ำพริกยายน้อย ยืนหนึ่งเรื่องความกรอบ เคี้ยวจนหอบ ก็ยังไม่แตก
รู้หรือไม่ว่า การตลาดรูปแบบนี้ มีชื่อที่เรียกว่า “Bully Marketing”
หรือก็คือ การใช้คำพูดล้อเลียน หรือสร้างประเด็นที่เป็นเชิงเสียดสี
ซึ่ง Bully Marketing ก็จะมีหลากหลายรูปแบบ เช่น Bully คนอื่น, Bully ตัวเอง, Bully สินค้า
หรือก็คือ การใช้คำพูดล้อเลียน หรือสร้างประเด็นที่เป็นเชิงเสียดสี
ซึ่ง Bully Marketing ก็จะมีหลากหลายรูปแบบ เช่น Bully คนอื่น, Bully ตัวเอง, Bully สินค้า
โดยเจ้าของแบรนด์น้ำพริกแคบหมูยายน้อย ก็คือ คุณเบียร์-ศรัญญู เพียรทำดี
ซึ่งเป็นเจ้าของเดียวกับเพจ Buffalo Gags ได้เลือกใช้การ Bully ที่ตัวสินค้าเป็นหลัก
ซึ่งเป็นเจ้าของเดียวกับเพจ Buffalo Gags ได้เลือกใช้การ Bully ที่ตัวสินค้าเป็นหลัก
จุดเริ่มต้นการทำการตลาดรูปแบบ Bully Marketing นี้ มาจากที่คุณเบียร์ นำแคบหมูยายน้อยมาขายใน Facebook ส่วนตัว และเมื่อโพสต์ลงไป ก็มีแต่คนเข้ามาคอมเมนต์ใต้โพสต์ด้วยมุกตลก
คุณเบียร์จึงได้แค็ปภาพมุกต่าง ๆ ลงเพจ Buffalo Gags จนเกิดแฟนคลับน้ำพริกแคบหมูยายน้อย มากมาย
และต่อมาคุณเบียร์ ก็ได้ตัดสินใจเปิดเพจน้ำพริกแคบหมูยายน้อย ซึ่งก็กลายเป็นไวรัลจนถึงทุกวันนี้
และต่อมาคุณเบียร์ ก็ได้ตัดสินใจเปิดเพจน้ำพริกแคบหมูยายน้อย ซึ่งก็กลายเป็นไวรัลจนถึงทุกวันนี้
แล้วการทำ Bully Marketing ของแบรนด์แคบหมูยายน้อย มีประเด็นอะไรที่น่าสนใจบ้าง ?
- ได้ Brand Awareness (การสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์)
เมื่อกลุ่มคนที่ชื่นชอบมุกตลกเป็นทุนเดิม เห็นการเล่นมุกของเพจนี้ พวกเขาก็จะกดแชร์หรือส่งต่อได้ไม่ยาก
ทำให้คนอื่น ๆ เห็นชื่อแบรนด์นี้ตามหน้าฟีดและจดจำแบรนด์ได้ง่ายขึ้น โดยที่เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องเสียเงินในการยิงโฆษณา
ทำให้คนอื่น ๆ เห็นชื่อแบรนด์นี้ตามหน้าฟีดและจดจำแบรนด์ได้ง่ายขึ้น โดยที่เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องเสียเงินในการยิงโฆษณา
- ได้ Community เพิ่มโอกาสในการสร้างฐานลูกค้า
เมื่อเราเข้าไปในเพจ เราจะเห็นว่า ใต้โพสต์ต่าง ๆ จะมีลูกเพจเข้ามาเล่นมุกมากมายที่เกี่ยวข้องกับน้ำพริกแคบหมูยายน้อย ซึ่งเป็นการช่วยให้เพจมี Engagement ที่ดีอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีคนตอบโต้กันอยู่ตลอดเวลา ก็จะส่งผลให้ Community มีความแข็งแกร่งมากขึ้น
ซึ่งเมื่อ Community มีความแข็งแกร่ง เวลาที่แบรนด์มีสินค้าหรือโปรโมชันอะไร ที่น่าสนใจเข้ามา ก็จะเกิดการพูดถึง บอกต่อกัน และช่วยกันอุดหนุนอย่างรวดเร็ว
- ได้ลูกค้าที่อยากทดลองซื้อสินค้า โดยที่แบรนด์ไม่ต้องอธิบายสรรพคุณ
เมื่อกลุ่มผู้บริโภคเห็นการ Bully สินค้าบ่อย ๆ ความอยากลองอยากพิสูจน์ว่าสินค้านี้เป็นอย่างไร ก็เกิดขึ้น
หากลูกค้ากินแล้วรู้สึกอร่อย เขาก็จะกลับมาซื้อซ้ำอีก
หรือมีการบอกต่อสรรพคุณ โดยที่แบรนด์ไม่ต้องอธิบายรายละเอียดอะไรมากมาย
หรือมีการบอกต่อสรรพคุณ โดยที่แบรนด์ไม่ต้องอธิบายรายละเอียดอะไรมากมาย
แต่ในทางกลับกัน ถ้ารสชาติ หรือคุณภาพสินค้าไม่ดี แบรนด์ก็จะไม่ได้ไปต่อ ลูกค้าที่เข้ามาก็จะมีแต่กลุ่มคนที่อยากลอง แต่ไม่ได้รักในแบรนด์อย่างแท้จริง
สำหรับน้ำพริกแคบหมูยายน้อย ก็มีคนมารีวิวอย่างจริงจังว่า ไม่ผิดหวังในรสชาติ และให้ดาวกันใน Shopee มากมาย ซึ่งก็ถือว่าแบรนด์นี้ ไม่ได้มีดีแค่การตลาด แต่สินค้า ก็มีแฟนคลับตัวจริงด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเราคิดจะทำ Bully Marketing บ้าง เราก็ต้องนึกถึงข้อเสียที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย
เพราะไม่ใช่ว่า ใครจะทำตามแล้ว จะประสบความสำเร็จได้ง่าย ๆ เพราะ
เพราะไม่ใช่ว่า ใครจะทำตามแล้ว จะประสบความสำเร็จได้ง่าย ๆ เพราะ
- ไม่ใช่ลูกค้าทุกคน ที่จะชอบการเล่นมุกตลก หรือสินค้าบางอย่าง อาจไม่เหมาะสมกับการใช้ Bully Marketing
หากสินค้าของเราตรงกับพฤติกรรมและความชอบของกลุ่มลูกค้า สินค้าเราก็จะขายได้ไม่ยาก
แต่สำหรับสินค้าและบริการบางอย่าง ลูกค้าอาจต้องการข้อมูลสำคัญหรือรูปแบบการนำเสนอที่เป็นทางการ
หากเราเล่นมุกตลกกับสินค้า ก็จะขายลูกค้ากลุ่มเหล่านี้ไม่ได้
แต่สำหรับสินค้าและบริการบางอย่าง ลูกค้าอาจต้องการข้อมูลสำคัญหรือรูปแบบการนำเสนอที่เป็นทางการ
หากเราเล่นมุกตลกกับสินค้า ก็จะขายลูกค้ากลุ่มเหล่านี้ไม่ได้
ดังนั้นเราต้องดูให้ดีก่อนว่า กลุ่มลูกค้าที่จะซื้อสินค้าของเราจริง ๆ มีพฤติกรรมแบบไหน
- ไม่ใช่ทุกเพจที่จะคุมลูกเพจ ไม่ให้ตลกเกินขอบเขตได้
ถ้าแบรนด์อื่น ๆ จะทำตาม ต้องคอยระวังและบริหารคอมเมนต์ให้ดี เพราะถ้าการ Bully ไปกระทบคนอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
หรือการแสดงความเห็นของคนที่เข้ามาคอมเมนต์นั้น หยาบคายจนเกินขอบเขตที่เพจคาดไว้
แน่นอนว่าภาพลักษณ์ของแบรนด์ ก็จะเสียหายได้เช่นกัน
หรือการแสดงความเห็นของคนที่เข้ามาคอมเมนต์นั้น หยาบคายจนเกินขอบเขตที่เพจคาดไว้
แน่นอนว่าภาพลักษณ์ของแบรนด์ ก็จะเสียหายได้เช่นกัน
ดังนั้น ในการสร้างแบรนด์ เราจะต้องคิดให้ครอบคลุมรอบด้าน ไม่ใช่มองแต่ข้อดีเพียงด้านเดียว
แต่ต้องมองให้เห็นข้อเสียที่อาจเกิดขึ้น และวางแผนรับมือกับ Worst Case Scenario ให้ดี
แต่ต้องมองให้เห็นข้อเสียที่อาจเกิดขึ้น และวางแผนรับมือกับ Worst Case Scenario ให้ดี
เพราะ Bully Marketing อาจจะช่วยเปิดโอกาสให้ลูกค้าบางกลุ่ม เดินทางเข้ามาหาแบรนด์ได้
แต่ถ้าการตลาดกับคุณภาพมันสวนทางกัน
ความตลก ก็อาจจะไม่สามารถยื้อแบรนด์ให้อยู่ในใจของลูกค้า ไว้ได้ตลอด..
แต่ถ้าการตลาดกับคุณภาพมันสวนทางกัน
ความตลก ก็อาจจะไม่สามารถยื้อแบรนด์ให้อยู่ในใจของลูกค้า ไว้ได้ตลอด..
อ้างอิง :
-https://www.forbes.com/2006/09/19/leadership-marketing-advertising-lead-innovation-cx_tvr_0920bully.html?sh=259e3a9754c7
-https://www.facebook.com/founderjourney/
-https://www.facebook.com/waterchillinarrowpig
-https://www.forbes.com/2006/09/19/leadership-marketing-advertising-lead-innovation-cx_tvr_0920bully.html?sh=259e3a9754c7
-https://www.facebook.com/founderjourney/
-https://www.facebook.com/waterchillinarrowpig