Google ร่วมสนับสนุนการเติบโตของผู้ประกอบการธุรกิจกลุ่ม LGBTQ+ ด้วยเครื่องมือออนไลน์ 

Google ร่วมสนับสนุนการเติบโตของผู้ประกอบการธุรกิจกลุ่ม LGBTQ+ ด้วยเครื่องมือออนไลน์ 

27 มิ.ย. 2022
เดือนมิถุนายน เป็นช่วงเวลาที่ผู้คนและหลายๆ องค์กรทั่วโลก ต่างร่วมเฉลิมฉลอง “Pride Month” หรือเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้คนที่มีความหลากหลายทางเพศ  ซึ่งนอกจากนั้นแล้วในวันที่ 27 มิถุนายน ยังเป็นวัน SME สากล
ดังนั้น Google ประเทศไทย จึงถือโอกาสนี้ร่วมเฉลิมฉลอง Pride Month พร้อมทั้งยังได้ร่วมทำแคมเปญพิเศษเพื่อสนับสนุนการเติบโตผู้ประกอบธุรกิจกลุ่ม LGBTQ+ จำนวน 30 ราย บนออฟฟิเชียลแอคเคานท์เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ของ Google ประเทศไทย ตลอดเดือนมิถุนายนนี้
และวันนี้  Google ขอแบ่งปันกรณีศึกษาของ “Hook Best Look” หนึ่งในผู้ประกอบธุรกิจกลุ่ม LGBTQ+ ที่ได้ทำธุรกิจผลิตและจำหน่ายเสื้อกล้ามสำหรับทอม ซึ่งดำเนินเป็นธุรกิจเป็นแบบออนไลน์ 100% และไม่เคยมีหน้าร้าน แต่สามารถพาธุรกิจแตะหลักแสนได้ด้วย Google Ads จนประสบความสำเร็จทำให้ “Hook Best Look” ได้เป็นตัวแทนจากประเทศไทยเข้าร่วมในแคมเปญ Finding Pride ของ Google เอเชียแปซิฟิก 
คุณกชกร ภูระยา เป็นผู้ประกอบการกลุ่ม LGBTQ+ ที่ได้เริ่มต้นธุรกิจจาก pain point ของตนเอง คือการที่ไม่สามารถหาเสื้อกล้ามที่ใส่สบายได้ จึงได้ค้นหาข้อมูลและหาช่างเพื่อตัดใส่เอง โดยชื่อ  “Hook Best Look” มาจาก Hook ที่เป็นชื่อเล่นของตนเอง  โดยความเชื่อที่ว่า Hook ที่แปลว่าตะขอในภาษาไทยจะช่วยเกี่ยวทรัพย์และสิ่งดีๆ มาให้กับชีวิต Best คือ สิ่งที่ดีที่สุดที่เจ้าของตั้งใจจะมอบให้ลูกค้าของตนได้รับ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพ และความสบายในขณะที่สวมใส่ และ Look คือ เจ้าของอยากให้ลูกค้าทุกคนมี Look ที่ดี ได้ใส่สินค้าที่ช่วยทำให้ผู้สวมใส่ดูดีขึ้น
คุณกชกรใช้ชีวิตร่วมกับแฟนสาวในกรุงเทพฯ  และทำงานประจำมาโดยตลอด  โดยธุรกิจ “Hook Best Look” เป็นธุรกิจที่ทำควบคู่ไปกับการทำงานประจำ.ซึ่งงานประจำนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับสินค้าของ Hook Best Look แต่อย่างใด ความรู้เรื่องการทำธุรกิจออนไลน์ต่างๆ  ที่มาจากความสนใจและเรียนรู้ด้วยตนเองและเพื่อนๆ ที่มีความรู้ 
ก่อนหน้านี้ คุณกชกร รู้สึกว่าตัวเองมีปัญหากับการหาเสื้อกล้ามมาสวมใส่ เพราะแถบรัดแบบที่ทอมบอยนิยมใส่กันนั้นมันรัดหน้าอกเกินไป  ซึ่งก็ไม่น่าจะเป็นผลดีกับสุขภาพในระยะยาว ส่วน first bra ก็เป็นบราที่มีขนาดเล็ก เพราะออกแบบมาสำหรับเด็ก เมื่อใส่แล้วก็จะรัดช่วงแขนหรือไหล่ ส่วน sport bra ก็มีฟองน้ำ ที่กลายเป็นว่าไปเสริมให้หน้าอกดูใหญ่ขึ้น ซึ่งก็ไม่ต้องการให้เป็นอย่างนั้น
แฟนสาวของคุณกชกรจึงให้ไอเดียว่าทำไมไม่ลองไปตัดเสื้อกล้ามใส่เองเลย จากนั้นจึงเป็นที่มาของการเริ่มธุรกิจ โดยคุณกชกรได้ตามหาช่างตัดเสื้อ สเก็ตช์แบบเอง แล้วพัฒนาเป็นแพทเทิร์นสำหรับตัดเสื้อกล้ามต้นแบบ จนได้เสื้อกล้ามที่ใส่สบาย ที่ไม่รัดอกจนเกินไป มีความเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร  จนเริ่มมีกลุ่มลูกค้า LGBTQ+ ที่มีปัญหาแบบเดียวกันบอกความประท้บใจแบบปากต่อปาก  จึงเริ่มผลิตขายโดยไม่เคยมีหน้าร้านเลย  มีเพียงเจ้าของ แฟนสาว และช่างตัดเสื้อ (ที่รับจ้างตัด) กับการสื่อสารกับลูกค้าผ่านออนไลน์เท่านั้น
“Hook Best Look” เริ่มขายครั้งแรกช่วงปี 2014 และเริ่มทำอย่างจริงจังขึ้นประมาณปี 2017 โดยยังคงใช้ช่างตัดเสื้อคนเดิมมาจนถึงปัจจุบัน แต่ได้มีการปรับปรุงสินค้าให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยตอนที่เริ่มขายเสื้อกล้ามทอมรุ่นแรกนั้นคุณกชกรยังไม่มีความรู้เรื่องออนไลน์ใดๆ ก็เริ่มจาก Facebook page และ Line แต่ยอดขายอยู่ที่ประมาณ 10,000 - 30,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น
ต่อมาเริ่มทำเว็บไซต์บน LNW shop เป็นแพลตฟอร์ม e-commerce สำเร็จรูป ไปพร้อมๆ กับการทำแฟนเพจและแพลตฟอร์มออนไลน์ช่องทางอื่นๆ ทำให้เริ่มมีลูกค้าเพิ่มขึ้น ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนวัยทำงาน และคนที่ห่วงใยด้านสุขภาพ ซึ่งทั้งหมดเป็น LGBTQ+ ที่มีปัญหาเรื่องหาเสื้อกล้ามยาก ใส่แล้วไม่สบาย ไม่ชอบแบบรัดๆ หรือเห็นสายเสื้อชั้นใน หรือทรงเสื้อกล้ามบังทรง
จนกระทั่งช่วงปี 2017 - 2018 จึงได้เริ่มมีการทำการตลาดจริงจังขึ้น ด้วยการใช้โฆษณา Google Ads ซึ่งนับว่าเป็นช่วงที่มียอดขายเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด เพราะมีคน search ปัญหาและความต้องการแบบเราเยอะ ถึงจะเป็นตลาดที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงมากๆ แต่ก็ทำให้เห็นว่ามีคนที่มีความต้องการค้นหาสิ่งที่เหมือนกับที่เราต้องการ นำเสนอ ผลของการใช้ Google Ads ก็คือยอดขายที่เพิ่มขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด ในช่วงที่พีคๆ เคยมียอดขายถึง 300,000 บาทต่อเดือน ซึ่งถือว่าเป็นยอดขายที่สูงมาก และเป็นยอดขายที่เกิดขึ้นจากการทำงานในช่วงที่ว่างหลังงานประจำเท่านั้น
นอกจากนั้นในช่วง COVID-19 ระบาด ลูกค้ามีกำลังซื้อน้อยลง และคุณกชกรเองก็มีรายได้จากงานประจำลดลง แต่ด้วยความที่ Google Ads มีความ flexible ในการใช้งบโฆษณาจึงทำให้สามารถปรับลดการใช้งบประมาณโฆษณาลงได้เป็นอย่างดี
และด้วยความที่คุณกชกรใช้ Google Business Profile ทำให้ลูกค้าบางคนสามารถ Search เจอสินค้าจากการที่เห็นสินค้าจาก social media อื่นๆ แล้วเอาชื่อมา Search หา ทำให้ลูกค้าได้เห็นรายละเอียดต่างๆ ของ Hook Best Look  ซึ่งช่วยให้ปิดการขายง่ายขึ้น ทำให้เดี๋ยวนี้ลูกค้าที่ติดต่อมาไม่ได้ซักถามมากเหมือนช่วงขายแรกๆ เพราะลูกค้าได้อ่านข้อมูลบนโปรไฟล์มาก่อนแล้ว
คุณกชกรเล่าว่าในช่วงที่มีสถานการณ์โควิด-19 บริษัทที่ทำงานประจำอยู่ก็ได้รับผลกระทบทำให้ถูกลดเงินเดือน แต่เธอยังโชคดีที่มีธุรกิจนี้เป็นแหล่งรายได้อีกทาง และหากไม่ได้ทำธุรกิจ Hook Look Best ควบคู่ไปด้วยคงลำบากมากๆ   
นอกจากนี้ ความสำเร็จส่วนหนึ่งคุณกชกรคิดว่ามาจากความเหนียวแน่นของชุมชน LGBTQ+  เพราะเป็นสินค้าที่มีความเฉพาะกลุ่มสูง ถ้าไม่มีการช่วยบอกต่อหรือแนะนำต่อๆ กัน  ก็คงต้องใช้งบในการ โฆษณามากกว่านี้ ตอนนี้เป็นอันรู้กันว่า ถ้าจะหาเสื้อกล้ามทอมแบบนี้ ใส่สบาย ไม่รัดไป ไม่เห็นสายเสื้อใน ต้องมาที่ร้านของ “Hook Best Look”
จากรายละเอียดดังกล่าว มี 3 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากธุรกิจ “Hook Best Look” คือ
1. เน้นการสร้าางฐานลูกค้าให้ใหญ่ขึ้นเป็นสิ่งสำคัญ  เพราะลูกค้าเมื่อซื้อก้บเราครั้งหนึ่งแล้วก็จะซื้อประจำเหมือนคนในครอบครัว การที่มีเครื่องมืออย่าง Google Business Profile และ Google Ads ทำให้การสร้างฐานลูกค้านี้เป็นเรื่องง่ายขึ้นมาก และเห็นผลจริง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับช่วงแรกๆ ที่ยังไม่ได้ใช้
2. การทำธุรกิจออนไลน์ เปลี่ยนจากเรื่องไกลตัวมาเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก ถ้าต้องการเริ่มธุรกิจ เริ่มเลยไม่ต้องรอเพราะเดี๋ยวนี้เครื่องเครื่องมือออนไลน์ต่างๆ มีพร้อมมาก ขอให้มีไอเดียและความตั้งใจจริง 
3. บางทีกลุ่มลูกค้าที่หลายคนอาจจะมองว่าเฉพาะเจาะจงมากกลับเป็นกลุ่มที่เป็นลูกค้าที่เหนียวแน่น และมีพลังในการช่วยผลักดันธุรกิจของเราได้มาก การที่ product ของเรามีความชัดเจน และเราสื่อสารออกไปอย่างชัดเจนและตรงกลุ่ม  เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน
คุณกชกร ภูระยา กล่าวว่า “ดีใจที่เราได้ทำอาชีพที่รัก และเป็นตัวเราจริงๆ นอกจากนั้น ในขณะเดียวกันยังเป็นการช่วยแก้ปัญหาให้กับคนที่เหมือนกับเรา  ครอบครัวของเราก็ภูมิใจและดีใจ ที่เห็นว่าเราสามารถสร้างธุรกิจขึ้นมาจากสิ่งที่เราค้นพบจริงๆ และรักที่จะพัฒนามันให้ดีขึ้นเรื่อยๆ  ทุกวันนี้เราก็ยังพัฒนาสินค้ารุ่นใหม่ โดยใช้ข้อมูลมาจากคำแนะนำ คำติ-ชมของลูกค้า ให้ตอบโจทย์มากขึ้น  นี่ก็เป็นสิ่งที่ได้จากลูกค้า ซึ่งก็คือ LGBTQ+ community และตอนนี้นอกจากจะพัฒนาสินค้าให้ครอบคลุมมากขึ้น และมีไลน์สินค้าใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แล้ว เรากำลังทำการตลาดเพื่อไปขยายไปยังต่างประเทศ โดยใช้ออนไลน์เป็นช่องทางหลักเพื่อเจาะตลาดลูกค้าต่างประเทศ”
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.