สรุปดราม่า เมนูปั่นนมตราหมีมอลต์ ที่ 7-Eleven

สรุปดราม่า เมนูปั่นนมตราหมีมอลต์ ที่ 7-Eleven

3 ก.พ. 2020
ไม่กี่วันก่อน ได้เกิดกระแสยอดฮิตบนโลกโซเชียล
มีผู้ใช้งานบน Twitter ได้ทวีตภาพ เครื่องดื่มปั่นรสใหม่ ที่อยู่นอกเหนือเมนูของ All Cafe'
โดยเขาหยิบไอศกรีมวอลล์กลิ่นวานิลลา 2 ถ้วย กับนมตราหมียูเอชทีผสมมอลต์สกัด และขอให้พนักงาน 7-Eleven ปั่นให้
จึงเกิดเป็นเมนูเครื่องดื่มใหม่นอกรายการ All Cafe'
ซึ่งเคลมว่าเครื่องดื่มนี้รสชาติคล้ายๆ Cold Brew Malt ของร้านกาแฟชื่อดัง
เมื่อคนในโซเชียลเห็น จึงเกิดความอยากลองบ้าง จนเป็นกระแสบน Twitter
หลังจากนั้นก็เกิดเมนูแปลกใหม่ตามมาอีกมากมาย
และเกิดแฮชแท็ก #เมนูลับหมีมอลต์
ตัวอย่างเมนูเครื่องดี่มแปลกๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้นมาโดยผู้บริโภค
ไอศกรีมวอลล์กลิ่นวานิลลา + นมตราหมีมอลต์
กราโนล่า + โกโก้ครั๊นช์ + นมตราหมีมอลต์
โอริโอ + นมตราหมีมอลต์
อะโวคาโดสด + นมตราหมีมอลต์
เค้กโรลกลิ่นส้ม + นมตราหมีมอลต์
สตรอเบอร์รีอบแห้งดอยคำ + โคลลอนกลิ่นสตรอเบอร์รี่ + นมตราหมีมอลต์
อย่างไรก็ตาม แคมเปญการตลาดครั้งนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ
ทาง 7-Eleven และพนักงานจึงไม่ได้รับรู้เรื่องนี้แต่อย่างไร
ดังนั้น เวลาลูกค้าขอให้พนักงาน 7-Eleven ปั่นเมนูแปลกๆ นี้ให้
พนักงานก็อาจไม่เข้าใจ
และ 7-Eleven จะเก็บค่าปั่นเครื่องดื่มอีก 35 บาทต่อแก้ว
เพราะทาง All Cafe' เวลาสรุปยอด จะนับจากจำนวนแก้วที่ขายได้
เลยจำเป็นต้องเก็บเงินเพิ่ม
สรุป เงินที่เราต้องจ่ายเพื่อสร้างสรรค์เมนูตามความต้องการนี้
จะเท่ากับ ค่านมตราหมีมอลต์ 13 บาท + ค่าปั่น 35 บาท + ของที่ต้องการใส่ xx บาท
ซึ่งเรื่องทั้งหมดนี้ ได้จึงเกิดความดราม่าขึ้น โดยแบ่งเป็น 2 ฝ่าย
ฝ่ายแรกมองว่า ทาง 7-Eleven เก็บค่าปั่นแพงเกินไป
จริงๆ ควรบริการให้ลูกค้าฟรี
ส่วนอีกฝ่ายมองว่า เหตุการณ์นี้สร้างความเดือดร้อนให้พนักงาน 7-Eleven
เนื่องจากเป็นเมนูที่ไม่อยู่ในรายการ พนักงานไม่มีความชำนาญ
และเป็นการสร้างภาระเพิ่มให้แก่พนักงาน ซึ่งเมนูปกติก็แทบทำไม่ทันอยู่แล้ว
โดยล่าสุด 7-Eleven บางสาขากำกับชัดเจนว่า
ไม่ให้พนักงานทำเมนูนอกสูตร หรือปั่นตามใจลูกค้า..
เหตุการณ์ในครั้งนี้ ก็เหมือนกับเหตุการณ์อื่นๆ ที่เดียวเรื่องจบ ก็เงียบไป
แต่อย่างน้อย มันก็ได้ทิ้งบทเรียนสำคัญในโลกธุรกิจ
เวลาจะทำการตลาดอะไร
ธุรกิจต้องคิดให้รอบด้าน คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียให้มากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น ลูกค้า พนักงาน พันธมิตรทางธุรกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ให้เกิดความสมดุลกัน ไม่ใช่เน้นเพียงยอดขาย หรือเอนเอียงไปทางใดทางหนึ่ง
เพราะความยั่งยืนของธุรกิจ อยู่ได้ด้วยผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด..
เครดิต Twitter
: @auhmthiti
: @Cherrieheering
: @strawberryevil
: @fondofgoodfood
: @AoffyMyname
: @bubblennoey_
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.