กรณีศึกษา Sukishi เชนร้านปิ้งย่างสไตล์เกาหลี กำลังเข้ามาอยู่ในไลฟ์สไตล์ของคนไทย

กรณีศึกษา Sukishi เชนร้านปิ้งย่างสไตล์เกาหลี กำลังเข้ามาอยู่ในไลฟ์สไตล์ของคนไทย

2 มิ.ย. 2023
เอ่ยชื่อ Sukishi หลายคนคงนึกถึง เชนร้านอาหารปิ้งย่างสไตล์เกาหลี
แต่สิ่งที่หลายคนอาจไม่รู้ หรือไม่ทันสังเกต คือ วันนี้ Sukishi ชื่อที่ทุกคนคุ้นเคยไม่ได้มีแค่ธุรกิจเชนร้านอาหารปิ้งย่างและร้านอาหารเกาหลี
แต่ Sukishi กำลังเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของทุกคน จากการขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดสินค้าอาหารเกาหลีสำเร็จรูป
ไม่ว่าจะเป็น อาหารพร้อมทาน ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ฯลฯ
Sukishi กำลังคิดอะไร ?​
MarketThink จะพาทุกคนไปหาคำตอบพร้อมกัน
ต้องบอกก่อนว่า แบรนด์ Sukishi ที่หลายคนคุ้นหู จริง ๆ แล้วอยู่ภายใต้อาณาจักร Sukishi Intergroup
ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจอาหารเกาหลีในบ้านเรา มายาวนานกว่า 23 ปี
มีร้านอาหารในเครือมากมาย ได้แก่ ร้าน Sukishi Korean Charcoal Grill, ร้าน Sukishi Everyday, ร้าน Tiga Pizza, ร้าน Tokki Izakaya รวมถึงร้านชานมไต้หวัน Wawacha Fresh
ที่ผ่านมา ร้านอาหารภายใต้ Sukishi Intergroup ก็มีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
แต่จุดที่น่าจะเซอร์ไพรส์ และทำให้หลายคนคาดไม่ถึง คือ Sukishi ไม่ได้มีแค่ร้านอาหาร แต่ยังมีธุรกิจอาหารสำเร็จรูปสไตล์เกาหลี ที่ต้องบอกว่ากำลังไปได้สวย
เพราะนอกจาก Sukishi จะใช้จุดแข็งของแบรนด์ ในฐานะแบรนด์ปิ้งย่างและอาหารเกาหลีอันดับ 1 ในประเทศ
จนทำให้แบรนด์ต่าง ๆ ที่สนใจจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ชูจุดเด่นของรสชาติแบบเกาหลี ต่างนึกถึง Sukishi เป็นแบรนด์แรก ๆ
ที่ผ่านมา เราจะเห็นว่า Sukishi ได้ไปร่วม Collaboration กับแบรนด์สินค้าต่าง ๆ เช่น​
- Sukishi X ซีพีแรม ข้าวหมูย่างซอสสไตล์เกาหลีซูกิชิ วางจำหน่ายอยู่ใน 7-Eleven
- Sukishi X อองเทร่ หมูแผ่นอบกรอบผสมพริกเกาหลี รสหมูย่างโคชูจังซูกิชิ วางจำหน่ายอยู่ในห้างสรรพสินค้าและร้านซูกิชิ
ที่น่าสนใจคือ ในปี 2566 นี้ ด้วยเทรนด์เกาหลียังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง
Sukishi ยังเดินหน้า Collaboration กับสินค้าแบรนด์ต่าง ๆ
ที่จะได้เห็นและลองชิมเร็ว ๆ นี้ ได้แก่
- Sukishi X โก๋แก่ ถั่วลิสงอบกรอบ รสซอสบาร์บีคิวเกาหลีซูกิชิ
กำลังจะวางจำหน่ายใน 7-Eleven และที่ร้านซูกิชิ เดือนกรกฎาคม ปี 2566
- Sukishi X มาชิตะ รสซี่โครงย่างซอสซูกิชิ จะวางจำหน่ายใน 7-Eleven และที่ร้านซูกิชิ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2566
อย่างไรก็ตาม นอกจาก Sukishi จะ Collaboration กับแบรนด์สินค้าต่าง ๆ แล้ว
หลายคนอาจไม่รู้ว่า Sukishi เองมีผลิตภัณฑ์มากกว่า 50 รายการ
เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ชื่นชอบอาหารปิ้งย่างสไตล์เกาหลี
ล่าสุด ยังเตรียมสร้างมิติรสชาติใหม่ ๆ ให้กับตลาดกิมจิบ้านเรา
ด้วยการเปิดตัว “กิมจิผักพื้นบ้านและกิมจิผลไม้ไทย”
ซึ่งเป็นการผสมผสานผักพื้นบ้านภาคต่าง ๆ รวมกับผลไม้ไทยที่เป็นที่นิยม หมักซอสกิมจิซูกิชิอีกด้วย
มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไม Sukishi ถึงเลือกที่จะบุกตลาดสินค้าอาหารเกาหลีสำเร็จรูป
แน่นอนว่า เหตุผลหลัก ๆ ก็เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กลุ่มคนที่ชื่นชอบอาหารเกาหลี
โดยต่อยอดจากจุดแข็งของแบรนด์ ที่ผู้บริโภคให้ความไว้วางใจ มานำเสนอรสชาติที่อร่อยและคุณภาพดี
แต่แทนที่จะอาศัยแค่จุดแข็งที่มี Sukishi เลือกที่จะพัฒนาตัวเอง เพื่อเข้าถึงลูกค้าในทุกกลุ่มเป้าหมาย
ด้วยการ Collaboration Brand อย่างต่อเนื่อง ผ่านกลยุทธ์ Product Involvement Experience
นำเสนอดีเอ็นเอของ Sukishi สะท้อนผ่านรสชาติสไตล์เกาหลี ​
เพื่อตอบโจทย์ความต้องการบริโภคอาหารสไตล์เกาหลีในหลากหลายรูปแบบ
ขณะเดียวกัน ในฝั่งธุรกิจเชนร้านอาหาร Sukishi ก็ยังมีการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
เพราะถ้าไปดูภาพรวมตลาดร้านปิ้งย่างสไตล์เกาหลี จะพบว่ายังคงมีอัตราการเติบโต 30% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 3 ปีก่อนหน้านี้
ดังนั้น ทางบริษัทฯ จึงวางกลยุทธ์ที่จะขยายสาขาและแฟรนไชส์อย่างต่อเนื่อง
โดยมีแผนจะขยายแฟรนไชส์ 2 แบรนด์ และเตรียมเปิดตัวแฟรนไชส์แบรนด์ใหม่ในไตรมาส 4
เริ่มจาก​ซูกิชิ โคเรียน ชาร์โคล กริลล์ ปัจจุบัน มีสาขาที่บริษัทฯ บริหารเองอยู่ 35 สาขา ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด และมีแฟรนไชส์อีก 4 สาขา
โดยในปี 2566 บริษัทฯ มีแผนจะขยายสาขาแฟรนไชส์ 7 สาขา
แบ่งเป็นในประเทศ 6 สาขา และต่างประเทศ 1 สาขา ในประเทศกัมพูชา
พร้อมกันนี้ยังตั้งเป้าว่าภายใน 5 ปี จะขยายเป็น 10 สาขา รวมถึงยังวางแผนที่จะขยายสาขาไปยังประเทศลาว พม่า และเวียดนาม ตามลำดับ โดยใช้วิธีร่วมลงทุนกับนักธุรกิจท้องถิ่น และการขายแฟรนไชส์
เหตุผลที่เลือกปักหมุดตลาด CLMV เพราะเห็นว่ามีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากผู้บริโภคเปิดรับวัฒนธรรมเกาหลีมากขึ้น บวกกับความชื่นชอบอาหารเกาหลี ที่ได้สัมผัสจากการเดินทางไปท่องเที่ยว​ ซึ่งถือเป็นโอกาสในการเข้าไปเจาะตลาด​
ทั้งนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้ายอดขายสาขาที่เป็นแฟรนไชส์ จะมีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า 15% ต่อปี
อีกแบรนด์ที่เพิ่งเปิดขายแฟรนไชส์ คือ แบรนด์ชานมไต้หวัน Wawacha Fresh
โดยตั้งเป้าว่า จะขยายตลาดในประเทศได้ โดยตั้งเป้าขยายแฟรนไชส์ในปีแรกนี้ จำนวน 3 สาขา
ซึ่งจุดเด่นของแบรนด์ที่แตกต่างจากเจ้าอื่น ๆ คือ​มีทั้งเมนูชานมและชาใส
ที่คัดสรรใบชาคุณภาพเยี่ยมจากแหล่งผลิตชาในประเทศไต้หวัน ชงสดแบบแก้วต่อแก้ว
ทำให้ชาทุกแก้วมีรสชาติเข้มข้น สดชื่น และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
นอกจากนี้ยังมีการคิดค้นสูตรเครื่องดื่มใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทันต่อกระแสความต้องการของผู้ที่ชื่นชอบการดื่มชา
โดยเหตุผลที่ทำให้ Sukishi มองว่าธุรกิจกลุ่มแฟรนไชส์ร้านอาหารและเครื่องดื่ม เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญ
เพราะ Sukishi Intergroup มีจุดแข็งเรื่องสินค้าและบริการ คุณภาพวัตถุดิบ ความหลากหลายของเมนู น้ำจิ้มที่มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของเกาหลีและถูกปากคนไทย
รวมถึงยังมีองค์ความรู้ในการประกอบธุรกิจปิ้งย่าง ทั้งการให้คำปรึกษาในระบบความปลอดภัย การบริหารจัดการร้าน และการสนับสนุนแฟรนไชส์ด้วยระบบมาตรฐานสากล
มาถึงตรงนี้ คงหายข้องใจแล้วว่า ทำไม​วันนี้ Sukishi ถึงไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นเพียงร้านอาหารปิ้งย่างและร้านอาหารเกาหลี ที่ครองใจใครหลาย ๆ คน
แต่ Sukishi กำลังก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคอย่างเรา ๆ มากขึ้น ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปที่ยังชูจุดเด่นของความเป็นเกาหลีของแบรนด์
เพื่อตอบโจทย์คนที่คิดถึง Sukishi ด้วยการเพิ่มทางเลือก
จากที่แต่ก่อนต้องแวะเวียนมาที่สาขา จากนี้สามารถเลือกอิ่มอร่อยกับหลากหลายผลิตภัณฑ์จาก Sukishi ที่อยู่รอบตัวทุกคน ได้ง่ายขึ้น นั่นเอง​..
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.