สรุปแนวคิด Design Thinking ที่บริษัทระดับโลก ส่วนใหญ่นำไปใช้ แบบเข้าใจง่าย ๆ

สรุปแนวคิด Design Thinking ที่บริษัทระดับโลก ส่วนใหญ่นำไปใช้ แบบเข้าใจง่าย ๆ

23 ต.ค. 2023
อะไรที่ทำให้สุดยอดแบรนด์รองเท้ากีฬา Nike
บริษัทผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยักษ์ใหญ่อย่าง P&G 
และอีกหลากหลายบริษัทชั้นนำระดับโลก รวมไปถึงสตาร์ตอัปมาแรง 
ต่างก็ใช้วิธีคิดแบบ Design Thinking ในการบริหารธุรกิจ และออกแบบผลิตภัณฑ์
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า Design Thinking คืออะไร
Design Thinking คือ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ ที่ยึด “ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง” 
และที่สำคัญ การออกแบบจะไม่ได้เน้นแค่ความสวยงาม หรือต้องเป็นสิ่งใหม่เท่านั้น
แต่จะต้องช่วยแก้ปัญหา และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับลูกค้าได้จริง ๆ
แล้วขั้นตอนของการทำ Design Thinking นั้นมีอะไรบ้าง ?
1) Empathise : ต้องสร้างความเข้าใจในกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง
ขั้นตอนนี้อาจจะเกิดจากการพูดคุยกับลูกค้าโดยตรง 
จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อให้รู้ถึงอินไซต์บางอย่าง
หรือจากการเข้าไปลองใช้สินค้าและบริการด้วยตัวเอง เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเป้าหมาย
2) Define : วางกรอบของปัญหาหรือโจทย์ที่ต้องการแก้ไข
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่จะนำเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับ 
มาทำความเข้าใจ วิเคราะห์ สรุปประเด็นต่าง ๆ แล้วเรียงลำดับความสำคัญ
เพื่อให้สามารถวางกรอบของปัญหาได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น 
และรู้ว่าอะไรคือปัญหาที่ควรเข้าไปแก้ไขจริง ๆ และอะไรคือต้นตอของปัญหา
3) Ideate : ระดมสมองเพื่อหาทางเลือกใหม่ ๆ
ขั้นตอนนี้จะใช้วิธีการใดก็ได้ เพื่อให้เกิดไอเดียในการแก้ปัญหาใหม่ ๆ ให้ได้ออกมามากที่สุด (เน้นปริมาณก่อน) จากนั้นค่อยมาคัดไอเดียที่ดูเหมาะสม หรือตอบโจทย์มากที่สุด (เน้นคุณภาพ)
เช่น การทำ Mind Mapping หรือจัด Brainstorm 
โดยจะต้องสร้างพื้นที่ให้เอื้อต่อการคิดนอกกรอบ 
และถ้าเป็นไปได้ พยายามจัดให้มีคนที่ต่างสายงาน หรือพื้นเพต่างกัน มาช่วยกันระดมความคิด เพื่อให้เกิดไอเดียที่หลากหลาย และแตกต่าง
4) Prototype : สร้างแบบจำลองจากไอเดีย
เมื่อเราได้ไอเดียใหม่ ๆ และเลือกไอเดียที่จะใช้แก้ปัญหาที่ตั้งไว้มาแล้ว 
จากนั้นก็ลองสร้างโมเดลผลิตภัณฑ์แบบง่าย ๆ ขึ้นมา ในรูปแบบของ Prototype
เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งจะเป็นสินค้าหรือแผนงานก็ได้
แต่เงื่อนไขคือ ต้องใช้งบน้อย และใช้เวลาไม่นาน 
เพื่อลดความเสี่ยง กรณีที่มันไม่เวิร์ก
5) Test : นำแบบจำลองมาใช้จริง
และขั้นตอนสุดท้าย คือ ขั้นตอนของการทดสอบว่า แบบจำลองหรือผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ที่สร้างขึ้น
ใช้ได้จริงกับกลุ่มลูกค้าของเราหรือไม่ และมีคุณค่าสำหรับลูกค้าจริง ๆ ใช่ไหม
จากนั้นเก็บฟีดแบ็ก เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์หรือตรงกลุ่มลูกค้ามากยิ่งขึ้น
แต่หากทดสอบแล้วเกิดปัญหา หรือสินค้าไม่ตอบโจทย์ลูกค้า
ก็ต้องย้อนกลับไปทบทวนในแต่ละขั้นตอนที่ผ่านมา
หลายคนอาจจะสงสัย หรือเห็นภาพยังไม่ชัดว่า
บริษัทยักษ์ใหญ่ใช้ Design Thinking ในการออกแบบอย่างไรบ้าง ?
ลองมาดูตัวอย่างบริษัทระดับโลกกัน..
Nike พัฒนาสินค้าจากการใช้ Design Thinking เพื่อให้ทีมงานทุกคนเข้าใจผู้ใช้งานมากที่สุด
โดยให้พนักงานลองใส่รองเท้าวิ่ง และเข้ามามีส่วนร่วมในการระดมไอเดีย
ไปจนถึงขั้นตอนการออกแบบ จากนั้นทำการทดสอบไปเรื่อย ๆ
เพื่อหาจุดกึ่งกลางระหว่างความสวยของรองเท้า กับฟังก์ชันการใช้งาน
P&G ใช้ Design Thinking เพื่อศึกษาว่า ลูกค้ามีขั้นตอนในการทำความสะอาดพื้นอย่างไร
โดยการให้พนักงานเข้าไปศึกษาในแต่ละบ้านของกลุ่มลูกค้า และได้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ใช้เวลา
ในการถูพื้นมากกว่ากวาด
จึงไม่แปลกใจที่ขั้นตอนการถูพื้นจะเป็นสิ่งที่ลูกค้าไม่ชอบ 
P&G จึงพยายามออกแบบผลิตภัณฑ์นานาชนิด ที่ช่วยกำจัดสิ่งสกปรกได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ลูกค้าทำความสะอาดบ้านได้ง่ายขึ้น
สรุปก็คือ Design Thinking เป็นแนวคิดที่ช่วยให้ธุรกิจ
ได้พยายามทำความเข้าใจปัญหาของลูกค้าได้มากขึ้น 
ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่ลูกค้าไม่ได้บอกตรง ๆ (Unmet Need) และยังไม่มีใครเข้าไปแก้ปัญหาตรงจุดนั้น หรือแก้ยังไม่ดีพอ
Design Thinking จึงถือว่าเป็นหนึ่งกลยุทธ์สำคัญ
ที่ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ เข้าไปอยู่ในใจของลูกค้าได้ และคว้าโอกาสทางธุรกิจมาได้ นั่นเอง..
—------------------------------------------------
โค้งสุดท้าย!!! ที่นั่งเหลืออีกไม่กี่ที่แล้วกับหลักสูตร "????????? ?????? ????? ???????? ??? ?????????" ที่จะทำให้คุณได้วางรากฐาน พร้อมฝึกแนวคิดการวางกลยุทธ์การทำการตลาดบน Social Media รับปี 2567 ก่อนใคร เรียนรู้เทคนิคสุด Exclusive จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารจากแพลตฟอร์ม และเจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จแบบใกล้ชิด อัดแน่น 4 วันเต็ม 27-28 ต.ค. และ 3-4 พ.ย. นี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/MKT_MSMS
—------------------------------------------------
อ้างอิง :
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.