
สรุป 6 เทรนด์สื่อและโฆษณา ปี 2025 จาก MAAT การตลาดแบบ UGC จะเปลี่ยนเป็น "UGB" ที่ได้ผลดีกว่า
4 มี.ค. 2025
ล่าสุด องค์กร Media Agency Association of Thailand หรือ MAAT ได้เปิดอินไซต์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมสื่อและโฆษณาของปี 2024 ภายในงานสัมมนา “2025 Media Industry Update”
นอกจากอินไซต์ในปีที่ผ่านแล้ว MAAT ยังได้แชร์ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเทรนด์ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมสื่อและโฆษณา แบรนด์และธุรกิจ ในปี 2025 อีกด้วย
แล้วเทรนด์ของอุตสาหกรรมสื่อและโฆษณา แบรนด์และธุรกิจ มีอะไรน่าสนใจบ้าง ?
1. ยิ่งแบรนด์มีคุณค่าในสายตาลูกค้า ก็ยิ่งช่วยเพิ่มรายได้ให้ธุรกิจ
โดยถ้าคุณค่าแบรนด์ในสายตาของลูกค้า (Brand Equity) เพิ่มขึ้น 4% จะทำให้รายได้ของธุรกิจโตเพิ่มขึ้น 1% และผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) เพิ่มขึ้น 1.3 เท่า
2. สื่อมีส่วนช่วยให้ธุรกิจและแบรนด์เติบโต
- การเติบโตของอุตสาหกรรมสื่อจะทำให้แบรนด์เติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 60%
- การเติบโตของอุตสาหกรรมสื่อในอัตรา 1% จะทำให้ธุรกิจเติบโตในอัตรา 0.3%
- แบรนด์ที่พัฒนาสื่อของตัวเอง มีการทำคอนเทนต์ และมอบประสบการณ์ดี ๆ ให้ลูกค้า จะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นกว่า 2.5 เท่า อย่างมีนัยสำคัญ
- การเติบโตของอุตสาหกรรมสื่อในอัตรา 1% จะทำให้ธุรกิจเติบโตในอัตรา 0.3%
- แบรนด์ที่พัฒนาสื่อของตัวเอง มีการทำคอนเทนต์ และมอบประสบการณ์ดี ๆ ให้ลูกค้า จะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นกว่า 2.5 เท่า อย่างมีนัยสำคัญ
3. เทรนด์การสร้างแบรนด์ให้เติบโตผ่านอุตสาหกรรมสื่อในปี 2025
- เปลี่ยนจาก Pattern Targeting เป็น Predictive Targeting
- เปลี่ยนจาก Ad Interruption เป็น Branded Content Inspiration
- เปลี่ยนจาก UGC (User-Generated Content) เป็น UGB (User-Generated Brand)
- เปลี่ยนจาก Ad Interruption เป็น Branded Content Inspiration
- เปลี่ยนจาก UGC (User-Generated Content) เป็น UGB (User-Generated Brand)
4. เทรนด์การคาดการณ์พฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย (Predictive Targeting)
ใช้เครื่องมือทั้งหมด 4 กลุ่ม ในการคาดการณ์พฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่
การวิเคราะห์ข้อมูลและ AI (Data Analytics & AI)
- ใช้ Big Data
- ใช้ Machine Learning และ AI
- ใช้การวิเคราะห์ความรู้สึกจากข้อความที่ลูกค้าโพสต์ลงโซเชียล (Sentiment Analysis)
- ใช้ Big Data
- ใช้ Machine Learning และ AI
- ใช้การวิเคราะห์ความรู้สึกจากข้อความที่ลูกค้าโพสต์ลงโซเชียล (Sentiment Analysis)
การวิเคราะห์ข้อมูลทางจิตวิทยาและพฤติกรรม (Psychological & Behavioral Insights)
- วิเคราะห์ความต้องการ (Needs)
- วิเคราะห์อคติ (Biases)
- วิเคราะห์สิ่งเร้าที่มากระตุ้น (Triggers)
- วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก (Insights)
- วิเคราะห์ความต้องการ (Needs)
- วิเคราะห์อคติ (Biases)
- วิเคราะห์สิ่งเร้าที่มากระตุ้น (Triggers)
- วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก (Insights)
การวิจัยตลาดและกระแสสังคม (Market Research & Social Trends)
- การสำรวจและการวิเคราะห์คู่แข่ง (Survey & Competitor Analysis)
- โซเชีลมีเดียและการวิเคราะห์เทรนด์ (Social Media & Trend Analysis (Viral) )
- การสำรวจและการวิเคราะห์คู่แข่ง (Survey & Competitor Analysis)
- โซเชีลมีเดียและการวิเคราะห์เทรนด์ (Social Media & Trend Analysis (Viral) )
เทคโนโลยีและเครื่องช่วยคาดการณ์ (Predictive Technologies & Tools)
- การวิเคราะห์ผ่านแพลตฟอร์ม (Platform Analytics)
- ระบบ CRM
- การวิเคราะห์ผ่านแพลตฟอร์ม (Platform Analytics)
- ระบบ CRM
ตัวอย่างการนำเครื่องมือข้างต้นมาใช้ เช่น
- นำ AI มาใช้ทำ Contextual Marketing หรือการวิเคราะห์สิ่งรอบตัวลูกค้าแต่ละคน มาสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดให้ตรงกับความสนใจในขณะนั้น
- การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Personalize แบบเรียลไทม์ เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ความคิด ความตั้งใจของลูกค้า
5. เทรนด์สร้างแรงบันดาลใจด้วยคอนเทนต์ของแบรนด์ (Branded Content Inspiration)
ปัจจุบันผู้บริโภครู้สึกว่าโฆษณามีมากเกินไปและเข้ามาครอบงำชีวิตของพวกเขา
โดยจากสถิติบอกว่า
- 51% ของคนไทยทั้งหมด และ 64% ของคนไทย Gen Z รู้สึกรำคาญโฆษณา
- 57% ของคนไทยทั้งหมด และ 60% ของคนไทย Gen Z กดข้ามโฆษณา
- 42% ของคนไทยทั้งหมด และ 53% ของคนไทย Gen Z ใช้เครื่องมือปิดกั้นโฆษณา (Ad Blocker)
- 51% ของคนไทยทั้งหมด และ 64% ของคนไทย Gen Z รู้สึกรำคาญโฆษณา
- 57% ของคนไทยทั้งหมด และ 60% ของคนไทย Gen Z กดข้ามโฆษณา
- 42% ของคนไทยทั้งหมด และ 53% ของคนไทย Gen Z ใช้เครื่องมือปิดกั้นโฆษณา (Ad Blocker)
สื่อดิจิทัล, โทรทัศน์ และสื่อแบบ Out of Home ยังคงมีความสำคัญ
โดยจากสถิติบอกว่า
- Gen Z ได้รับอิทธิพลจากสื่อดิจิทัลมากที่สุด และจะค่อย ๆ ลดลงในกลุ่มคนที่สูงอายุมากขึ้น
- Gen Z ได้รับอิทธิพลจากสื่อดิจิทัลมากที่สุด และจะค่อย ๆ ลดลงในกลุ่มคนที่สูงอายุมากขึ้น
83% ของ Gen Z ใช้สื่อดิจิทัลค้นหาสินค้าใหม่ ๆ
75% ของ Gen Z เชื่อถือข้อมูล/โฆษณา จากสื่อดิจิทัล
67% ของ Gen Z ถูกโน้มน้าวใจให้ลองใช้สินค้าแบรนด์ใหม่จากสื่อดิจิทัล
75% ของ Gen Z เชื่อถือข้อมูล/โฆษณา จากสื่อดิจิทัล
67% ของ Gen Z ถูกโน้มน้าวใจให้ลองใช้สินค้าแบรนด์ใหม่จากสื่อดิจิทัล
- กลับกัน Baby Boomers ได้รับอิทธิพลจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด และจะค่อย ๆ ลดลงในกลุ่มคนที่อายุต่ำลงมา
80% ของ Baby Boomers ใช้สื่อโทรทัศน์ค้นหาสินค้าใหม่
68% ของ Baby Boomers เชื่อถือข้อมูล/โฆษณา จากสื่อโทรทัศน์
42% ของ Baby Boomers ถูกโน้มน้าวใจให้ลองใช้สินค้าแบรนด์ใหม่จากสื่อโทรทัศน์
68% ของ Baby Boomers เชื่อถือข้อมูล/โฆษณา จากสื่อโทรทัศน์
42% ของ Baby Boomers ถูกโน้มน้าวใจให้ลองใช้สินค้าแบรนด์ใหม่จากสื่อโทรทัศน์
- ในสื่อรูปแบบ Out of Home ถึงแม้จะมีอิทธิพลน้อยกว่าสื่อดิจิทัลและโทรทัศน์ แต่ก็ยังสามารถโน้มน้าวให้คนทุกวัยลองใช้สินค้าใหม่ ๆ ได้เช่นกัน ในสัดส่วนประมาณ 6-8% ของแต่ละ Gen
- 60% ของคนไทย ชื่นชอบมนุษย์จริง ๆ ในงานโฆษณามากกว่าการใช้ AI เพราะผู้บริโภคต้องการความเรียลมากกว่าความสมบูรณ์แบบที่ไม่ใช่ความจริง อีกทั้งยังดูน่าเชื่อถือ ไว้วางใจ และเชื่อมโยงอารมณ์ได้ดีกว่า
ดังนั้น แบรนด์จะต้องปรับตัวในการนำเสนอโฆษณาสู่ลูกค้า ซึ่งไม่ใช่เพียงการพูดอะไรก็ได้ที่ตัวเองอยากพูด
แต่จะต้องสร้างโฆษณาที่สอดคล้องไปกับคอนเทนต์ที่ลูกค้ากำลังรับชมอยู่
แต่จะต้องสร้างโฆษณาที่สอดคล้องไปกับคอนเทนต์ที่ลูกค้ากำลังรับชมอยู่
ตัวอย่างเช่น เคสของ Netflix X Google’s Lens Technology ที่ระหว่างฉายซีรีส์เรื่อง Emily in Paris มีโฆษณาเด้งขึ้นมาเพื่อให้ผู้ชมได้ลองตามรอยซีรีส์ ด้วยการชมร้านค้าออนไลน์และชอปปิงเสื้อผ้าแฟชั่นที่ Emily ใส่
6. เทรนด์ UGB (User-Generated Brand)
อธิบายก่อนว่าคำว่า UGC หรือ User-Generated Content คือ การให้ผู้บริโภคได้สวมบทบาทเป็นครีเอเตอร์สร้างคอนเทนต์ เพื่อให้คอนเทนต์มีความเรียล ดูน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นอยู่ในทุกวันนี้
แต่อีกเทรนด์ที่กำลังมาก็คือ UGB หรือ User-Generated Brand คือ การให้แฟนคลับตัวยงได้กลายเป็นพาร์ตเนอร์ หรือ CO-Creator ให้กับแบรนด์ เพื่อให้ลูกค้าไว้วางใจในแบรนด์มากยิ่งขึ้นไปอีก
ซึ่งต้องบอกว่า ทุกวันนี้ แบรนด์กว่า 72% ที่ประสบความสำเร็จ ล้วนเชื่อมโยงกับลูกค้าของตัวเองในชีวิตจริง
แล้ว UGC กับ UGB ต่างกันอย่างไรบ้าง ?
- บทบาทของลูกค้า
UGC จะเน้นให้ลูกค้าทำคอนเทนต์ทั่วไป เช่น รีวิว ถ่ายรูปอัปลงโซเชียล เขียนแคปชันสั้น ๆ
แต่ UGB จะเน้นให้ลูกค้าเล่าเรื่องคุณค่าหลักของแบรนด์และกลยุทธ์มากขึ้น กลายเป็น Active CO-Creator
แต่ UGB จะเน้นให้ลูกค้าเล่าเรื่องคุณค่าหลักของแบรนด์และกลยุทธ์มากขึ้น กลายเป็น Active CO-Creator
- ระดับการมีส่วนร่วม
UGC มักจะให้ทำคอนเทนต์แค่ครั้งเดียวแล้วจบกันไป ทำให้ผู้ชมบางคนยังรู้สึกถึงความไม่จริงใจ
แต่ UGB จะเน้นสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวและความภักดีแบบลึกมากขึ้น ผ่านการทำคอนเทนต์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ชมเปิดใจและรับรู้ถึงความจริงใจที่ครีเอเตอร์มีต่อแบรนด์ได้มากยิ่งขึ้น
- อิมแพ็กต่อแบรนด์
UGC ช่วยเพิ่มความเรียลได้ แต่การเล่าสตอรีก็ยังเป็นเพียงเปลือกนอกของแบรนด์เท่านั้น
แต่ UGB จะเล่าเรื่องอัตลักษณ์ของแบรนด์ กลยุทธ์ หรือการแนะนำสินค้านวัตกรรมใหม่ ๆ แบบเจาะลึก
แต่ UGB จะเล่าเรื่องอัตลักษณ์ของแบรนด์ กลยุทธ์ หรือการแนะนำสินค้านวัตกรรมใหม่ ๆ แบบเจาะลึก
เคสที่น่าศึกษาก็เช่น การทำคอนเทนต์ของคุณอูน ไดมอนด์เกรนด์ (THE CHANISARA) ที่เล่าเรื่องราวของดิสนีย์แบบเจาะลึกเห็นภาพ และทำออกมาหลายคอนเทนต์มาก โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเรื่องราวของดิสนีย์ก็ว่าได้
ซึ่งการทำแบบนี้ก็ทำให้คุณอูนได้เป็น CO-Creator ร่วมกับ Disney ในการสร้างค์คอนเทนต์ใหม่ ๆ ออกมา และยังทำให้ผู้ติดตามรู้สึกถึงความเป็นจริงใจ ความเป็นแฟนตัวยงดิสนีย์ของคุณอูนได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างคอมเมนต์ผู้ติดตาม เช่น
- “ฟังเรื่องเล่าดิสนีย์จากคุณอูนทีไร ขนลุกซู่ทุกที”
- “ขอบคุณที่รักดิสนีย์ ขอบคุณที่ทำให้สัมผัสความรักนี้ได้ ฟังคลิปคุณทุกคลิปที่เกี่ยวกับดิสนีย์ เหมือนเราได้อยู่ตรงนั้นด้วยจริง ๆ…”
- “ฟังเรื่องเล่าดิสนีย์จากคุณอูนทีไร ขนลุกซู่ทุกที”
- “ขอบคุณที่รักดิสนีย์ ขอบคุณที่ทำให้สัมผัสความรักนี้ได้ ฟังคลิปคุณทุกคลิปที่เกี่ยวกับดิสนีย์ เหมือนเราได้อยู่ตรงนั้นด้วยจริง ๆ…”
#เทรนด์สื่อและโฆษณา