YouTube ให้ครีเอเตอร์ สามารถนำเพลงแบบติดลิขสิทธิ์ มาใช้ได้แล้ว แต่ต้องซื้อ หรือ เสียส่วนแบ่งรายได้

YouTube ให้ครีเอเตอร์ สามารถนำเพลงแบบติดลิขสิทธิ์ มาใช้ได้แล้ว แต่ต้องซื้อ หรือ เสียส่วนแบ่งรายได้

21 ก.ย. 2022
ในปัจจุบันการเลือกใช้ “เพลง” มาใส่ในวีดีโอนั้น ถือเป็นสิ่งที่ครีเอเตอร์บน YouTube ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเพลงนั้นต่างก็มีสิ่งที่เรียกว่า “ลิขสิทธิ์” คุ้มครองอยู่
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหาก YouTube สามารถจับได้ว่าครีเอเตอร์ มีการนำเพลงที่ติดลิขสิทธิ์มาใส่ในคลิปวิดีโอ แม้จะแค่ท่อนเดียวหรือช่วงสั้น ๆ ก็มีโอกาสที่คลิปดังกล่าวจะถูกแบน และทำให้ครีเอเตอร์คนนั้นไม่สามารถได้รายได้จากคลิปดังกล่าวอีกด้วย
จึงทำให้ครีเอเตอร์หลายคน ต้องเลือกหันไปใช้เพลงฟรีที่ไม่ติดลิขสิทธ์ มาใส่ไว้ในวีดีโอของตัวเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนแบนแบบไม่รู้ตัว
อย่างไรก็ตามล่าสุด YouTube ก็ได้มีการเพิ่มฟีเชอร์ที่เรียกว่า “Creator Music” ซึ่งจะทำให้เหล่าครีเอเตอร์
สามารถนำเพลงที่ติดลิขสิทธิ์ มาใช้กับคลิปวิดีโอของตัวเองได้แล้ว
โดยฟีเชอร์ดังกล่าว จะเปิดโอกาสให้ครีเอเตอร์สามารถเลือกได้ว่า
1. จะซื้อลิขสิทธิ์เพลง เพื่อนำไปใช้กับวิดีโอของตนเองได้เลย โดยไม่ต้องมีการแบ่งรายได้ให้กับศิลปิน
(ไม่รวมส่วนแบ่งรายได้ที่ครีเอเตอร์ต้องให้ YouTube 45%)
2. เลือกที่จะแบ่งรายได้ 27.5% ให้กับศิลปินเจ้าของเพลง ที่ครีเอเตอร์เลือกมาใส่ในวิดีโอ
นอกจากนี้ YouTube ยังได้เผยอีกว่าฟีเชอร์ “Creator Music” นั้นจะเริ่มมีการทดลองให้บริการในสหรัฐอเมริกาก่อน หลังจากนั้นจะมีการขยายพื้นที่การให้บริการไปยังประเทศอื่น ๆ ในอนาคต
น่าสนใจว่าหลังจากนี้ ศิลปินน่าจะมีช่องทางการสร้างรายได้มากขึ้น จากส่วนแบ่งที่ครีเอเตอร์ที่นำเพลงไปใช้ ส่วนในด้านครีเอเตอร์เอง ก็มีอิสระในการสร้างสรรค์ผลงานมากกว่าเดิม
และผู้บริโภคเอง ก็คงได้ประโยชน์ ที่จะได้ดูคลิปวิดีโอที่ “สร้างสรรค์” มากกว่าเดิม..
อ้างอิง :
© 2024 Marketthink. All rights reserved. Privacy Policy.