
สรุป 4 ทักษะสำคัญ จากอาชีพ Lobbyist ที่นักการตลาด เจ้าของแบรนด์ ปรับใช้ได้
17 ก.ค. 2025
ทุกคนเคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมการทำธุรกิจ ทักษะการเจรจาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ?
เพราะการทำธุรกิจ บางครั้งถึงแม้ว่าเราจะวางแผนการเงิน การตลาด หรือวางแผนในส่วนอื่น ๆ ไว้ดีแล้ว แต่ถ้าขาดทักษะการเจรจา การโน้มน้าว ก็อาจไม่สามารถทำตามแผนที่วางไว้ได้
แล้วเราจะมีวิธีในการเรียนรู้ทักษะการเจรจา และโน้มน้าว ซึ่งมีความจำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างไร ?
บทความนี้ MarketThink จะชวนมาเรียนรู้วิธีคิดและทักษะการเจรจา และการโน้มน้าว จากอาชีพ Lobbyist ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อเจรจาการทำธุรกิจโดยเฉพาะ
หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคยกับอาชีพนักล็อบบี หรือที่เรียกกันว่า Lobbyist กันเท่าไรนัก
อาชีพ Lobbyist มีต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 1830
โดยมีที่มาจากคำว่า Lobby ซึ่งหมายถึงห้องโถงหรือพื้นที่รับรองในรัฐสภา ที่ตัวแทนของกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ มารวมตัวกัน เพื่อทำหน้าที่เจรจา และโน้มน้าว ให้ได้เสียงสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ
โดยมีที่มาจากคำว่า Lobby ซึ่งหมายถึงห้องโถงหรือพื้นที่รับรองในรัฐสภา ที่ตัวแทนของกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ มารวมตัวกัน เพื่อทำหน้าที่เจรจา และโน้มน้าว ให้ได้เสียงสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ
โดยที่อาชีพ Lobbyist จะใช้ทักษะการเจรจา และการโน้มน้าว ในการทำหน้าที่ต่าง ๆ ได้แก่
- ช่วยในการเจรจา ประนีประนอม ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่าง ๆ
- ช่วยประสานงานด้านการค้า เช่น การนำเข้า-ส่งออกสินค้า
- ช่วยประสานผลประโยชน์ สำหรับพาร์ตเนอร์ธุรกิจ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดร่วมกัน
- เป็นตัวกลางในการเจรจา ในกรณีที่ทั้งสองฝ่าย ไม่ต้องการเจรจาด้วยตัวเอง
จากตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า Lobbyist เป็นอาชีพที่ต้องมีความสามารถ ในการวางแผนกลยุทธ์ การบริหารจัดการ และการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
เพื่อรักษาผลประโยชน์ และช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น รวมถึงต้องมีทักษะในการเชื่อมโยงสูงมาก
ทีนี้ถ้าถามว่า แล้ววิธีคิด หรือทักษะของ Lobbyist ที่ผู้ประกอบการ และนักการตลาดควรนำมาปรับใช้ได้ มีอะไรบ้าง ?
1. ทักษะการสื่อสาร
เป็นทักษะพื้นฐานที่สุด แต่ก็สำคัญที่สุดเช่นกัน โดยนัก Lobbyist ต้องสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะทักษะการเสนอความคิดเห็น มีความสามารถในการสรุปประเด็น ได้อย่างตรงประเด็น และเข้าใจง่าย
ซึ่งทักษะการสื่อสารที่ดีจะช่วยให้พาร์ตเนอร์ หรือคู่สนทนา เกิดความรู้สึกคล้อยตาม หรือเห็นด้วยไปกับสิ่งที่นำเสนอออกไป
ทักษะนี้ เรียกได้ว่าเป็นทักษะที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการ สามารถนำเสนอแผนการทำธุรกิจ หรือการตลาดต่อนักลงทุน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างละเอียด แม่นยำ ตรงประเด็น และน่าสนใจ
นอกจากนี้ นักการตลาดยังจำเป็นที่จะต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดี เพื่อคิดกลยุทธ์การสื่อสารไปยังลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม
ไม่ว่าจะเป็น การวางแผนกลยุทธ์การตลาด การสื่อสาร การคิดข้อความ Key Message หรือคำพูดต่าง ๆ ที่ใช้สื่อสารไปยังลูกค้า
2. ทักษะการเจรจาต่อรอง และการสร้างคอนเน็กชัน
อีกหนึ่งทักษะสำคัญของอาชีพ Lobbyist คือ ทักษะการเจรจาต่อรอง เพราะผู้ที่เป็น Lobbyist ต้องพยายามเจรจา และประนีประนอม เพื่อหาทางออกที่เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย
ไม่ว่าจะเป็นตัวเอง หรือพันธมิตรทางการค้า เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจร่วมกัน
แล้วทักษะนี้ สำคัญกับนักการตลาด และผู้ประกอบการอย่างไร ?
โดยปกติแล้ว ผู้ประกอบการ หรือนักการตลาด จำเป็นต้องทำงานร่วมกับคนจำนวนมาก ทักษะการเจรจาต่อรอง จึงเป็นทักษะสำคัญ ที่ช่วยให้นักการตลาด ทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น
- การเจรจากับทีมภายในบริษัท เพื่อวางแผนกลยุทธ์การตลาด ให้ออกมาดีที่สุด
- การเจรจากับทีมภายนอกบริษัท ที่บางครั้งอาจมีการวางแผนการทำการตลาดร่วมกัน
- การสร้างและรักษาคอนเน็กชันกับผู้ที่ต้องทำงานร่วมกันอยู่บ่อย ๆ
- การเจรจากับทีมภายนอกบริษัท ที่บางครั้งอาจมีการวางแผนการทำการตลาดร่วมกัน
- การสร้างและรักษาคอนเน็กชันกับผู้ที่ต้องทำงานร่วมกันอยู่บ่อย ๆ
3. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล
ในเมื่อหน้าที่ที่สำคัญของ Lobbyist คือการเจรจาหาทางออกที่เหมาะสมสำหรับทุกฝ่าย ดังนั้นทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญ
หากมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก่งและละเอียด ก็จะช่วยสร้างความเข้าใจในการทำธุรกิจ รวมถึงช่วยประเมินความเสี่ยง และเตรียมเพื่อหาทางรับมือกับปัญหาได้ดียิ่งขึ้น
ทักษะนี้ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับผู้ประกอบการ เพราะต้องวางแผน เพื่อเตรียมรับมือกับกลยุทธ์ของคู่แข่งทางการค้า ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ เช่น
- การวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ และการเงิน
- การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง และโอกาสของตนเอง
- การวิเคราะห์ตลาด
- การวิเคราะห์คู่แข่ง
- การวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า และเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้น
- การวิเคราะห์กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับการทำการตลาด สำหรับสินค้า หรือบริการแต่ละประเภท
- การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง และโอกาสของตนเอง
- การวิเคราะห์ตลาด
- การวิเคราะห์คู่แข่ง
- การวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า และเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้น
- การวิเคราะห์กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับการทำการตลาด สำหรับสินค้า หรือบริการแต่ละประเภท
4. การทำความเข้าใจในกฎหมาย และนโยบาย
สำหรับ Lobbyist เรื่องกฎหมาย และนโยบายเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ สำหรับการเจรจา เพราะจำเป็นต้องให้คำแนะนำ และหาทางออกให้กับทุกฝ่าย
ในมุมของผู้ประกอบการ การทำความเข้าใจกฎหมายมีความสำคัญอย่างมาก เพราะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกิจได้อย่างถูกต้องและโปร่งใส
ในขณะที่นักการตลาด ก็ต้องทำความเข้าใจกฎหมายเช่นเดียวกัน เพราะกลยุทธ์การตลาดบางประเภท อาจไม่สามารถทำได้ เช่น
- การเลือกใช้คำโฆษณาที่ไม่ละเมิดกฎหมาย ตามประเภทของสินค้า
- การโฆษณาโดยไม่ใช้คำโฆษณาที่เกินจริง
- เข้าใจในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมาย PDPA
- การโฆษณาโดยไม่ใช้คำโฆษณาที่เกินจริง
- เข้าใจในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมาย PDPA
ทั้งหมดนี้ ก็คือทักษะต่าง ๆ ของอาชีพ Lobbyist ที่ผู้ประกอบการ และนักการตลาด สามารถนำไปปรับใช้ได้ กับการทำงานของตัวเอง..
Tag:Lobbyist